วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หัวใจหลักของการเขียนเรียงความ



หัวใจหลักของการเขียนเรียงความ



         หัวใจหลักของการเขียนเรียงความอยู่ที่รูปแบบกระบวนการ และขั้นตอนของการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง เป็นกลุ่มของกระบวนการที่ใช้ในทำงานหรือสร้างงานให้สำเร็จ ขั้นตอนสำคัญอยู่ที่แต่ละขั้นตอนที่คุณได้ทำการอภิปรายแสดงลงไปในกระดาษ เลือกเครื่องมือที่จะใช้กับชิ้นงาน โดยในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องมีการกำหนดกรอบเวลาและเงื่อนไขการสิ้นสุดเนื้อหาในแต่ละขั้น ทำการวิเคราะห์ความยากและการเตรียมการล่วงหน้าระบุ ผลลัพธ์     สำหรับใครที่ชอบใช้คำศัพท์ยากๆ คำศัพท์สวยๆ อลังการมาใช้ในงานเขียน เพราะคิดว่ายิ่งใช้คำศัพท์ยากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเก่งและรู้สึกเหนือกว่าคนอื่นๆ แต่การใช้คำศัพท์เหล่านั้นในการเขียนเรียงความ หรือใช้ในการเขียนโปรยบทนำให้ดูสวยหรู มันไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบเสมอไป เพราะหากไม่มั่นใจว่าความหมายคืออะไร หรือไม่มั่นใจว่าจะเรียบเรียงอย่างไรในการเขียนประโยค อาจทำให้เนื้อหาที่จะสื่อสารกับผู้อ่านนั้นผิดเพี้ยนและอาจทำให้โดนหักคะแนนได้





      การระบุว่าในแต่ละขั้นตอนที่ต้องการให้เกิดผลลัพธ์แบบไหน รูปแบบกระบวนการเขียนเรียงความแบบขั้นตอนจะทำแบบทีละขั้นตอนหรือตามลำดับตามที่ได้กำหนดไว้ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องทำตามลำดับเพราะในแต่ละขั้นตอนที่กำหนดจะมีเป้าหมายไว้ชัดเจน และควรระลึกไว้เสมอว่าผู้อ่านอาจจะไม่มีความคุ้นเคยกับกระบวนการทั้งหมดที่กำลังกล่าวถึง

        ดังนั้นควรหาทางที่จะดึงผู้อ่านให้เข้าถึงสิ่งที่กำลังกล่าวถึงโดยง่ายที่สุด โดยอาจมีการระบุรายละเอียดอธิบายในแต่ละกระบวนการอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจโดยไม่สงสัย หากเป็นเรื่องเกี่ยวที่มีศัพท์เฉพาะ ควรมีรูปภาพอธิบายเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนในการเขียนเรียงความแบบกระบวนการได้ชัดเจนขึ้น เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะการเขียน Essay ให้ถูกต้องตรงประเด็น และทำให้คนอ่านเข้าใจในบริบทที่เราต้องการสื่อสารนั้นไม่ใช่เรื่องหมูๆ จึงจำเป็นต้องใช้การสั่งสมด้วยการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ และฝึกฝนการเขียนของเราให้สม่ำเสมอ โดยสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเขียนก็คือการเขียนให้ถูกต้องตามหลักโครงสร้างทางไวยากรณ์ ผู้เขียนคนใดสามารถจดจำโครงสร้างและเข้าใจการใช้ได้ถูกต้องย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง ซึ่งวิธีการตรวจสอบหลักโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่เราเขียนใน Essay เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด นั้นคือการอ่านย้อนหลังจากประโยคสุดท้ายไล่ขึ้นไปถึงประโยคแรก เพื่อให้เราได้ตรวจสอบให้ดีทีละส่วน ทีละคำ ทีละประโยค เพื่อหาจุดผิดพลาดนั้นเอง เพราะผู้เขียนส่วนใหญ่หากอ่านประโยคแรกไล่ลงมาปกติแล้วมักคิดว่างานเขียนของเรายอดเยี่ยม แต่หากลองปรับ ส่วนในเรื่องของคำศัพท์นั้น        สำหรับใครที่ชอบใช้คำศัพท์ยากๆ คำศัพท์สละสลวยมาใช้ในงานเขียน เพราะคิดว่ายิ่งใช้คำศัพท์ยากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเก่งและรู้สึกเหนือกว่าคนอื่นๆ แต่การใช้คำศัพท์เหล่านั้นในการเขียนเรียงความ หรือใช้ในการเขียนโปรยบทนำให้ดูสวยหรู มันไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบเสมอไป เพราะถ้าเรา ไม่มั่นใจว่าความหมายคืออะไร หรือไม่มั่นใจว่าจะเรียบเรียงอย่างไรในการเขียนประโยค อาจทำให้เนื้อหาที่จะสื่อสารกับผู้อ่านนั้นผิดเพี้ยนและอาจทำให้โดนหักคะแนนได้ และอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญในการเขียนEssayคือการใช้คำเชื่อม (Transition) ต่างๆ อาทิ เช่น however, therefore, moreover, then, while, from then on, on the other hand, etc. มาช่วยในการเรียงต่อแต่ละประโยคเข้าด้วยกันเป็นย่อหน้า เนื่องจากหากนำแต่ละประโยคมาเรียงต่อกันโดยตรงจะทำให้เป็น Essay ที่อ่านแล้วเนื้อความแข็งไม่สละสลวยเท่าที่ควร การใช้คำเชื่อมจะช่วยให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมกับเนื้อหาของ Essay มากขึ้น และสามารถคาดการณ์ทิศทางของเนื้อหาใน Essay ได้ก่อน จากคำเชื่อมระหว่างประโยคว่าเนื้อหาจะสอดคล้องหรือขัดแย้งกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อหาของ Essay ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ส่วนประกอบสำคัญที่สุดของการเขียนนั่นก็คือ เขียนบทนำ(introduction) ให้ดึงดูด เพราะว่าในการอ่าน Essay คณะกรรมการมักจะใช้เวลาเพียงแค่ 1-2 นาทีเท่านั้น ดังนั้นบทนำของที่ เขียนควรจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้น และไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะแก้บทนำใหม่หมดภายหลังจากที่เราเริ่มเขียนเนื้อหาของ Essay ที่สำคัญคืออย่าเขียนสรุปเนื้อหาทั้งหมดในบทนำ เพราะเท่ากับเป็นการเฉลยเนื้อหาไว้ตั้งแต่เริ่ม ทำให้ผู้อ่านไม่อยากอ่านเนื้อหาต่อๆ ไป หรือไม่มีความอยากรู้ที่จะติดตามตอนต่อไปนั้นเอง
      
        รวมไปถึงคณะกรรมการเองก็เช่นกัน หากการเขียนบทนำ คือการสรุปทั้งหมด ผู้อ่านก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องอ่านเนื้อเรื่องที่เหลือของ Essay จึงควรสร้างความแปลกใจหรือสร้างความรู้สึกอยากติดตามชวนให้อ่านไว้ในบทนำ ด้วยการตั้งคำถามหรือประเด็นให้คณะกรรมการหรือผู้อ่านสนใจอ่าน Essay ของเราต่อไป รวมถึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารด้วย

       โครงสร้างของการเขียน Essay ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

1. Introduction หรือบทนำ เป็นส่วนแรกของเรียงความที่จะบอกให้ผู้อ่านทราบเบื้องต้นว่าเรียงความนี้จะ กล่าวถึงเรื่องอะไร มักจะไม่ใส่รายละเอียดมากนัก
2. Body หรือเนื้อความ เป็นส่วนที่รวมเนื้อหา ใจความสำคัญของเรียงความไว้ โดยจะเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของเรียงความ ทั้งนี้ Body อาจจะแยกย่อยเป็นหลายย่อหน้าก็ได้ ซึ่งหน้าที่ของ Body คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้อ่าน เพื่อให้เข้าใจหรือคล้อยตามกับเรียงความของเรามากขึ้น โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อยคือ
- Topic Sentence ซึ่งจะอยู่ส่วนแรกของของแต่ละ Body ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อความย่อหน้านี้จะกล่าวถึงเรื่องอะไร ซึ่งในการเขียน Topic sentence ที่ดี คือ ควรจะเขียนให้เป็น Simple sentence หรือประโยคความเดียว เพราะจะช่วยให้ประโยคมีความชัดเจน เข้าใจได้ง่าย
- Supporting sentences ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขยายความจาก Topic sentence รวมถึงการยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
- Concluding sentences เป็นการสรุปย้ำใจความสำคัญของย่อหน้าให้ผู้อ่านทราบอีกครั้ง
3. Conclusion หรือบทสรุป เป็นการทบทวนและย้ำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไรให้ผู้อ่าน ทราบ โดยเนื้อหาเน้นรวบรวมใจความสำคัญจาก Introduction และ Body


         รูปแบบการเขียน (Form of writing) หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบนั้น รูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานงานเขียน ซึ่งมีหลายประการตามความต้องการของผู้เขียนซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการเขียนเช่น เพื่อเล่าเรื่อง บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์ เช่น เล่าประวัติ เล่าเหตุการณ์ เล่าประสบการณ์ชีวิต เล่าเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ บันทึกเหตุการณ์ บันทึกประจำวัน , เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เช่น อธิบายเรื่องธรรมชาติ อธิบายเหตุผล อธิบายการแสดงหรือพฤติกรรมของบุคคล  อธิบายวิธีการ/การปฏิบัติ  อธิบายวิธีทำตามขั้นตอนเพื่อสร้างจินตนาการและความบันเทิง เช่น นิทาน เรียงความเรื่องตามจินตนาการ บรรยายภาพ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ บทละคร บทสนทนา , เพื่อการวิเคราะห์ เช่น แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ เขียนวิเคราะห์ข่าว เขียนแสดงข้อเท็จจริงและความคิดเห็นหรือ หรือ เพื่อประโยชน์ในการเรียน เช่น เขียนสรุปความ เขียนย่อความ เขียนย่อเรื่อง เขียนสรุปความจากการฟังหรือการอ่าน

         
    Houghton  Mifflin Harcourt ( 2006 : Online ) แบ่งรูปแบบการเขียน ( Form ) เป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
         
     1. การเขียนเล่าเรื่อง ( Narrative ) เป็นข้อเขียนที่เล่าเรื่องราวที่เป็นเรื่องจริงหรือแต่งขึ้นประกอบด้วย
                  1.1  เรื่องชีวประวัติ ( ฺBiographical  narrative )
                  1.2  เรื่องบันเทิงคดี ( Fictional  narrative )
                  1.3  เรื่องส่วนบุคคล ( Personal  narrative )
    
        2.  การเขียนอธิบาย ( Expository ) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกสารสนเทศ  ประกอบด้วย
                  2.1  ความเรียงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง(Compare-contrast essay )
                  2.2  ความเรียงวิธีการ ( How- to  essay )
                  2.3  ความเรียงที่เป็นสารสนเทศ ( Information  essay )
          
    3.  การเขียนโน้มน้าว ( Persuasive ) เป็นข้อเขียนที่เสนอความคิดเห็นของผู้เขียน และพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วย  ประกอบด้วย
                  3.1  ความเรียงที่เป็นข้อคิดเห็น ( Opinion  essay  )
                  3.2  ความเรียงที่กล่าวถึงปัญหาและการแก้ไข ( Problem- solution )
                  3.3  ความเรียงที่กล่าวถึงการสนับสนุนและการคัดค้าน ( Pro-con essay )
          
      4.  การเขียนบรรยาย ( Descriptive) เป็นข้อเขียนที่มีจุดประสงค์ที่จะบรรยายถึง บุคคล  สถานที่  หรือเหตุการณ์  จนผู้อ่านมีภาพของสิ่งที่บรรยายนั้นอยู่ในใจ
           
       5.  การวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียน ( Response  to  literature ) เป็นข้อเขียนที่กล่าวถึงการสำรวจ  ตรวจสอบ  เกี่ยวกับแก่นของเรื่อง ( theme ) โครงเรื่อง ( plot ) ตัวละคร และด้านอื่นๆของบทในหนังสือ หนังสือทั้งเล่ม  หรือเรื่องที่อ่าน  ประกอบด้วย
              5.1  การบรรยายสั้นๆเกี่ยวกับตัวละคร ( Character  sketch )
              5.2  การสรุปโครงเรื่อง ( Plot  summary )
              5.3  การวิเคราะห์แก่นของเรื่อง ( Theme  analysis )



ต่อไปก็จะเป็นเทคนิคของการฝึกเขียนการเขียนให้มีประสิทธิภาพ 

1. ยิ่งอ่านมากเท่าไร ยิ่งได้มากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งแบ่งปัน Essay ของตัวเองให้กับผู้อื่น ยิ่งได้ความรู้มากขึ้น เพียงแค่เริ่มต้นจากการเรียนรู้จากผู้อื่น การอ่าน Essay ของนักเขียนคนอื่นนั้นจะช่วยให้คุณพัฒนาและสามารถเขียนได้ในแบบของคุณ เพียงแค่อ่านให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนหรือจากบทเรียนในห้อง ในทุกๆหัวข้อ เพื่อให้รู้แนวทางและรูปแบบในการเขียน ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านนั้นสามารถจดจำโครงสร้างและเขียน Essay ได้ในรูปแบบของตัวเองได้ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเชิงวิเคราะห์ หรือเขียนเชิงให้เหตุผล การอ่านนั้นจะต้องคำนึงถึงหัวข้อหลักๆ เช่น คุณชอบบทความนี้หรือไม่ บทความนี้มีความน่าสนใจหรือไม่ บทความนี้ได้มีการยกตัวอย่างพร้อมอ้างอิงหรือไม่ โครงสร้างในการเขียนนั้นมีความน่าสนใจและแปลกใหม่เพียงใด เป็นต้น และยิ่งไปกว่านั้นบทความต่างๆ จากหนังสือพิมพ์ จะช่วยให้เพิ่มทักษะในการเขียนรูปแบบใหม่ๆ เพียงแค่สังเกตการหลักการเขียน พร้อมทั้งเหตุผลและข้อมูลอ้างอิงที่นักเขียนใช้ในการเขียนบทความนั้นๆ จะช่วยให้คุณสามารถพัฒนาการเขียน Essay ของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. ใช้คำศัพท์ใหม่ๆ และใช้ให้ถูกต้อง
คำศัพท์ที่ดีและเหมาะสม มักจะนำพาคะแนนดีมาด้วย Essay ที่ดีนั้นจะต้องใช้ศัพท์ที่น้อย แต่สามารถอธิบายได้ทั้งหมด การเขียนให้ข้อมูลต่างๆ จะต้อง ตรงประเด็นและเข้าใจง่าย เพราะทั้งผู้เขียนและคนให้คะแนนนั้น มีเวลาจำกัดในการอ่านและเขียน ดังนั้น การเขียนที่ดีไม่ควรจะยาวมาก สามารถอธิบายข้อมูลทั้งหมดได้ภายในไม่กี่ประโยค โดยศัพท์ทางการศึกษาที่สามารถบรรยายความหมายของทั้งประโยคนั้น จะค่อนข้างยาก แต่จะทำให้คะแนนในการเขียนเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน และยังสามารถทำให้ Essay นั้นน่าอ่านมากขึ้นอีกด้วย

3. คำศัพท์ที่แปลกใหม่ในการเชื่อมประโยค
หลีกเลี่ยงการเขียนซ้ำซาก โดยการเขียนศัพท์เดิมๆ ตลอดเวลา เพิ่มความหลากหลายในการเขียนคำศัพท์เพื่อเชื่อมประโยคนั้น จะทำให้ essay น่าอ่านมากยิ่งขึ้น เช่น “moreover”, “furthermore” และ “however” ซึ่งคำศัพท์เหล่านั้นจะทำให้การแสดงความคิดเหตุและการวิเคราะห์น่าอ่านมากขึ้น

4. วางแผนการเขียน essay
เมื่อทราบหัวข้อในการเขียน Essay แล้ว ขั้นตอนแรก คือ การจัดระบบความคิด กำหนดกรอบเนื้อหา โดยต้องตัดสินใจว่าจะพูดเกี่ยวกับอะไรบ้าง และพูดอย่างไร โดยเนื้อหาที่คิดว่าจะพูดเหล่านั้น ต้องไปด้วยกันได้และไม่หลงประเด็นออกนอกเรื่องและลำดับความคิดเห็นที่จะเขียน เพื่อให้การเขียนนั้นง่ายขึ้นและสั้น ได้ใจความ พร้อมทั้งสรุปได้อย่างสวยงาม

5. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้อื่น
ใน essay ของคุณนั้นควรจะมีการใส่ความคิดเห็น หรือ คำพูดของผู้อื่นพร้อมกับแหล่งที่มาเกี่ยวกับหัวข้อที่คุณต้องการเขียน ซึ่งจะเป็นการโชว์ความสามารถในความรู้ของผู้เขียน ไม่ว่าจะเป็นความเห็นทาง ด้านเดียวกับทางนักเขียน หรือ ด้านตรงข้ามก็ตาม เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าคนคิดอย่างเราหรือไม่ แต่เราสามารถโชว์ความคิดในแบบของเรา พร้อมคำอ้างอิง หรือหลักฐานได้แต่อย่าอ้างอิงคำพูดผู้อื่นเยอะมากไป เพราะจะทำให้เหมือนว่าผู้เขียนไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง แต่สำหรับการอ้างอิงในสิ่งที่ตัวเองไม่เห็นด้วยนั้น สามารถทำได้เช่นเดียวกัน เพราะ จะทำให้เราหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงชอบ และไม่ชอบ ในแบบฉบับของตัวเองและยังทำให้โชว์ ศักยภาพในการวิเคราะห์เช่นเดียวกัน

6. ไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอนและการเล่าเรื่อง
โครงสร้างประโยคที่ซับซ้อน ทำให้เห็นถึงความแตกต่างในการเขียนและวิธีการที่ชาญฉลาดในการเล่าเรื่อง พร้อมทั้งยังทำให้ essay ของคุณนั้นเข้าใจง่ายเช่นเดียวกัน การใช้โครงสร้างประโยคที่หลากหลาย ไม่ว่าจะสั้น หรือยาว นั้นทำให้การอ่านไม่น่าเบื่อและไม่ยากเกินไปที่จะอ่าน แต่หลักไวยากรณ์ที่ผิดนั้น จะทำให้ Essay นั้นอ่านยากขึ้นไปอีก ดังนั้น ควรจะตรวจเช็คการเขียนทุกครั้งหลังจากเขียนเสร็จ


ในด้านการเขียน ให้เรียนรู้การเขียนสะกดตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำและรูปแบบต่างๆของการเขียน ซึ่งรวมทั้งการเขียนเรียงความ ย่อความ รายงานชนิดต่างๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์และเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยโครงสร้างต่อไปนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้เขียนได้จริงกับทุก essay และเป็นพื้นฐานการเขียน essay ที่สามารถเอาไป adapt ใช้ได้กับการเขียน essay ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นประเภท cause and effect essay, comparison and contrast essay, หรือ argumentary essay ซึ่งแต่ละประเภท จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป การเขียน Essay ควรมีการวางแผนการเขียน หรือมี outline ที่ดี ก่อนจะลงมือเขียนจริงเสมอ โดยเราต้องค่อยๆ ตีโจทย์ให้แตก และระดมความคิดของตัวเอง (brainstorming) อย่างรอบคอบ ว่าจะออกแบบอย่างไรให้ essay มีประสิทธิภาพ ถ้าเรายอมเสียเวลาทำ outline ให้ออกมาดีๆ มันจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะจะช่วยให้เราเขียนจริงได้เร็วขึ้น และทำให้ essay ประสบความสำเร็จมากกว่า essay ที่ปราศจากการวางโครง



หลักการเขียน Essay

1. Planning : เมื่อทราบหัวข้อในการเขียน Essay แล้ว ขั้นตอนแรก คือ การจัดระบบความคิด
กำหนดกรอบเนื้อหา โดยต้องตัดสินใจว่าจะพูดเกี่ยวกับอะไรบ้าง และพูดอย่างไร โดยเนื้อหา
ที่คิดว่าจะพูดเหล่านั้น ต้องไปด้วยกันได้และไม่หลงประเด็นออกนอกเรื่อง

2. Drafting : ขั้นตอนที่สอง ต้องนำกรอบเนื้อหาที่ตัดสินใจว่าจะเขียนจากในข้อ 1 มาลองร่างดู
ให้เกิดเป็นเค้าโครงคร่าวๆของ Essay ขึ้น โดยมีการเรียงลำดับให้เค้าโครงเนื้อหาเหล่านั้นดู
กลมกลืนลื่นไหล ไม่กระโดดไปกระโดดมา

3. Writing : ขั้นตอนที่สามอันสำคัญยิ่ง คือ การลงมือเขียน Essay ตามที่ได้ร่างเอาไว้
ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนต่างๆของ Essay จะกล่าวไว้ในหัวข้อถัดไป

4. Editing : ขั้นตอนที่สี่ เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าขั้นตอนที่สาม
เนื่องจากเป็นขั้นตอนของการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ตรวจทานให้ Essay ที่เราเขียนมีความสมบูรณ์มากที่สุด



สิ่งที่ต้องตรวจแก้ในขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน Essay

1. เนื้อหาน่าสนใจ อ่านง่าย อ่านเข้าใจ ไม่หลงประเด็น ไม่ออกนอกเรื่อง
2. การเรียงลำดับประโยค การเชื่อมประโยคกลมกลืนลื่นไหลและเหมาะสม ไม่กระโดด ไม่สะดุด
3. ใช้ Vocabulary เหมาะสมกับประโยคและเนื้อหาโดยรวม ไม่ใช้คำผิดระดับ เช่น การนำ Vocabulary แบบเป็นทางการ มาใช้ใน Essay ที่พูดเกี่ยวกับเรื่องสบายๆเป็นกันเอง
4. ใช้ Grammar ถูกต้อง โดยตรวจเช็คการใช้ Tense, Subject and Verb Agreement, Article และ Spelling ให้ถูกต้องตามหลักการ
5. อย่าลืมอ้างอิงแหล่งที่มาเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ให้ข้อมูลด้วย


          หากเราอยากจะฝึกฝนการเขียนจะต้องเริ่มจากการเขียนทุกวัน ให้เริ่มจากเรื่องของตัวเองในรูปแบบของไดอารี่นี่แหละ ง่ายและให้ผลดีที่สุด จากวันแรกๆ ที่คุณเขียนไม่ค่อยเข้าที่เข้าทาง คุณลองเขียนสักประมาณหนึ่งเดือน พอย้อนกลับมาอ่านคุณจะเห็นการพัฒนาของตัวเองอย่างชัดเจน ตรงไหนที่เป็นจุดอ่อน ตรงไหนเป็นจุดแข็ง คุณก็สามารถเรียนรู้งานเขียนที่ดีได้จากข้อผิดพลาดของตัวเอง 
เพราะการเขียนที่ดีเริ่มต้นจากการอ่าน โดยเริ่มจากการอ่านสิ่งที่คุณอยากอ่านนั่นแหละดีที่สุด อยากอ่านนิตยสารก็อ่านไปเลย แต่ลองเลือกหัวข้อที่น่าสนใจดูบ้าง หรือไม่ก็สะกดจิตให้ตัวเองอ่านให้ครบทั้งเล่มให้ได้ คุณจะได้แยกประเภทได้ว่า การเขียนลักษณะไหนที่เหมาะกับเรื่องที่คุณต้องการนำเสนอ จากนั้นก็ควรเพิ่มระดับไปที่หนังสือที่ตีความยากขึ้นหรือลองไปอ่านผลงานของผู้อื่น ก็ลองไปศึกษาข้อมูลมาเลย ลองดูว่าเขามักจะเริ่มต้นจากอะไร เขามีเทคนิคการเขียนตอนไหน เวลาไหนที่จะเขียนได้ดีที่สุด เวลาไหนที่จะคิดออกมากที่สุด สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ และสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับการเขียนของคุณได้เสมอและก่อนคุณจะเขียนทุกครั้ง คุณต้องรู้ก่อนว่าผู้ที่จะอ่านเรื่องราวที่คุณเขียนนั้นคือใคร อายุประมาณเท่าไร มีพื้นฐานในเรื่องนั้นๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วหรือเปล่า อย่าลืมที่จะศึกษากลุ่มเป้าหมายของคุณให้ดี ที่สำคัญมันจะช่วยให้คุณคิดเรื่องที่จะนำมาเขียนได้ง่ายขึ้นด้วย หลังจากคุณทำสิ่งที่เราแนะนำมาข้างต้นเป็นประจำแล้ว สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาทักษะนี้เลยก็คือ การท้าทายความสามารถของตัวเอง เคยเขียนวันละหน้า ก็เพิ่มเป็นวันละสองหน้า เขียนไดอารี่เล่าเรื่องตัวเองธรรมดา ก็เปลี่ยนเป็นนิยาย หรือเป็นเรื่องที่วิชาการขึ้น แล้วมาเช็คตัวเองว่าคุณสามารถทำเรื่องต่างๆ เหล่านั้นได้ดีไหม คุณสามารถไปได้ไกลกว่าแค่เขียนไดอารี่หรือเปล่า
และหัวใจสำคัญในการฝึกการเขียนก็คือ ห้ามท้อ อย่าเพิ่งล้มเลิกความตั้งใจที่จะเขียนหนังสือให้ดีขึ้น อยากจะเก่งก็ต้องสู้ เอาชนะตัวเองให้ได้ เขียนไปเถอะ ถึงมันจะยังอ่านไม่เข้าใจ ทำเป็นประจำไม่เก่งขึ้นก็ให้มันรู้ไปว่าคนที่แน่วแน่และตั้งใจจะไม่สามารถเอาชนะสิ่งที่ดูเหมือนจะยากได้ ขอแค่มีความตั้งใจ และหมั่นฝึกฝนก็พอ .










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น