Practice vocabulary
ทุกวันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจําวันเรา เด็กทุกวันนี้ก็เรียนรู้
ภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นอนุบาล เรียนไปเรื่อย ๆทั้ง grammar และ
Conversation เด็กเหล่านี้โชคดีที่เกิดมา
พร้อมยุคสมัยที่การเรียนการสอนพัฒนาไปไกล และการสื่อสารที่รวดเร็ว สามารถเรียนรู้ได้ง่ายจากสื่อต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น internet, movie, music, newspaper ที่หาได้ง่ายๆ
แต่ถึงใครบางคนที่ไม่มีโอกาสได้เรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล
ก็ ยังสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ในชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะศัพท์ต่างๆ เพราะคำศัพท์เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของภาษาอังกฤษ
ซึ่งนักเรียนจะต้องเตรียมคำศัพท์เพื่อให้ทันกับโลกปัจจุบัน
ความท้าทายของการสอนคำศัพท์คือการสร้างแผนการสอนที่มีทั้งประสิทธิภาพและความบันเทิง เช่น ที่เห็นได้ทุกวัน เช่น หยิบถ้วยชง กาแฟ
ดูที่เครื่องทําน้ำร้อน หรือกาต้มน้ำ ก็จะเห็นภาษาอังกฤษเขียนไว้ เราก็อ่านและจดจํา
ก็ได้คําศัพท์ไป แล้ว ตั้งหม้อข้าวหุงข้าว
กดปุ่ม เราก็ได้ภาษาอังกฤษไปล่ะหลายศัพท์
ไปซักผ้า กดปุ่มซักผ้า ซึ่งมีปุ่มเยอะแยะ มากมาย อ่านไม่ออกก็ถือ dictionary
ไปเปิดดูด้วย สงสัยศัพท์ไหนเปิดดู เราก็ได้ภาษาไปแล้ว
นี่เป็นการแนะนําการเรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจําวัน ซึ่งเราเกี่ยวข้องด้วยทุกวันอย่างเลี่ยง ไม่ได้ โดยเราจะมาเรียนภาษาอังกฤษจากสิ่งที่พบเห็น เพราะคนที่รู้ภาษาอังกฤษมากกว่า จะสามารถก้าวหน้าไปสู่ตำแหน่งระดับสูง หรือศึกษาต่อระดับปริญญาโทหรือเอกได้ง่ายกว่ามาก หรือบางคนอาจจะค้นพบโอกาสทางธุรกิจจากการอ่านเว็บไซต์ หรือวารสารจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จเพราะทราบโอกาสกว้างขวางกว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ความแตกต่างด้านรายได้ของแต่ละบุคคล จะอยู่ที่ 5 ถึง 10 ล้านบาทขึ้นไปตลอดอายุการทำงาน ยิ่งคนที่ถือได้ว่า เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ รู้ศัพท์ 10,000 คำขึ้นไป ก็จะสามารถอ่านนิตยสารของเจ้าของภาษา เช่น Time, Fortune เว็บไซต์ เช่น Business 2 ดู CNN, CNBC เข้าใจได้ดี ก็จะสามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง หรือทำธุรกิจติดต่อกับต่างประเทศได้ประสบความสำเร็จ และสามารถทำรายได้ได้กว่า 100,000 บาทหรือหลายแสนบาทต่อเดือน ขณะที่อีกคนมีความสามารถด้านอื่น ๆ เทียบเท่ากัน แต่มีความรู้ภาษาขั้นปานกลางเท่านั้น อาจจะมีรายได้ตันอยู่ที่ 50,000 บาทต่อเดือน เพราะข้อจำกัดด้านภาษา ความแตกต่างของสองคนนี้สูงถึงกว่า 50,000 บาทต่อเดือน หรือ 600,000 บาทต่อปี หากสองคนนี้มีรายได้ระดับสูง ตั้งแต่อายุ 35-55 ปี ความแตกต่างตลอดอายุการทำงาน 20 ปีนี้ ก็จะอยู่ที่ 12,000,000 บาทขึ้นไป เพียงรู้ศัพท์ต่างกันไม่กี่พันคำ รายได้ก็ต่างกันเท่ากับมูลค่าของบ้านหรูหลังหนึ่งเลยทีเดียว
นี่เป็นการแนะนําการเรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษในชีวิตประจําวัน ซึ่งเราเกี่ยวข้องด้วยทุกวันอย่างเลี่ยง ไม่ได้ โดยเราจะมาเรียนภาษาอังกฤษจากสิ่งที่พบเห็น เพราะคนที่รู้ภาษาอังกฤษมากกว่า จะสามารถก้าวหน้าไปสู่ตำแหน่งระดับสูง หรือศึกษาต่อระดับปริญญาโทหรือเอกได้ง่ายกว่ามาก หรือบางคนอาจจะค้นพบโอกาสทางธุรกิจจากการอ่านเว็บไซต์ หรือวารสารจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จเพราะทราบโอกาสกว้างขวางกว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ความแตกต่างด้านรายได้ของแต่ละบุคคล จะอยู่ที่ 5 ถึง 10 ล้านบาทขึ้นไปตลอดอายุการทำงาน ยิ่งคนที่ถือได้ว่า เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ รู้ศัพท์ 10,000 คำขึ้นไป ก็จะสามารถอ่านนิตยสารของเจ้าของภาษา เช่น Time, Fortune เว็บไซต์ เช่น Business 2 ดู CNN, CNBC เข้าใจได้ดี ก็จะสามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง หรือทำธุรกิจติดต่อกับต่างประเทศได้ประสบความสำเร็จ และสามารถทำรายได้ได้กว่า 100,000 บาทหรือหลายแสนบาทต่อเดือน ขณะที่อีกคนมีความสามารถด้านอื่น ๆ เทียบเท่ากัน แต่มีความรู้ภาษาขั้นปานกลางเท่านั้น อาจจะมีรายได้ตันอยู่ที่ 50,000 บาทต่อเดือน เพราะข้อจำกัดด้านภาษา ความแตกต่างของสองคนนี้สูงถึงกว่า 50,000 บาทต่อเดือน หรือ 600,000 บาทต่อปี หากสองคนนี้มีรายได้ระดับสูง ตั้งแต่อายุ 35-55 ปี ความแตกต่างตลอดอายุการทำงาน 20 ปีนี้ ก็จะอยู่ที่ 12,000,000 บาทขึ้นไป เพียงรู้ศัพท์ต่างกันไม่กี่พันคำ รายได้ก็ต่างกันเท่ากับมูลค่าของบ้านหรูหลังหนึ่งเลยทีเดียว
ศัพท์บางคำที่เราเรียนรู้ไป
เป็นคำที่แทบไม่ได้ใช้เลยในชีวิตจริง
คำเหล่านี้เป็นคำที่ไม่คุ้มค่าที่จะเรียนในตอนต้น เพราะว่า ทำให้เราก้าวหน้าได้ช้า
และเมื่อไม่ได้ใช้นาน ๆ ก็อาจจะลืมไปเลย การเรียนรู้ควรเรียงตามลำดับความสำคัญหรือความถี่
ทีคำศัพท์นั้นปรากฎขึ้นในการใช้งาน เช่น ศัพท์คำว่า particular (เฉพาะเจาะจง)
แม้ว่าอาจจะดูยาวอยู่บ้าง แต่เป็นคำที่ปรากฎบ่อยมากในข้อความภาษาอังกฤษ หรือคำว่า yeah
(ใช่) และประโยค What's up? (เป็นไงบ้าง) ที่ชาวต่างชาติใช้บ่อยมากในชีวิตจริง
แต่มีตำราภาษาอังกฤษไม่กี่เล่มที่กล่าวถึง การศึกษาในสิ่งที่จำเป็นก่อน
ดังตัวอย่างข้างต้น ผู้เรียนจะพัฒนาได้เร็วกว่าการไปจำศัพท์ที่ดูเหมือนง่าย
แต่ไม่ค่อยได้ใช้งานจริง การพัฒนาความเข้าใจ ที่ไม่ใช่แค่ความจำ คำศัพท์จำเป็นต้องเห็นคำศัพท์นั้นในหลายแง่มุม
ทั้งทราบคำแปล เห็นตัวอย่างประโยค และอ่านพบคำศัพท์นั้นในบริบทการใช้งานจริง
ตัวอย่างเช่น คำว่า bored (รู้สึกเบื่อ) กับ boring (น่าเบื่อ)
โดยทั่วไปผู้เรียนจะสับสนแม้จะอ่านคำแปลแล้วก็ตาม จึงควรเห็นจากตัวอย่างประโยคว่า He's
bored. หมายถึง เขาเบื่อ ขณะที่ He's boring. หมายถึง
เขาเป็นคนน่าเบื่อ ซึ่งความหมายแตกต่างกันมาก นอกจากนั้น
การจะจำคำศัพท์ได้จริง ๆ ยังต้องทบทวนอย่างต่อเนื่องซ้ำถึง 5-16
ครั้งจนกว่าคำศัพท์นั้นจะไปอยู่ในระบบความจำระยะยาว (long-term memory) หากเราพบคำศัพท์แล้วไม่ทบทวนซ้ำภายในระยะเวลาหนึ่ง
ก็จะต้องตั้งต้นใหม่
ในระดับเริ่มต้น (Beginner) ผู้เรียนยังไม่รู้คำศัพท์มากพอ
การสั่งสมคำศัพท์ควรจะเน้นที่การภาพประกอบร่วมกับคำแปล แล้วทวนซ้ำอย่างต่อเนื่อง
โดยอาจใช้การ์ดคำศัพท์หรือซอฟต์แวร์ช่วย ที่สำคัญ คือ
ผู้เรียนควรจะเห็นตัวอย่างประโยคประกอบด้วย
เพื่อจะทราบว่าคำศัพท์นั้นใช้งานอย่างไร นอกจากนี้การอ่านบทสนทนาแบบง่าย ๆ ในตำราเรียน
ก็จะช่วยได้มาก เมื่อผู้เรียนเริ่มเข้าสู่ระดับกลางล่าง (Lower-Intermediate)
ผู้เรียนจะทราบศัพท์มากเพียงพอที่จะอ่านเนื้อหาที่เป็นชิ้นเป็นอันมากขึ้น
ผู้เรียนควรฝึกอ่านบทสนทนาที่ยาวขึ้น
พร้อมด้วยเรื่องสั้นที่แต่งขึ้นเพื่อการเรียนรู้ภาษาด้วยเฉพาะ (graded
readers) ซึ่งจะใช้คำศัพท์ที่จำกัด
ทำให้ผู้ที่ยังไม่เก่งภาษานั้นก็สามารถอ่านได้เข้าใจ
สำหรับในระดับกลางสูง (Upper-Intermediate)
วิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการเรียนรู้คำศัพท์ คือ
การอ่านให้มากและต่อเนื่อง และเมื่อพบคำศัพท์ที่ไม่รู้บ่อย ๆ ก็เปิดพจนานุกรม
หากอ่านมากเพียงพอ (ประมาณ 100-200 หน้าต่อสัปดาห์)
ก็จะสามารถจำศัพท์สำคัญเหล่านั้นได้ในระยะยาว แต่หากอ่านไม่มากขนาดนั้น
ก็ควรจดคำศัพท์ใหม่ที่พบซ้ำ ๆ เอาไว้ เพื่อใช้ในการทบทวนโดยเฉพาะ แต่วิธีนี้ไม่ได้ผลดีนักกับการเรียนรู้คำศัพท์ระดับสูง
(Advanced) (คำที่ 6000
ขึ้นไป) เพราะคำศัพท์เหล่านั้นปรากฏน้อยกว่า 1
ครั้งในข้อความ 100,000 คำ (หรือ 300
หน้า)
หากการจะจดจำคำศัพท์ได้ในหน่วยความจำระยะยาวจำเป็นต้องพบคำศัพท์นั้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ
1 ครั้ง
การจดจำคำศัพท์ระดับสูงเหล่านี้จากการอ่านเพียงอย่างเดียวจะยากมาก เพราะจำเป็นต้องอ่านหนังสือภาษาอังกฤษอย่างน้อยสัปดาห์ละ
300 หน้า
หรือมากกว่านั้นถ้าต้องการเรียนรู้คำศัพท์ระดับที่สูงขึ้นไปอีก ดังนั้น
การพัฒนาคำศัพท์ระดับสูงนี้ จึงควรใช้วิธีทบทวนอย่างเป็นระบบร่วมด้วย
ซึ่งอาจใช้การ์ดคำศัพท์หรือซอฟต์แวร์ในการทบทวน การฝึกฝนจากการอ่านเพียงอย่างเดียว
จะก้าวหน้าได้ช้ากว่าผู้ที่ใช้วิธีทบทวนอย่างเป็นระบบร่วมด้วย เพราะฉะนั้นคำศัพท์จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของภาษาทุกภาษา
เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้เพื่อสื่อความหมายถึงความรู้สึกนึกคิด
ความต้องการหรือความรู้ต่าง ๆ ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
การมีความรู้และความสามารถในการใช้คำศัพท์ของบุคคล ๆ หนึ่ง
ถือเป็นปัจจัยหลักที่จะบ่งบอกว่าบุคคลผู้นั้นสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
คำศัพท์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องเรียนรู้และเพิ่มพูนอยู่เสมอ
เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ และคำศัพท์ก็มีความสำคัญในลักษณะเดียวกันในการเรียนภาษาต่างประเทศ
ซึ่งถ้าผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในภาษาใหม่ไม่เพียงพอ
ผู้เรียนก็จะประสบปัญหาในการสื่อความหมายและความต้องการของตนเองในการใช้ภาษาต่างประเทศ
และไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังได้อ่านที่นำเสนอเป็นภาษาต่างประเทศ
ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการสื่อสาร
จากที่ดิฉันได้ศึกษาในเว็บไซต์ www.myvocabularysize.com ซึ่งเว็บไซต์นี้จะเป็นการทดสอบระดับสติปัญญาของเราในด้านของคำศัพท์ว่าเราอยู่ในระดับไหน
มีคำศัพท์มากน้อยเพียงใด
ซึ่งหน้าแรกของเว็บไซต์นี้ก็มีให้เราเลือกว่าสถานภาพของเราคืออะไร ก็จะมีครูผู้สอน
นักเรียนนักศึกษา และนักวิจัย ซึ่งระดับของเราก็คือนักเรียนนักศึกษานั่นเอง
ซึ่งจะมีให้เราได้ทดสอบคำศัพท์ว่าเรารู้แค่ไหน
เขาต้องการให้เรามีคำศัพท์ที่เพิ่มขึ้นและพัฒนาด้านคำศัพท์ของเรา
รวมทั้งยังมีเกมฝึกคำศัพท์อีกด้วย โดยดิฉันจะคลิกที่ Take the vocub test มันก็จะขึ้นให้เลือกใส่ภาษาถิ่นของเรา
ซึ่งก็คือภาษาไทยนั่นเอง จากนั้นก็คลิก OK มันก็จะแสดงข้อแนะนำการใช้มาให้เรา ซึ่งมันจะมี100ข้อและแสดงคำศัพท์พร้อมยกตัวอย่างการใช้มาให้
หากเราไม่เคยพบหรือเห็นคำศัพท์นั่นมาก่อนให้เลือก I don’t know และข้อแนะนำสุดท้ายก็คือ
เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขคำตอบได้
เพราะฉะนั้นเราควรที่จะคิดให้ละเอียดรอบคอบมากที่สุด
เพื่อให้ผลการทดสอบออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด หากเราทำเล่น ๆ ไม่จริงจัง
มันก็เสียเวลา เปล่าประโยชน์และไม่ได้ความรู้ใดๆติดสมองไปเลย
ตัวอย่างเช่น
write:
Please write it here.
o
make something better
o
move to a new place
o
cut into pieces
o
make words on paper
o
I don’t know
ซึ่งนอกจากนี้ดิฉันยังมีเทคนิคที่ใช้ในการฝึกฝนด้านคำศัพท์ เพื่อเพิ่มคลังศัพท์อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในโลกนี้ไม่มีใครแก่เกินเรียน
ไม่ว่าเราจะเพิ่งแตกเนื้อสาวหรือเข้าสู่บั้นปลายชีวิตแล้ว เราก็สวมหน้ากากแห่งผู้รู้ได้เสมอด้วยการเรียนรู้ศัพท์ใหม่
ๆ นิสัยรักการเรียนรู้และฝึกใช้ศัพท์ใหม่ๆ ได้อย่างถูกต้องจะช่วยให้เราสื่อสาร
เขียน และคิดเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
วิธีแรกคือการอ่าน เมื่อเราเรียนจบแล้ว
คุณก็จะไม่ได้เขียนตามคำบอกหรือมีการบ้านที่บังคับให้คุณต้องเรียนรู้ศัพท์ใหม่อีกแล้ว
และก็อาจจะทำให้คุณเลิกอ่านหนังสือไปโดยปริยายด้วย ถ้าคุณอยากเพิ่มคลังศัพท์ในหัว คุณต้องตั้งกฎเกี่ยวกับการอ่านหนังสือขึ้นมาแล้วปฏิบัติตามนั้น โดยเริ่มจากการอ่านหนังสือเล่มใหม่สัปดาห์ละเล่ม
หรืออ่านหนังสือพิมพ์ทุกเช้า เลือกความถี่และระยะเวลาที่เหมาะกับตัวเอง
และจัดเวลาอ่านหนังสือให้อยู่ในตารางชีวิตของเรา
ในหนึ่งสัปดาห์ พยายามอ่านหนังสืออย่างน้อยหนึ่งเล่มและนิตยสารอีกหลาย
ๆ เล่มสม่ำเสมอ เพราะนอกจากคุณจะได้เพิ่มพูนคลังศัพท์แล้ว
คุณยังได้รู้ทั้งเรื่องราวใหม่ ๆ และเรื่องราวที่ผ่านไปแล้วอยู่ตลอดเวลา
ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ของคุณก็จะมากขึ้น และพอมีความรู้มากขึ้น
คุณก็จะกลายเป็นคนฉลาดและรอบรู้ การอ่านวรรณกรรมคลาสสิก.
ท้าทายตัวเองด้วยการอ่านหนังสือให้มากที่สุดเท่าที่เวลาและความชอบจะอำนวย
อ่านงานเขียนคลาสสิก อ่านนิยายทั้งใหม่และเก่า อ่านกวีนิพนธ์หรืองานยาก ๆ
ลองอ่านหนังสือที่ไม่ใช่นิยายและหนังสือเฉพาะทางบ้าง
เพราะนอกจากจะทำให้คุณมีเรื่องใหม่ ๆ มีศัพท์ใหม่ ๆ ให้พูดแล้ว
ยังช่วยเปิดมุมมองวิธีคิดใหม่ ๆ ด้วย รวมทั้งการอ่านพจนานุกรม. ด่ำดิ่งลงไปในห้วงคำศัพท์
อ่านความหมายและคำอธิบายศัพท์ที่คุณไม่รู้ให้หมด สิ่งที่คุณต้องมีคือพจนานุกรมดี ๆ
สักเล่มเพื่อให้การอ่านพจนานุกรมน่าสนใจขึ้น ลองหาซื้อพจนานุกรมที่มีคำอธิบายยาว ๆ
ทั้งที่มาของศัพท์และหลักการใช้
เพราะจะช่วยให้คุณจำศัพท์ได้มากขึ้นและเพลิดเพลินไปกับการอ่านพจนานุกรมมากกว่าเดิมด้วย และการอ่านอรรถาภิธาน.
หาศัพท์ที่คุณใช้บ่อยเพื่อที่จะได้รู้ศัพท์ใหม่ ๆ
ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่คุณใช้ และลองฝึกใช้คำใหม่ ๆ นั้นด้วย
วิธีที่สองคือการตั้งเป้าหมาย.
ถ้าคุณตั้งมั่นแล้วว่าจะพัฒนาคลังศัพฺท์ของตัวเองให้ได้
คุณก็ต้องตั้งเป้าหมายให้ตัวเองด้วย พยายามเรียนรู้ศัพท์ใหม่สัปดาห์ละสามคำ
แล้วลองพูดหรือเขียนโดยใช้คำนั้น ๆ ถ้าคุณตั้งใจจริงแล้วละก็
คุณจะได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่อีกหลายพันคำ แถมยังจำได้และใช้เป็นอีกด้วย
ถ้าคุณไม่สามารถใช้คำได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องแล้วละก็
นั่นหมายความว่าคำนั้นไม่เหมาะจะอยู่ในคลังศัพท์ของคุณ ถ้าศัพท์ใหม่
3 คำต่อสัปดาห์ง่ายเกินไปสำหรับคุณ ลองเพิ่มจำนวนดู เช่นเปลี่ยนจาก 3 คำเป็น 10
คำต่อสัปดาห์ อย่าริเรียนคำใหม่ 20 คำต่อวัน
เพราะมันยากที่จะเอาทุกคำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง
ทำเท่าที่ทำได้และสร้างคลังศัพท์ที่คุณใช้เป็นจริง ๆ จะดีกว่า
การใช้บัตรคำหรือกระดาษ post-it แปะให้ทั่วบ้าน.
ถ้าคุณกำลังสร้างนิสัยเรียนรู้ศัพท์ใหม่ ลองใช้เทคนิคง่าย ๆ
เหมือนตอนที่กำลังเตรียมสอบสิ เขียนศัพท์พร้อมกับความหมายลงใน post-it แล้วแปะไว้เหนือเครื่องชงกาแฟ
เพราะคุณจะได้เห็นศัพท์ขณะชงกาแฟไปด้วย หรือจะติดศัพท์ไว้ที่กระจก เวลาเราแต่งตัวก็จะได้ฝึกท่องไปด้วยหรือตอนดูทีวีหรือทำอย่างอื่นก็อย่าลืมเอาบัตรคำไว้ใกล้
ๆ ตัวแล้วอ่านศัพท์ใหม่ไปด้วย ต้องเรียนรู้ตลอดเวลานะ
การเขียนเยอะ ๆ ถ้าไม่เคยเขียนไดอารี่ก็เขียนซะ หรือไม่ก็เขียนบล็อกก็ได้ การใช้ทักษะการเขียนบ่อย
ๆ จะทำให้คุณนึกศัพท์ดี ๆ ได้เสมอ และการเขียนจดหมายหาเพื่อนเก่าและเล่ารายละเอียดเยอะ
ๆ ถ้าปกติคุณเป็นคนเขียนจดหมายหรืออีเมล์สั้น ๆ และใช้ภาษากันเอง
ลองเปลี่ยนแนวการใช้ภาษาและเขียนให้ยาวขึ้น ค่อย ๆ
ละเมียดละไมเขียนเหมือนตอนเขียนเรียงความส่งครู เลือกใช้คำสวย ๆ ด้วยนะ ลองรับผิดชอบงานที่ต้องใช้ทักษะการเขียนดูบ้าง
ถ้าปกติแล้วคุณมักจะเกี่ยงงานอย่างการเขียนบันทึกข้อความ เขียนอีเมล์ถึงเพื่อนร่วมงานหลาย
ๆ คน หรือเข้าร่วมการอภิปรายกลุ่ม ลองเปลี่ยนนิสัยแล้วเขียนให้มากขึ้น
เขาอาจจะจ้างคุณให้เรียนศัพท์เพิ่มด้วยก็ได้นะ
การใช้คุณศัพท์ที่ถูกต้องและใช้นามให้เจาะจง นักเขียนที่ดีจะพยายามเขียนให้สั้นกระชับและถูกต้อง
เปิดอรรถาภิธานและเลือกคำที่มีความหมายตรงกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อมากที่สุด
อย่าใช้ถึง 3 คำถ้าใช้คำเดียวได้
เพราะประโยชน์ที่แท้จริงของการเรียนรู้ศัพท์ใหม่คือการที่คุณสามารถลดจำนวนคำในประโยคได้
นอกจากนี้การเล่มเกมปริศนาอักษรไขว้หรือเกมทายศัพท์อื่น
ๆ. เกมปริศนาอักษรไขว้คือแหล่งเพิ่มพูนคลังศัพท์ชั้นดี
เพราะคนคิดเกมก็จะต้องไปหาคำแปลก ๆ มาเพื่อให้มันลงล็อกกับตารางพอดี
แถมยังต้องเป็นคำที่คนเล่นรู้สึกสนุกด้วย เกมปริศนาทายศัพท์มีเยอะแยะมากมาย
ไม่ว่าจะเป็น Crossword เกมหาคำที่ซ่อนอยู่ในตัวหนังสือ
หรือเกมที่มีคำกำหนดมาให้แล้วให้เราไล่หา
เกมปริศนาเหล่านี้นอกจากจะเพิ่มคลังศัพท์ในหัวแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะคิดวิเคราะห์อีกด้วย
นอกจากเกมปริศนาแล้ว ยังมีเกมที่เกี่ยวกับการใช้ศัพท์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น Scrabble
ที่ช่วยให้คุณรู้ศัพท์มากขึ้น
รวมทั้งการเรียนภาษาละติน ถึงละตินจะเป็นภาษาที่ตายแล้ว
แต่การรู้ภาษาละตินบ้างเล็กน้อยคือวิธีการเรียนรู้รากศัพท์ภาษาอังกฤษ
และช่วยให้คุณเดาความหมายศัพท์ที่คุณไม่รู้ได้โดยที่คุณไม่ต้องเปิดพจนานุกรม
มีฐานข้อมูลภาษาละตินและหนังสือภาษาละตินมากมาย
การเรียนรู้ภาษาอย่างมีความหมาย คือ
การจัดการเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่ให้ความสำคัญกับความหมายของภาษาเป็นประการแรก
คนที่เรียนภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศได้นั้น นอกจากจะต้องมีความตั้งใจจริงแล้ว
เขาจะต้องเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง หรือได้เรียนด้วย
ในการสอนนั้นข้อมูลที่จะให้กับนักเรียนจะต้องเป็นสิ่งที่นักเรียนรู้และเข้าใจ
การให้นักเรียนฟังข้อความ คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่นักเรียนไม่เข้าใจ
จะไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดเลย ดังนั้น
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องจัดเป็นสถานการณ์การเรียนรู้จริงหรือเหมือนจริงให้กับผู้เรียน
และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
หรือฝึกปฏิบัติกิจกรรมกับเพื่อนได้ ซึ่งในการสอนคำศัพท์ก็เช่นเดียวกัน
ครูจะต้องสร้างสถานการณ์ที่เป็นสถานการณ์ที่ต้องใช้ภาษาจริง
เพื่อนักเรียนจะเข้าใจถึงความหมาย และสามารถใช้คำศัพท์เหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง
พร้อมทั้งได้ฝึกภาษาในสถานการณ์ที่มีโอกาสได้พบจริงในชีวิตประจำวัน
ส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็คือ
การเรียนรู้คำศัพท์ ดังที่ Meara (1999)
ได้เน้นถึงความสำคัญของเรื่องนี้เอาไว้ว่า “Vocabulary is beginning to
occupy a central place in the way people learn a language. Learning words and
their meanings and how they are used is increasingly seen as the key to
learning a language, not just an annoying or irrelevant side activity.” (การเรียนรู้)
คำศัพท์ได้เริ่มกลายเป็นจุดศูนย์กลางของวิธีที่ผู้คนเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้คำ,
ความหมายและการใช้คำ ได้รับการยอมรับสูงขึ้นในฐานะของการเรียนรู้ภาษา
ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมประกอบที่น่ารำคาญหรือไม่เกี่ยวข้อง (กับการเรียนรู้ภาษา)
ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า " ถ้าไม่มีความรู้ด้านไวยากรณ์
เราก็จะสื่อสารได้ไม่มากนัก แต่ถ้าไม่รู้คำศัพท์
เราก็ไม่สามารถจะสื่อความหมายได้เลย" การที่ผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้เรียนต้องมีความรู้ด้านไวยากรณ์และคำศัพท์อย่างสมดุลกัน
เพื่อให้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษน่าสนใจ ซึ่งการสอนคำศัพท์
ที่มีจุดหมายให้ผู้เรียนนำไปสื่อสารได้นั้น ผู้เรียนต้องมีความรู้ด้านคำศัพท์อย่างลึกซึ้งในเรื่องดังต่อไปนี้
การออกเสียง การสะกดคำ การใช้คำศัพท์ร่วมกับคำอื่น
การจดจำได้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน การนำคำศัพท์ไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้
ถูกหลักไวยากรณ์ และเหมาะสมกับสถานการณ์ คำศัพท์ที่ควรนำมาสอนนั้น
ควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จริงในชีวิต คำศัพท์ที่ควรนำมานั้น
ควรเป็นคำศัพท์ที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์และความสนใจของผู้เรียน
และผู้เรียนได้มีโอกาสนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นคำศัพท์ที่อยู่ในหนังสือเรียน
สื่อการสอน ตัวผู้เรียน หรือครูผู้สอน
นอกจากนี้ควรมีปริมาณคำศัพท์ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น