วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

How to learn vocabulary





How to learn vocabulary



ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกทำให้มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนามากขึ้นและการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี2015จะทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน โดยการพัฒนาการศึกษาควรให้ความสนใจกับเนื้อหาของผลการวิจัยของ WEF ที่จะรวบรวมคุณภาพทางการศึกษาของแต่ละประเทศแล้วจัดเป็นลำดับคะแนน ซึ่งหากประเทศไทยยังคงไม่เริ่มต้นการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างจริงจัง คะแนนของการศึกษาไทยอาจถูกเลื่อนลำดับในทุกประเภทการสำรวจ ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่ร้ายแรงในระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในอนาคต 




เพราะภาษาอังกฤษจะเป็นคำตอบให้กับการศึกษาของประเทศไทย เพราะความสามารถที่มากขึ้นในด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยจะสามารถเปลี่ยนแปลงระบบความคิดและการจัดการความรู้ของนักเรียนได้ โดยนักเรียนที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นและมีความพร้อมในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนมากกว่า นอกจากนี้ยังจำเป็นจะต้องเปลี่ยนการบรรยายและการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม โดยห้องเรียนควรปรับเปลี่ยนเป็นห้องการสัมมนาที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถกเถียงในประเด็นต่างๆได้อย่างทั่วถึง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนมีบทบาทในการเรียนและตะหนักถึงความสำคัญของตนในการช่วยพัฒนาผู้อื่น การเรียนภาษาอังกฤษจะต้องจัดเป็นวาระแห่งชาติอย่างเร่งด่วน เพราะตามกฎบัตรอาเซียนที่ได้ตกลงกันไว้ ภาษาอังกฤษจะทำหน้าที่เป็น "ภาษาราชการของอาเซียน" หมายถึง การดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคอาเซียนจะใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร
การเรียนการสอนภาษาจะเป็นสิ่งที่น่าเบื่ออย่างยิ่ง หากครูผู้สอนดำเนินการสอนไปตามทฤษฎี หรือขั้นตอนการสอนที่กำหนดไว้ โดยมิได้สอดแทรกกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ เพื่อให้บทเรียนมีชีวิตชีวาขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเห็นว่าผู้เรียนจะมีความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงชั่วระยะหนึ่ง แล้วผู้เรียนก็จะเบนความสนใจไปสู่สิ่งอื่น ๆ สิ่งใหม่ ๆ มาทดแทน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย อันจะเป็นผลเสียต่อ การเรียนรู้และเป็นการสร้างเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนภาษา การฝึกทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนก็ดี ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการเรียนการสอนภาษา แม้ครูจะมีความรู้ดีมีประสบการณ์ และใช้อุปกรณ์ช่วยในการสอนมาสักเพียงใดก็ตาม ถ้าหากผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเสีย แล้วการเรียนภาษาก็จะไม่บรรลุตาม จุดมุ่งหมายที่วางไว้
เป้าหมายของการสอนภาษา คือการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษในแต่ละบทเรียนรวมถึง ทักษะการพูดเพื่อให้เกิดความมั่นใจและความถูกต้อง ทักษะการฟัง ทักษะการเขียน และการอ่านและคำศัพท์ต่างๆ โดยเทคนิคการสอนแบบการกระตุ้น การให้มีส่วนร่วม และ การปฏิบัติสัมพันธ์ แม้ว่า หลักไวยากรณ์จะไม่ใช่สิ่งที่เน้นและเป็นเป้าหมายหลักของการสอน แต่ในการสอนจะมีการสอดแทรกหลักไวยากรณ์อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษอย่างถูกต้อง
การที่ผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนต้องมีความรู้ด้านไวยากรณ์และคำศัพท์อย่างสมดุลกัน เพื่อให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษน่าสนใจ ซึ่งการสอนคำศัพท์ ที่มีจุดหมายให้ผู้เรียนนำไปสื่อสารได้นั้น ผู้เรียนต้องมีความรู้ด้านคำศัพท์อย่างลึกซึ้งในเรื่องดังต่อไปนี้ การออกเสียง การสะกดคำ การใช้คำศัพท์ร่วมกับคำอื่น การจดจำได้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน การนำคำศัพท์ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ ถูกหลักไวยากรณ์ และเหมาะสมกับสถานการณ์ คำศัพท์ที่ควรนำมาสอนนั้น ควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จริงในชีวิต

เทคนิควิธีเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งจากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สามารถสรุปได้ว่า คำศัพท์ภาษาอังกฤษมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ รูปคำ ความหมาย และขอบเขตในการใช้ การสอนคำศัพท์ระดับประถมศึกษานั้น จะไม่เน้นที่จำนวนคำ แต่จะสอนให้นักเรียนออกเสียงได้ถูกต้อง การสอนควรเป็นคำที่มีเสียงคล้องจองกัน ในการสอนแต่ละครั้งควรสอนคำศัพท์ประมาณ 3 – 5 คำ โดยจะเริ่มสอนจากความหมายก่อน จากนั้นจึงสอนการฟัง – พูด การอ่าน การเขียน และการนำไปใช้ เมื่อสอนเสร็จแต่ละครั้ง ครูควรติดบัตรคำที่สอนให้นักเรียนได้เห็น อย่างน้อย 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อให้นักเรียนได้ทบทวน นอกจากนี้ควรให้นักเรียนได้เขียนคำศัพท์ตามคำบอก จะช่วยย้ำความจำศัพท์ด้วย
F - Forthright Grammar เรื่องของโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่จำเป็น และเป็นพื้นฐานต่อการเรียนในคอร์สต่างๆ โดยเน้นการฝึกฝนแบบ real-time ให้เกิดความเข้าใจและสามารถสร้างรูปประโยคได้อย่างเป็นธรรมชาติ เทคนิคในการสอนแบบนี้จะเน้นการอธิบายควบคู่กันไปกับการทำแบบฝึกหัด โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นโค้ช คอยดูแลและชี้แนะ แก้ไขอย่างใกล้ชิด และเป็นกันเอง
T - The Trainer ในระบบการเรียนการสอนที่ใช้แล้วได้ผลดีกับนักเรียนแทบทุกคน โดยครูผู้สอนนอกจากจะทำหน้าที่ในการสอนแล้วยังทำหน้าที่เป็นโค้ชภาษาอังกฤษ ที่คอยวางแผนการเรียนและเสริมจุดที่ต้องพัฒนาหรือปรับปรุงของนักเรียนแต่ละคน โดยในความเป็นโค้ชนี้ ครูผู้สอนย่อมมีโอกาสมากกว่าที่จะส่งเสริมและสร้างทัศนคติที่ดี ต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนแต่ละคน
M - Magical looking เทคนิคนี้จะใช้ในการอ่านที่จะทำให้ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องรู้ศัพท์หมดทุกตัว แต่ก็สามารถอ่านเรื่องได้เข้าใจ หรืออย่างน้อยๆ ก็ช่วยให้ทำข้อสอบ Reading ได้มากกว่าร้อยละ 70 เทคนิคนี้ใช้ได้ผลดีมาแล้วกว่า 6 ปี นับแต่คิดค้นเทคนิคนี้ขึ้นมา
M - Master of vocabulary เป็นเทคนิคในการสร้างความจำระยะยาว (long term memory) แก่ผู้เรียน โดยใช้เทคนิคในการสร้างรูปแบบการจำต่างๆ มากกว่าสิบรูปแบบ ที่จะทำให้การท่องศัพท์ไม่เป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป  
โดยก่อนเข้าเรียน ครูและนักเรียนจะมีการพูดคุยกันก่อน ว่าเป้าหมายในการเรียนเป็นไปเพื่ออะไร และเนื้อหาไหนบ้าง ที่เรียนแล้วจะออกสอบ และที่โรงเรียนของนักเรียนจะออกสอบเรื่องไหนบ้าง ทางสถาบันจะให้เนื้อหาต่างๆ โดยที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ และรวดเร็ว ผนวกกับการฝึกฝนซ้ำๆ อีกหลายๆ ข้อ ภายใต้ความดูแลของครูผู้สอนตลอดเวลา อาทิเช่น จะสอบเรื่อง Tense และ Passive Voice ทางสถาบันก็จะสอนเรื่อง Tense และ Passive Voice ด้วยเนื้อหาที่เข้าใจง่าย และจำเป็นสำหรับนักเรียนแต่ละคน โดยเน้น กระชับ ฉับไว ตรงประเด็น สนุกสนาน และผ่อนคลาย และต่อจากนั้นเมื่อนักเรียนมีความเข้าใจบ้างแล้ว ก็จะเข้าสู่การฝึกฝน เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ โดยทางสถาบันมีตำราชั้นดีกว่า 100 เล่ม (บางสถาบันใช้ตำราเล่มเดียวในการสอนทั้งเทอม) ที่จะคัดสรรมาให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละคน ดังนั้นจึงหมายความว่า เรามีแบบฝึกหัด และโจทย์ในแต่ละเรื่องมากกว่า 1,000 ข้อ และ 1,000 ตัวอย่าง ที่จะทำให้นักเรียนของเราได้ฝึกฝนภายใต้ความดูแลอันใกล้ชิดของครูผู้สอน  เนื่องจากหัวใจสำคัญของการเก่งภาษาอังกฤษไม่ได้อยู่เพียงแค่การสอนดีของครู ค่าเรียนที่แพงๆ หรือการสอนแบบเร้าใจเพียงอย่างเดียว แต่หัวใจของการเก่งภาษาอังกฤษอยู่ที่การฝึกฝนอย่างถูกต้อง และเป็นระบบซึ่งระบบที่ทางสถาบันของเราได้ออกแบบมานั้น พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลกับนักเรียนทุกๆ คน
เกมฝึกคำศัพท์สำหรับพัฒนาผู้เรียน เป็นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันเป็นแนวการสอนเพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach) ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างและการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้านให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ได้แก่ ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร ซึ่งในการเรียนการสอนนั้นความรู้เรื่องคำศัพท์มีความสัมพันธ์กับทักษะทั้ง 4 ด้าน และการที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้ได้ดีนั้น ผู้เรียนที่รู้คำศัพท์มาก จำได้แม่น สามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ย่อมเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของเสาวลักษณ์ รัตนวิชช์ (2531 : 84) ที่กล่าวว่า ในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สิ่งสำคัญ คือ การพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้คำศัพท์ยังมีความสำคัญและความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการฟัง การพูดและการเขียนด้วย ในด้านการฟังและการพูด ถ้านักเรียนไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์ ฟังไม่รู้เรื่อง จับใจความไม่ได้ ใช้คำผิดความหมาย ทำให้การสื่อสารไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนทางด้านการเขียนนั้นนักเรียนจะเขียนสะกดคำไม่ถูก และเขียนไม่ได้ความชัดเจน กล่าวคือ ถ้านักเรียนไม่มีความแม่นยำหรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์แล้ว นักเรียนจะเรียนภาษาให้ได้ดีทั้งการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนได้ยาก ความรู้เรื่องคำศัพท์จึงเป็นเรื่องสำคัญในการเรียนภาษา ถ้านักเรียนคนใดมีพัฒนาการทางภาษาดีมาตั้งแต่เด็ก คือ รู้ศัพท์มากพอเหมาะกับวัยของตนสามารถนำคำศัพท์ไปใช้อย่างถูกต้อง นักเรียนคนนั้นจะเข้าใจความคิดของคนอื่น และสิ่งแวดล้อมจนสามารถสื่อความหมาย หรือแสดงความต้องการของตนให้ผู้อื่นเข้าใจได้ด้วย การสอนคำศัพท์มีความจำเป็นมากในการเรียนรู้ภาษา เพราะคำศัพท์จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาทักษะการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ทั้งนี้เป็นเพราะคำศัพท์เป็นหน่วยหนึ่งในโครงสร้างของภาษาที่เป็นพื้นฐานของการเรียนภาษาที่ผู้เรียนจะนำมาสร้างเป็นวลี หรือประโยคในการพูดหรือเขียน และการฟังหรืออ่านนั้นคำศัพท์จะเป็นส่วนประกอบของข้อความที่สื่อสาร  การใช้เกมทางภาษาเข้ามาแทรกบทเรียนในชั่วโมงใด พบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและเรียนด้วยความสนุกสนานมากขึ้น เพราะเกมเป็นวิธีการฝึกภาษาที่ใช้ได้ผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้เรียนจะมีความสนุกในการเรียน และทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการใช้ภาษา นอกจากนี้ การเล่นเกมทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จัดขึ้น เกิดความสนุกสนานและช่วยเสริมการเรียนรู้ในเรื่องของคำศัพท์ได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ นอกจากนี้การที่นักเรียนจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นยำ และมีความคงทนในการจำคำศัพท์ เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้นักเรียนเรียนภาษาอังกฤษได้อย่างดี
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล ที่มีผู้ใช้ใช้กันอย่างกว้างขวางในการติดต่อสื่อสารในชาติต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดย เฉพาะในปัจจุบันนี้โลกมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี มาก การคมนาคม การติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว ส่งผลให้ความความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นไปอย่างไร้พรมแดน ภาษาอังกฤษจึงเข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการดํารงชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก ทั้งด้านการค้า การศึกษาและการดํารงชีวิต อาจจะกล่าวได้ว่าผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอังกฤษดีจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบในด้านการประกอบอาชีพที่มีโอกาสและทางเลือกที่หลากหลายมากกว่าผู้ที่ไม่รู้หรือไม่มีทักษะทางด้านภาษาเลย ดังนั้นคนไทยในปัจจุบันจึงหันมานิยมและให้ความสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษกันมายิ่งขึ้น เพื่อที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ  ในโรงเรียนต่างๆและสถาบันต่างตอบสนองความต้องการดังกล่าว ด้วยการเปิดโปรแกรมการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ภาษาอังกฤษสามารถติดต่อกับชาวต่าง ประเทศได้ และการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีนั้น ผู้เรียนควรที่จะรู้คําศัพท์ให้มาก จําได้แม่นยำและสามารถนํามาใช้ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆซึ่งจะช่วยให้การเรียนได้ผลดี ซึ่งผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาอังกฤษ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนต้องมีความรู้ด้านไวยากรณ์และ คําศัพท์อย่างสมดุลกัน เพื่อให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ น่าสนใจ ทําให้ทราบว่าการเรียนรู้คําศัพท์ เป็นสิ่งที่จําเป็นมาก และคําศัพท์ส่วนใหญ่อยู่ในพจนานุกรม ซึ่งคําศัพท์มีจํานวน มากนักเรียนไม่สามารถจําคําศัพท์ได้ทุกคํา และการที่จะจําคํา ศัพท์ได้มากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจําและ ความเข้าใจรูปแบบการใช้ตลอดจนความจำเป็นในการใช้คำศัพท์ นั้นๆ อีกด้วย ซึ่งวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจําคําศัพท์ได้ดีก็ คือการนํารูปภาพที่มีการจัดหมวดหมู่ กลุ่มคําศัพท์มาอ่านและ ท่องทีละหมวด จะทำให้สมองสามารถจดจำคำศัพท์ได้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งเป็นการจัดระเบียบความจํานั่นเอง  สิ่งสําคัญในการสนับสนุนให้การเรียนมีประสิทธิภาพ ข้อมูลต่างๆที่เราเก็บเอาไว้ในความจำจะถูกกระบวนการคิดและการตัดสอนใจรวบรวมและกลั่นกรองมาเป็นพฤติกรรม  โดยจะได้รับการพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนโดยเน้นความจํา ซึ่งการที่บุคคลจะจําสิ่งใดได้ดีนั้น จะ ต้องเริ่มจากการรับรู้สิ่งนั้นหรือการสังเกตสิ่งนั้นอย่างตั้งใจ และ เชื่อมโยงกับสิ่งที่รู้แล้วหรือจําได้ ดังนั้นจึงมีแนวคิดและทฤษฎี เกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อเน้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งแนวคิดในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาด้านพหุปัญญาได้เข้ามีมีอิทธิพลต่อแนวคิดของนักการศึกษาและครูผู้สอนทุกระดับ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์รวมของผู้เรียนจะหมายถึง การพัฒนาทางด้านสมองของผู้เรียนทั้งซีกซ้ายและซีกขวา โดยสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาจะส่งผลต่อปัญญา และความสามารถในด้านต่างๆ เนื่องจากปัญหาที่นักเรียนไม่รู้คําศัพท์และความหมาย ประกอบกับนักเรียนที่เรียนสายอาชีพส่วนใหญ่มักไม่ค่อยสนใจ เรียนภาษาอังกฤษทําให้ไม่สามารถพูด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษ จึงกลายเป็นปัญาและอุปสรรคในการเรียนการสอนเรื่องคำศัพท์
หลายคนคงจะเคยเจอเหตุการณ์ เมื่อเวลาจะพูด จะเขียน ภาษาอังกฤษแต่ละที เรื่องไวยากรณ์ต่างๆก็พอไหวอยู่ แต่มักจะชอบนึกคำศัพท์ไม่ออก โดยเฉพาะเวลาเขียนถึงหัวข้อที่เฉพาะทางมากๆ หรือต้องตอบคำถามแบบกระทันหัน ก็ตื่นเต้นจนลืมหมดไม่รู้จะใช้คำศัพท์อะไรมาอธิบายดี ฉะนั้น การสะสมคลังคำศัพท์จึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านอื่นๆ เลยค่ะ โดยเฉพาะคนที่กำลังเตรียมสอบข้อเขียนหรือสอบสัมภาษณ์ ควรจะเตรียมตัวเก็งคำศัพท์ที่มักพบบ่อย หรือต้องใช้แน่ๆ ในการสอบเอาไว้บ้าง
1. ฝึกใช้คำศัพท์ใหม่ๆ ในประโยค เวลาฝึกอ่านบทความภาษาอังกฤษหัวข้อที่เราชอบและสนใจ ลองจดคำศัพท์ที่น่าสนใจออกมา แล้วค้นหาดูว่าเราจะสามารถใช้คำศัพท์ไหนแทนคำนี้ได้อีกบ้าง เท่านี้เราก็จะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มแล้วค่ะ หรือจะใช้บริการเว็บไซต์อย่าง พจนานุกรมอ็อกซ์ฟอร์ด ที่มี Word of the day น่าสนใจมาแนะนำวันละหนึ่งคำ แล้วลองแต่งประโยคจากคำศัพท์นั้นดู ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเรียนรู้และฝึกใช้คำศัพท์ที่ดีค่ะ
2. ฝึกเปลี่ยนไวยากรณ์ให้คำศัพท์  คำศัพท์หลายๆ คำ เมื่อเป็นกริยา (Verb) ก็เขียนแบบหนึ่ง แต่พอเป็นคำนาม (Noun) หรือคำคุณศัพท์ (ADJ) ก็มักเขียนแตกต่างกันออกไป รวมถึงตำแหน่งและหน้าที่เมื่ออยู่ในประโยคก็ต่างกันออกไปด้วยค่ะ ซึ่งบางคนก็มาตรงม้าตายถูกหักคะแนน Writing เพราะเลือกใช้ประเภทของคำศัพท์ไม่ถูกต้องอยู่บ่อยๆ ฉะนั้น เมื่อรู้จักคำศัพท์หนึ่งคำแล้ว ก็ควรจะรู้ด้วยค่ะว่าเมื่อเปลี่ยนไวยากรณ์แล้ว หน้าตาของมันเปลี่ยนไปยังไงบ้าง
3. ฝึกคิดแบบเชื่อมโยง การจดจำคำศัพท์แบบเป็นกลุ่ม จะทำให้เราจำได้เยอะและแม่นยำกว่าท่องจำทีละคำค่ะ อย่างเช่น เมื่อนึกถึงคำว่า car ซึ่งเป็น noun แปลว่ารถ เราก็ควรจะเชื่อมโยงไปว่า มี adjective อะไรบ้างที่ขยาย car ได้บ้าง เช่น fast, slow, rusty
มี verb อะไรที่ใช้กับ car ได้บ้าง เช่น to Brake, to accelerate, to crash
มี car ประเภทอะไรบ้าง เช่น Limousine, Jeep หรือเมื่อนึกถึงคำว่า big ซึ่งเป็น adjective แปลว่าใหญ่ ก็ลองคิดเชื่อมโยงดูว่ามีคำศัพท์ไหนที่แปลว่าใหญ่ได้อีกบ้าง เช่น vast, large, enormous, huge มีคำศัพท์ไหนที่ตรงข้ามกับคำนี้บ้าง เช่น small, tiny แล้วมี noun คำไหนที่ใช้ big ในการขยายได้บ้าง เช่น Elephant, a continent, Jupiter
4. จดคำศัพท์ใส่สมุดโน้ตเล็กๆ หรือสมาร์ทโฟน ขณะรอคิวหรือนั่งรถเมล์นานๆ แทนที่จะเปิดดูfacebookคนนู้นคนนี้ไปเรื่อยเปื่อย ลองเปลี่ยนมาเป็นการจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ดูสิคะ แล้วจะพบว่าในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนคุณได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ เยอะมาก ถ้ารู้สึกว่าการจำคำศัพท์เฉยๆ น่าเบื่อเกินไป ลองเชื่อมโยงคำศัพท์เข้ากับสถานที่ที่เรากำลังจะไปก็ได้ค่ะ เช่น กำลังจะนั่งรถไปกินข้าวกับเพื่อน ก็ท่องคำศัพท์เกี่ยวกับร้านอาหาร แบบนี้เป็นต้น
5. ใช้ประโยชน์จาก Flash cards ซึ่ง Flash cards คือกระดาษแผ่นเล็กๆ เจาะรูร้อยห่วงเข้าด้วยจนหนาเป็นปึก แล้วจดคำศัพท์ที่อยากจำ หรือสูตรเคมี สูตรคณิตศาสตร์ ไว้บนนั้น วิธีนี้เป็นที่นิยมของนักเรียนอเมริกันทั้งในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัยเลยค่ะ เพราะนอกจากจะพกพาสะดวกแล้ว ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ Flash cards เราสามารถแกะปึกกระดาษออกมาสลับคำศัพท์ได้ค่ะ ถ้าเราจดคำศัพท์ใส่สมุดไว้เป็นแถวยาวๆ บางทีพอเจอคำแรกปุ๊บ เราจะนึกคำแปลของคำที่สองได้โดยอัตโนมัติ เพราะมันอยู่ต่อกัน กลายเป็นว่าเราจำได้ด้วยความเคยชินจากตำแหน่งที่คำนั้นๆ อยู่ต่อกัน แต่เราไม่ได้จดจำคำศัพท์นั้นได้อย่างแท้จริง และเมื่อจำคำศัพท์ไหนได้แม่นแล้ว เรายังสามารถดึงคำนั้นออก แล้วใส่คำใหม่ๆ เข้าไปแทนได้อีกด้วย
6. อ่านให้เยอะและหลากหลาย  ถ้าได้อ่านสิ่งที่สนใจและรู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ จากในนั้น จะทำให้เราสนุกและโฟกัสกับการฝึกได้นานกว่าการนั่งท่องศัพท์เฉยๆ ค่ะ ซึ่งสมัยนี้ก็ไม่ยากเลยกับการใช้อินเทอร์เน็ตหาบทความภาษาอังกฤษที่น่าสนใจ อาจจะเป็นข่าวซุบซิบดาราหรือเรื่องกินเที่ยวอะไรทำนองนี้ก็ได้
7. หมั่นนำคำศัพท์ไปใช้บ่อยๆ ตอนเรายังเป็นเด็กอายุขวบสองขวบที่เพิ่งเริ่มหัดพูดภาษาไทย คำที่เราจดจำได้ก่อน เช่น กินข้าว นอน ฉี่ มันไม่ใช่คำที่เรานั่งท่องอย่างเอาเป็นเอาตาย แต่คำเหล่านี้ก็คือคำที่เราใช้บ่อยๆ ถูกไหม ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็เช่นกัน การท่องจำจะทำให้เราจำได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น สอบเสร็จก็ลืมหมด หรือบางทีลืมตั้งแต่ยังไม่ได้ไปสอบเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น ถ้าอยากจะจดจำให้ได้ในระยะยาว ก็ต้องหมั่นใช้คำศัพท์บ่อยๆ ค่ะ ถ้าไม่อยากลืมก็ต้องหมั่นฝึกฝน
จากความสำคัญ และปัญหาของการเรียนรู้และจําคําศัพท์ ภาษาอังกฤษไม่ได้ดังกล่าว ประกอบกับในยุคปัจจุบันเป็นยุค ปฏิรูปการศึกษาเพื่อเข้าสู่การประกันคุณภาพการศึกษา คณะ ครู อาจารย์และโรงเรียน จึงต้องมีการพัฒนาการเรียนการ สอนให้นักเรียนได้รับความรู้และนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง แท้จริง ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการที่นักเรียนไม่รู้คําศัพท์ จํา ไม่ได้ ไม่เข้าใจความหมาย จึงทําให้อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก เขียนไม่ได้ ฟังไม่เข้าใจ การนํารูปแบบการ เรียนการสอนเน้นความจําจากภาพประกอบ ตามแนวทฤษฎี พหุปัญญา มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการไม่รู้และจําคําศัพท์ภาษา อังกฤษไม่ได้ทำให้เกิดการ พัฒนาทักษะการจําและเพิ่มพูนคําศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้ กิจกรรมรูปภาพเป็นสื่อประกอบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ อย่างสนุกสนาน น่าสนใจ เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมองและสามารถจําคําศัพท์ได้มากขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น