วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การแปลข่าว




                                      การแปลข่าว


                ข่าว จะประกอบด้วย หัวข่าว และตัวข่าว ซึ่งหัวข่าวจะเปรียบได้กับชื่อหัวข้อ หรือชื่อเรื่องของงานเขียนอื่นๆ ส่วนตัวข่าวมาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยเนื้อข่าวโดยย่อ และที่มาของข่าว โดยทั่วไปมักจะอยู่ในย่อหน้าเดียว
ส่วนที่ 2 คือรายละเอียดของข่าว ซึ่งอาจจะมีมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้




                ข่าวถือว่าเป็นงานเขียนประเภทอรรถสาร ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยจะใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะในเรื่องของคำศัพท์และโครงสร้างของคำและประโยค นอกจากนี้ข่าวยังเป็นงานเขียนสำหรับผู้อ่านที่มีภูมิหลังทั้งด้านความเป็นอยู่ ด้านสติปัญญา ทัศนคติและการศึกษาที่แตกต่างกัน โดยการแปลข่าวจึงมีลักษณะเป็นการแปลแบบเอาความ (Free translation)

การแปลหัวข่าวภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
สำหรับการแปลข่าวภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ แปลจะต้องใช้ลักษณะภาษาของการเขียนหัวข่าวภาษาอังกฤษ และเมื่อจะแปลข่าวเป็นภาษาไทย ผู้แปลจะต้องใช้ลักษณะภาษาของการเขียนหัวข่าวภาษาไทย

สิ่งที่ผู้แปลจะต้องคำนึงถึงในการแปลหัวข่าว
1.        ลักษณะของภาษาที่ถูกต้อง คือ โครงสร้างและคำศัพท์
2.       ความสั้นยาวของหัวข่าว ถ้าเป็นการแปลหัวข่าวเพื่อนำลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวัน เนื้อที่ของกระดาษจะเป็นตัวกำหนดความสั้นยาว แต่ถ้าเป็นการรายงานข่าว เพื่ออ่านทางวิทยุหรือโทรทัศน์ เวลาจะเป็นตัวกำหนด

โครงสร้างของหัวข่าวภาษาไทย จะมี 2 รูปแบบ คือ
1.       นามวลี ซึ่งโครงสร้างแบบนี้จะมีน้อย
เช่น สภาพตลาดหุ้นวอลสตรีทวันนี้ (ข่าวพาณิชย์)
2.       ประโยค  ซึ่งโครงสร้างของประโยคที่เป็นหัวข่าวจะมี 5 ประเภท
2.1   + ประธาน + กริยา + กรรม ซึ่งภาคที่เป็นกรรมอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกริยาว่าต้องการกรรมหรือไม่ เช่น
น้ำจะท่วมกรุง                                                                                                                        (ไทยรัฐ)
นักสำรวจพลอยเริ่มถอยจากเขาพลอย                                               (เดลินิวส์)



2.2 + ประธาน + กริยา + กริยา + กรรม กริยาทั้งสองตัวเป็นกริยาสำคัญของประโยค ถือว่าเป็นการกระทำของประธานตัวเดียวกัน อาจจะมีเครื่องหมาย ระหว่างกริยาสองตัวก็ได้

เช่น น้ำจะท่วมกรุง                                                                                         (ไทยรัฐ)
                            นักสำรวจพลอยเริ่มถอยจากเขาพลอย                                                   (เดลินิวส์)

2.3   + กริยา + กรรม ในกรณีที่ประธานไม่สำคัญ เพราะหัวข่าวได้มุ่งบอกสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผู้อ่านสามารถเดาได้จากหัวข้อข่าวว่าประธานคือใคร
เช่น พบแหล่งทับทิมมูลค่ามหาศาลที่ภาคเหนือ                                          (ไทยรัฐ)
สั่งเตรียมพร้อมตำรวจชายแดนเต็มอัตราศึก                                                              (ไทยรัฐ)

2.4   ประโยคเดี่ยวเรียงกัน 2 หรือ 3 ประโยค
เช่น ข้าวเปลือกราคาตก เร่งตั้งมูลภัณฑ์กันชนแก้  (มติชน)
ตื่นทองถูก เข้าคิ้วซื้อ วุ่นทั้งกรุง         (ไทยรัฐ)

2.5   ขึ้นต้นหัวข่าวด้วยคำว่า คาด , ว่า , ว่ากันว่า และตามด้วยประโยค
เช่น ว่าพวกลักพาองคมนตรีสเปนเป็นฝ่ายขวา
คาดปัญหาน้ำมันเข้าที่ประชุม ค.. วันนี้

โครงสร้างหัวข่าวภาษาอังกฤษ จะไม่ใช้เครื่องหมายที่บ่งบอกว่าจบประโยค (.) หรือเครื่องคำถามและเครื่องหมายตกใจ

นามวลี เป็นโครงสร้างที่ใช้มากที่สุด ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้ (ตัวอย่างมาจากบางกอกโพสต์)
1.       + N + V-ing P
-          Exports gaining speed
-          IFCT seeking yen loan in Japan
2.       + N + V-ed P รูป Ved P เป็นรูปที่ตัดมาจากกริยารูปกรรมวาจก ที่บอกว่าประธานถูกกระทำ
-          Thai held in Malaysia
-          Govt troop encircleed
3.       + N + Prep.P
-          Major cuts in budget
-          Arms catch in Sonhkhla
4.       + N + to V.P. รูป V.P.เป็นรูปที่ตัดมาจากรูปเดิมของ Verb to be (is/am/are) ซึ่งบอกว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้น
-          New fund to ease loan problem
-          Cement export to begin this month


N หมายถึง คำนามที่เป็นคำที่สำคัญที่สุดของวลี เป็นคำที่บอกว่าวลีนี้พูดถึงเรื่องอะไร
V-ing P หมายถึง Present Participial Phrase
V-ed P หมายถึง Past Participial Phrase
to V P หมายถึง Infinitive Phrase
Prep.P หมายถึง Prepositional Phrase


ประโยคเดี่ยว จะประกอบด้วยภาคประธาน1ตัวและภาคแสดง1ตัว ลักษณะของประโยคจะแตกต่างจากภาษาเขียนธรรมดา เพราะกริยาของประโยคจะใช้อยู่ในรูปปัจจุบันกาล (Present Tense) และ a/an/the/’s อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ เมื่อจบประโยคก็ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย (.)
เช่น Son Sann may lose Thai backing
Hopes collapse for Kampuchean united front

ประโยคที่เอาคำพูดของผู้อื่น ห้ามเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมใดๆ ซึ่งจะใช้ในรูปแบบดังต่อไปนี้
-          Borg – “I’ll quit after Wimbledon”
-          Borg : “I’ll quit after Wimbledon”
-          “I’ll quit after Wimbledon” - Borg
-          “I’ll quit after Wimbledon”, Borg
-          “I’ll quit after Wimbledon”, says Borg
*** เครื่องหมาย “” สามารถตัดออกไปได้ ***

    

การแปลหัวข่าวภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ผู้แปลไม่จำเป็นต้องนำโรงสร้างของหัวข่าวในต้นฉบับมาใช้ในฉบับแปล ผู้แปลจะต้องจับใจความสำคัญให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร จากหัวข่าวต้นฉบับ แล้วนำมาแปลโดยใช้โครงสร้างของหัวข่าวฉบับแบบแปล
การเปรียบเทียบของหัวข่าวภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 


1 ภาษาอังกฤษ { + N + Ved P } , { + N + V + N }                   ภาษาไทย : + กริยา +คำนาม
เช่น
-         Border Police placed on full alert   สั่งเตรียมพร้อมตำรวจชายแดนเต็มอัตราศึก
-        
Forger gets 14 years ให้จำคุกนักทำแบ็งค์ปลอม 14 ปี
2 ภาษาอังกฤษ { + N + V-ing P } , {+ N + to V.P. }                        ภาษาไทย : + คำนาม + กริยา  + คำนาม
เช่น
-          Japan willing to buy more rice  ญี่ปุ่นจะซื้อข่าวเพิ่ม
-          8 robbers attacking gun store - - killing a cop 8 โจรบุกปล้นร้านเพชร ยิงตำรวจตายหนึ่ง
-          Kukrit to return to politics   คึกฤทธิ์จะกลับเข้าเล่นการเมืองอีก

3
 ภาษาอังกฤษ { N + V + N }                                                                     ภาษาไทย : + คำนาม + กริยา   คำนาม
เช่น
-         Planter, millers laud govert’s sugar dicision  ชาวไร่อ้อย เจ้าของโรงงานน้ำตาลพอใจนโยบายน้ำตาลของรัฐ
-         Dockyard workers stage work halt คนงานกรมอู่นับร้อยไม่ยอมเข้าทำงาน

4 ภาษาไทย  ว่า                                                                              expected
                    คาดว่า + ประโยค                            N +                      said + to V
                   ว่ากันว่า                                                                        believed
เช่น
-         Gold prices expected to go down คาดว่าราคาทองจะเริ่มลด
-         Teenagers of 18 considered not good as policemen ว่าวันรุ่น18ปีไม่เหมาะเป็นตำรวจ

การแปลตัวข่าว มีหลักดังต่อไปนี้
1 โครงสร้างของข่าว
โครงสร้างของตัวข่าวของภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีส่วนที่เหมือนกัน คือ ย่อหน้าที่1 จะเป็นการสรุปข่าวโดยย่อ และบอกแหล่งที่มา ส่วนย่อหน้าถัดไปจะเป็นรายละเอียด แต่การแปลข่าวจะมีข้อจำกัดในเนื้อที่ของหน้ากระดาษหรือช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นความยาวของฉบับแปลอาจจะน้อยกว่าต้นฉบับก็ได้
2 รูปแบบประโยคและการใช้คำกริยา
  ในการแปลข่าวเป็นภาษาอังกฤษควรใช้รูปประโยคที่สั้น กระชับ รัดกุม และไม่มีส่วนขยายที่ซับซ้อนเกินไป ส่วนภาคแสดงของประโยคในภาษาอังกฤษให้ใช้เป็นอดีตกาล (Past Tense)

3 การใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะในการรายงานข่าวหนังสือพิมพ์
คำศัพท์ที่ใช้รายงานข่าวหนังสือพิมพ์จะมีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นคำที่สั้น ถ้ายาวก็จะย่อให้สั้นลง กรณีที่ใช้คำที่มีความหมายแฝง (connotative) ที่ทำให้เกิดความรุนแรงและตื่นเต้น ในการแปลข่าวจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งนั้น ผู้แปลจะต้องรู้ความหมายของศัพท์เฉพาะและต้องใช้ศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการรายงานข่าวในฉบับแปลด้วย




\














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น