Housemates By Alison Watts
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
การแปลข่าว
การแปลข่าว
ข่าว
จะประกอบด้วย หัวข่าว และตัวข่าว ซึ่งหัวข่าวจะเปรียบได้กับชื่อหัวข้อ
หรือชื่อเรื่องของงานเขียนอื่นๆ ส่วนตัวข่าวมาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยเนื้อข่าวโดยย่อ และที่มาของข่าว
โดยทั่วไปมักจะอยู่ในย่อหน้าเดียว
ส่วนที่ 2 คือรายละเอียดของข่าว ซึ่งอาจจะมีมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)
แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)
สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในภาคบ่ายของวันนี้ก็คือ ยุทธวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะมีสิ่งรอบตัว เกม นิทาน เพลง การวดภาพ
บทบาทสมมติและการท่องคำคล้องจอง โดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร
ได้ให้แนวคิดที่ทัยสมัยและน่าสนใจมาก
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
โดยท่านเล่าให้ฟังว่า ท่าให้นักเรียนลงพื้นที่จริงตามสถานที่ต่างๆ
แล้วหาคำภาษาอังกฤษที่เขียนผิด
จากนั้นก็ถ่ายรูปแล้วมาช่วยกันแก้ไขคำนั้นให้ถูกต้อง ซึ่งดิฉันชอบวิธีนี้เช่นกัน
เพราะในสมัยนี้ร้านค้า
ร้านอาหารหรือสถานที่ต่างๆที่ดิฉันเคยพบเห็นก็มักจะใช้ภาษาอังกฤษแบบผิดๆ
เมื่อผู้อ่านไปผ่านมาเห็นก็จะเข้าใจและจำกันไปแบบผิดๆไปด้วย
ดังนั้นเราควรจะแนะนำให้เขาใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องนั่นเอง
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคเช้า)
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคเช้า)
แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคเช้า)
สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในวันนี้ก็คือ การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบกลับด้าน (Flip classroom) ซึงการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านนี้เป็นวิธีการที่ครูผู้สอนแต่เนื้อหาสาระที่สำคัญเท่านั้น และให้ผู้เรียนได้ฝึกการต่อยอดองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะเป็นผู้ชี้แนวทางและให้คำปรึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงและเกิดการเรียนรู้แบบ active learning นั่นเอง โดยมีจุดกำเนิดของวิธีการเรียนรู้แบบกลับด้าน คือ ครูสอนวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland Park High school ได้คิดค้นขึ้น สาเหตุเพราะว่านักเรียนของเขาได้ขาดเรียนบ่อย และเขาก็ต้องการที่จะช่วยเหลือนักเรียนที่ปัญหาที่เรียนไม่ทันเพื่อนหรือเรียนรู้ช้า เขาจึงใช้ ICT เข้ามาช่วย และทำวิดีโออย่างง่ายขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่ขาดเรียนเข้าไปเรียนได้ตลอดเวลา และนักเรียนที่เรียนรู้ช้าก็สามารถเข้าไปทบทวนบทเรียนได้อีก โดยครูผู้สอนไม่ต้องสอนซ้ำๆ
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)
แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)
สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในภาคบ่ายก็คือ
การออกเสียงภาษาอังกฤษ
ซึ่งครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัทศาสตร์ (Phonetics
and Phonology) เพราะว่าครูผู้สอนจะต้องช่วยเหลือผู้เรียนในการแก้ไขการออกเสียงให้ถูกต้อง
โดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ท่านได้สอนเรื่องอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง
ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียงของอักษรภาษาอังกฤษต่างๆ
โดยแต่ละเสียงจะใช้อวัยวะที่แตกต่างกันออกไป โดยจะมีอวัยวะหลักๆก็คือ ลิ้น
ริมฝีปาก เหงือก เพดานอ่อน เพดานแข็งและกล่องเสียง โดยขณะที่เรากำลังเปล่งเสียง
เราจะใช้มือจับที่ลำคอเบาๆ เพื่อตรวจสอบว่าเสียงนั้นก้องหรือไม่
ถ้าลำคอเราสั่นแสดงว่าเสียงอักษรตัวนั้นเป็นเสียงก้อง (Voice) แต่ถ้าลำคอไม่สั่น
เสียงนั้นก็จะเป็นเสียงไม่ก้อง (Voiceless) รวมทั้งนี้ท่านยังสอนการออกเสียงตาม
IPA (International Phonetics Alphabet) โดยจะมีสถานที่เกิดเสียงและลักษณะของการออกเสียง
เช่น [p] ก็จะเป็นเสียงไม่ก้อง ซึ่งจะใช้ริมฝีปากเป็นแหล่งกำเนิดเสียง ส่วน [b]
จะเป็นเสียงก้อง ซึ่งจะมีแหล่งกำเนิดที่ริมฝีปากเช่นเดียวกับเสียง [p]
และนอกจากนี้ ท่านได้สอนเรื่องการออกเสียงสระภาษาอังกฤษทั้ง 5 ตัว คือ a,e,i,o,u
ว่าออกเสียงอย่างไรจึงจะถูกต้องตาม
IPA นั่นเอง ซึ่งสระเหล่านี้ก็สามารถแบ่งประเภทออกเป็น 3 ประเภทอีก
ซึ่งจะคล้ายๆกับสระภาษาไทยของเราที่แบ่งสระตามเสียงสั้นและเสียงยาว
แต่ของภาษาอังกฤษจะเพิ่มสระประสมสองเสียงเข้ามาด้วย
โดยจะเป็นการผสมของสระสองตัวเข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นสระใหม่ขึ้นมา เช่น a +
u = [au] จะออกเสียงว่า อาว เช่นคำว่า town , flower เป็นต้น
นอกจากนี้เรื่องของ สัทศาสตร์ (Phonetics and Phonology)
ที่ท่านสอนอีกคือ การเน้นเสียง (Stress) ที่จะมี 2 ประเภท ก็คือ
การเน้นเสียงระดับคำและการเน้นเสียงในระดับประโยค เช่น society information
volunteer
photographic
จากความรู้ที่ดิฉันได้รับจากการอบรมในภาคบ่ายวันนี้
ทำให้ดิฉันได้รับทั้งความสุกและความรู้ที่น่าสนใจที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปฝึกออกเสียงให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
รวมทั้งการเน้นเสียงคำและดารเน้นเสียงในระดับประโยค
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก
ซึ่งดิฉันคิดว่าหากเราพูดไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการเน้นเสียง ไม่มีท่วงทำนองสูงต่ำ
เราก็เหมือนฟังพระสวดที่คนฟังจะรู้สุกเบื่อ ง่วงนอนไม่อยากจะพูดคุยกับเรา
แต่ถ้าเรารู้จักการเน้นเสียง การใช้จังหวะสูงต่ำเข้าไปช่วยในการูดคุย ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นดูมีชีวิตชีวา
น่าสนใจและเราก็จะประสบความสำเร็จในการพูดคุยอีกด้วย
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคเช้า)
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคเช้า)
แบบบูรณาการทักษะ
สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในวันนี้คือ
ปัญหาของนักเรียนไทยที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้
โดย ดร.สุจินต์ หนูแก้ว ท่านได้พูดถึงปัญหาที่ผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์ (Critical
Thinking) กล่าวคือ ยุคสมัยนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเฟื่องฟู
เพราะทุกคนต่างใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารหรือการทำธุรกิจ
ซึ่งทำให้โลกของเราดูแคบลง
ซึ่งผู้คนในสมัยนี้ใช้สมาร์ทโฟนในการเสพติดและเชื่อข่าวลือกันไปทั่วโดยขาดการคิดวิเคราะห์
การกลั่นกรองข้อเท็จจริง และไม่สามารถหาข้อเท็จจริงก็ด่วนสรุปเชื่อตามข่าวลือนั้นๆ
ท่านจึงได้คิดทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการคิดวิเคราะห์ขึ้นมา
Practice English by The vampire diaries season 1
Practice English by The vampire diaries season 1
ดิฉันคิดว่าการเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในห้องเรียนหรือหนังสือตำราเรียนเท่านั้น
แต่เรายังสามารถที่จะศึกษาค้นคว้าและศึกษาเรียนรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่างจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเราได้ด้วยตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้านหรือภายในห้องเรียน
ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ในการศึกษาและเรียนรู้คำศัพท์เบื้องต้น
จากนั้นเราจึงค่อยพัฒนามาเรียบเรียงคำศัพท์เหล่านั้นให้เป็นประโยคและฝึกพูดหรือใช้ในการติดต่อสื่อสารในสถานการณ์จริง
โดยแนวทางที่จะช่วยทำให้เราได้ใช้และอยู่กับภาษาอังกฤษได้ทุกวันหรือตลอดเวลาก็คือ
การฝึกภาษาอังกฤษจากสื่อเทคโนโลยีสารสรเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต
สมาร์ทโฟน ไอโฟน หรือแท็บแล็ต
โดยเราจะฝึกทักษะการฟังผ่านเพลงสากลหรือดูหนังผ่านสื่อดังกล่าว
โดยเฉพาะการฟังเพลงสากลและการดูหนังฝรั่งจะช่วยเราในการฝึกภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายราคาแพงให้กับกวดวิชาหรือสถาบันสอนภาษาดังๆ ซึ่งเราสามารถเริ่มทำได้จากที่บ้าน
เราจะฝึกตอนไหนหรือเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ควรที่จะรู้วิธีการจัดสรรเวลาให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวเองด้วย
เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อการเรียนและสุขภาพของเรานั่นเอง
การฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ
การฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ
ในชีวิตของมนุษย์เราในแต่ละวันต่างพบเจอผู้คนมากหมาย
หลากหลายชนชาติ แต่ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารพูดคุยกันแล้วเกิดความเข้าใจกันได้
เพราะเรามีภาษากลางที่จะใช้สื่อสารเหมือนกัน นั่นก็คือ ภาษาอังกฤษที่เป็นกุญแจสำคัญในการการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันของเราในขณะนี้
อย่างง่ายๆ
หากเราพูดภาษาไทยกับผู้คนในภูมิภาคอาเซียนที่กำลังจะเปิดในปีหน้าที่กำลังจะถึง
ผู้คนเหล่านั้นก็จะไม่เข้าใจในสิ่งที่กำลังจะสื่อความหมายให้เขา
เพราะฉะนั้นจึงมีการกำหนดภาษากลาง
หรือภาษาแม่ที่ใช้เป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารในด้านต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ รวมไปถึงด้านการศึกษาอีกด้วย ซึ่งในขณะที่คุณเชื่อมต่อสิ่งที่คุณได้ยินกับสิ่งที่คุณอ่านและสิ่งที่คุณพูด หรือคุณกำลังกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างด้านของภาษา
Adverb Clause
Adverb
Clause คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) คำคุณศัพท์ (Adjective)
และคำกริยาวิเศษณ์
(Adverb) ในประโยคหลัก (Main Clause)
โดยสามารถวางไว้ด้านหน้าหรือด้านหลังอนุประโยคหลักได้
แต่ถ้าหากอยู่ด้านหน้าของประโยคหลักก็จะมีเครื่องหมาย comma (,) คั่นอยู่ด้วย
เช่น While she was walking at the park, she cried.
Adjective Clause
Clause มีอยู่ 2
ประเภท ดังนี้
Independent Clause = หรือ Simple Sentence (ประโยคอย่างง่าย)
ซึ่งก็คือ Clause ที่อยู่โดดๆ ได้ อ่านรู้เรื่อง
ซึ่งตัวมันเองก็ถือว่าเป็นประโยคแล้ว มี Subject และ
Verb ที่แสดงความหมายโดยสมบูรณ์ เช่น It was
raining hard. (ฝนกำลังตกหนัก แค่นี้ก็รู้เรื่องแล้ว)
Dependent Clause = Clause ที่อยู่โดดๆ ไม่ได้ ต้องมี Clause
อื่นอยู่ด้วยจึงจะประกอบกันเป็นประโยคที่อ่านรู้เรื่อง เช่น When
we were in Bangkok เช่น เมื่อเราอยู่ที่กรุงเทพ เราชอบไปเที่ยวห้างมาก
เป็นต้น)
Reading Skill
เทคนิคการอ่านเร็วที่สำคัญและมีประโยชน์มี
2 แบบ คือ การอ่านแบบสกิมมิ่ง (Skimming)
และ
การอ่านแบบสแกนนิ่ง (Scanning)
ทั้งสองเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่าน
เรื่องได้รวดเร็วและเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ทันที ผู้เชี่ยวชาญทางการอ่านบางคนเรียกว่า
ทักษะการ ค้นหา (Searching
Skill) ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้เรียนควรได้ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญต่อไป
Noun clause
Noun clause
Noun clause คือประโยคที่ทำหน้าที่เหมือน คำนาม
หรือกลุ่มคำนาม (นามวลี หรือ Noun
phrase )Noun Clause จะมีคำ 'that' หรือคำ Wh-Questions (what; where, when, why, how เป็นต้น) นำหน้าประโยค
คำนามหรือนามวลีสามารถเป็นประธานของประโยคและกรรมของกริยาได้
How to learn vocabulary
ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกทำให้มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนามากขึ้นและการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี2015จะทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน
โดยการพัฒนาการศึกษาควรให้ความสนใจกับเนื้อหาของผลการวิจัยของ WEF ที่จะรวบรวมคุณภาพทางการศึกษาของแต่ละประเทศแล้วจัดเป็นลำดับคะแนน
ซึ่งหากประเทศไทยยังคงไม่เริ่มต้นการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างจริงจัง
คะแนนของการศึกษาไทยอาจถูกเลื่อนลำดับในทุกประเภทการสำรวจ
ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่ร้ายแรงในระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในอนาคต
วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Practice Vocubulary
Practice vocabulary
ทุกวันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจําวันเรา เด็กทุกวันนี้ก็เรียนรู้
ภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นอนุบาล เรียนไปเรื่อย ๆทั้ง grammar และ
Conversation เด็กเหล่านี้โชคดีที่เกิดมา
พร้อมยุคสมัยที่การเรียนการสอนพัฒนาไปไกล และการสื่อสารที่รวดเร็ว สามารถเรียนรู้ได้ง่ายจากสื่อต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น internet, movie, music, newspaper ที่หาได้ง่ายๆ
แต่ถึงใครบางคนที่ไม่มีโอกาสได้เรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล
ก็ ยังสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ในชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะศัพท์ต่างๆ เพราะคำศัพท์เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของภาษาอังกฤษ
ซึ่งนักเรียนจะต้องเตรียมคำศัพท์เพื่อให้ทันกับโลกปัจจุบัน
ความท้าทายของการสอนคำศัพท์คือการสร้างแผนการสอนที่มีทั้งประสิทธิภาพและความบันเทิง เช่น ที่เห็นได้ทุกวัน เช่น หยิบถ้วยชง กาแฟ
ดูที่เครื่องทําน้ำร้อน หรือกาต้มน้ำ ก็จะเห็นภาษาอังกฤษเขียนไว้ เราก็อ่านและจดจํา
ก็ได้คําศัพท์ไป แล้ว ตั้งหม้อข้าวหุงข้าว
กดปุ่ม เราก็ได้ภาษาอังกฤษไปล่ะหลายศัพท์
ไปซักผ้า กดปุ่มซักผ้า ซึ่งมีปุ่มเยอะแยะ มากมาย อ่านไม่ออกก็ถือ dictionary
ไปเปิดดูด้วย สงสัยศัพท์ไหนเปิดดู เราก็ได้ภาษาไปแล้ว
If Clause ( ประโยคเงื่อนไข )
|
ในยุคปัจจุบันนี้
ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกทำให้มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนามากขึ้นและการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี2015จะทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน
โดยการพัฒนาการศึกษาควรให้ความสนใจกับเนื้อหาและหลักสูตร
ซึ่งจะควรจะเน้นย้ำในเรื่องของหลักไวยากรณ์หรือโครงสร้างทางหลักภาษา
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การทักทาย (Greeting) ,Tense ,Pronunciation ,Linguistic รวมทั้งการฝึกทักษะทั้งสี่ด้าน
( ทักษะฟัง พูด อ่า และเขียน)ให้กับผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งในวันนี้ดิฉันจะขอพูดถึงเรื่อง
ประโยคเงื่อนไข หรือที่หลายคนรู้จักในนาม if-clause สาเหตุก็เพราะว่าหากเราลองสังเกตดีๆ
ประโยคเงื่อนไขก็เป็นประโยคสำคัญที่คนเรามักใช้พูดกันบ่อยๆและจะเจอในชีวิตประจำวันจริง
เช่น ถ้าฉันรวย ฉันจะไปศัลยกรรมที่ประเทศเกาหลี เป็นต้น
วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558
Good writing
Good writing
การเขียน หมายถึง ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้คำ เป็นการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายเป็นศาสตร์ที่ผู้ใช้ต้องรู้จักคำและเลือกใช้คำให้ถูกต้อง เหมาะสม ตรง ความหมาย ตรงราชาศัพท์ เหมาะกับกาลเทศะ ไม่ใช้คำซ้ำซ้อน รู้จักหลบคำโดยไม่เกิดความกำกวม และใช้ คำให้เกิดภาพพจน์ ในการนำคำที่เลือกแล้วมาเรียบเรียงเป็นประโยค เป็นข้อความ
การพัฒนาภาษาอังกฤษก่อนเข้าสู่อาเซียน
การพัฒนาภาษาอังกฤษก่อนเข้าสู่อาเซียน
ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกทำให้มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนามากขึ้นและการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี2015จะทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน
หัวใจหลักของการเขียนเรียงความ
หัวใจหลักของการเขียนเรียงความ
หัวใจหลักของการเขียนเรียงความอยู่ที่รูปแบบกระบวนการ
และขั้นตอนของการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง
เป็นกลุ่มของกระบวนการที่ใช้ในทำงานหรือสร้างงานให้สำเร็จ
ขั้นตอนสำคัญอยู่ที่แต่ละขั้นตอนที่คุณได้ทำการอภิปรายแสดงลงไปในกระดาษ เลือกเครื่องมือที่จะใช้กับชิ้นงาน โดยในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องมีการกำหนดกรอบเวลาและเงื่อนไขการสิ้นสุดเนื้อหาในแต่ละขั้น
ทำการวิเคราะห์ความยากและการเตรียมการล่วงหน้าระบุ ผลลัพธ์ สำหรับใครที่ชอบใช้คำศัพท์ยากๆ คำศัพท์สวยๆ
อลังการมาใช้ในงานเขียน เพราะคิดว่ายิ่งใช้คำศัพท์ยากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเก่งและรู้สึกเหนือกว่าคนอื่นๆ
แต่การใช้คำศัพท์เหล่านั้นในการเขียนเรียงความ
หรือใช้ในการเขียนโปรยบทนำให้ดูสวยหรู มันไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบเสมอไป เพราะหากไม่มั่นใจว่าความหมายคืออะไร
หรือไม่มั่นใจว่าจะเรียบเรียงอย่างไรในการเขียนประโยค
อาจทำให้เนื้อหาที่จะสื่อสารกับผู้อ่านนั้นผิดเพี้ยนและอาจทำให้โดนหักคะแนนได้
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ฝึกทักษะการฟังโดยการฟังเพลง
ฝึกทักษะการฟังโดยการฟังเพลง
การศึกษากับคุณธรรม
การศึกษากับคุณธรรม
"การศึกษา"
นับว่ามีความสำคัญมากต่อการพัฒนาบุคลากรตลอดจนไปถึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนาส่วนอื่น
ๆ ด้วย เพราะไม่ว่าจะทำการพัฒนาส่วนใดต้องเริ่มมาจากการพัฒนาคนเสียก่อน
ดังนั้นการพัฒนาคนสามารถทำได้หลาย ๆ รูปแบบ
อย่างที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคนคือการให้การศึกษา
ดังนั้นการพัฒนาประเทศต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคนโดยต้องคำนึงถึงการศึกษาเป็นสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวล้ำนำโลกไปมาก
การศึกษาก็ต้องพัฒนาไปให้ทันกับโลก
เพราะตอนนี้ประเทศไทยมักประสบปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ผิดของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันมีความรุนแรงจนกลายเป็นวิกฤติทางสังคม
ซึ่งปัญหาอันดับหนึ่งคือ ยาเสพติด รองลงมาคือการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรซึ่ง
เป็นที่มาของการทำแท้ง การทอดทิ้งเด็ก เด็กถูกทำร้าย การติดเชื้อเอดส์
และการขายบริการทางเพศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอุบัติเหตุจากความมึนเมา คึกคะนอง
ท้าทายกฎระเบียบ ส่วนปัญหาที่กำลังมีแนวโน้มขยายตัวและรุนแรงในวัยรุ่นคือ
การทำร้ายผู้อื่นและทำร้ายตนเอง โดยการคิดฆ่าตัวตาย
ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา
สถาบันศาสนาและชุมชน รวมถึงสื่อโดยเฉพาะโทรทัศน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันและรีบแก้ไขปัญหาวัยรุ่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)