วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Reading Skill








Reading Skill




เทคนิคการอ่านเร็วที่สำคัญและมีประโยชน์มี 2 แบบ คือ การอ่านแบบสกิมมิ่ง (Skimming) และ การอ่านแบบสแกนนิ่ง (Scanning) ทั้งสองเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่าน เรื่องได้รวดเร็วและเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ทันที ผู้เชี่ยวชาญทางการอ่านบางคนเรียกว่า ทักษะการ ค้นหา (Searching Skill) ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้เรียนควรได้ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญต่อไป



การอ่านแบบสกิมมิ่ง (Skimming) คือการอ่านข้อความอย่างเร็ว ๆ เป็นจุด ๆ เช่น อ่าน 2-3 คำแรก หรือ 2-3 ประโยคแรกแล้วข้ามไป อาจข้ามเป็นประโยคหรือเป็นบรรทัด หรืออ่านเฉพาะประโยค แรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้า หรืออ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ ๆ การอ่านแบบนี้มี จุดมุ่งหมายหลัก 2 ประการ คือ อ่านเพื่อเก็บประเด็นหรือใจความสำคัญ และอ่านเพื่อเก็บ รายละเอียดที่สำคัญบางอย่าง
การอ่านแบบสกิมมิ่งมีประโยชน์ที่จะช่วยประหยัดเวลาในการอ่าน เพราะช่วยให้ ผู้อ่านอ่านเรื่องต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น และเข้าใจใจความสำคัญที่อ่านได้โดยไม่จำเป็นต้องอ่าน รายละเอียดตลอดทั้งเรื่อง




การอ่านแบบสแกนนิ่ง (Scanning) จะเป็นวิธีการหาข้อมูลเฉพาะ เช่น ตัวเลข วันที่ สถานที่ ชื่อคน เป็นต้น  จะเป็นข้อมูลที่ปรากฏให้ผู้อ่านเห็นได้อย่างชัดเจนในบทอ่าน โดยถ้าในคำถาม ถามถึงสถานที่  ก็ให้กวาดสายตาไล่ดูแต่คำที่หมายถึงสถานที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่เฉพาะ  เป็นชื่อเฉพาะ ดังนั้นต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่แน่นอน  ซึ่งผู้อ่านจะต้องทราบคำศัพท์พอสมควร เพราะคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรใหญ่ทุกตัว  ไม่ได้หมายถึงสถานที่เฉพาะทุกตัว อาจจะหมายถึงชื่อคนหรือชื่อเมืองหรือชื่อถนน ขึ้นอยู่กับความรู้รอบตัวของแต่ละบุคคลด้วย

ความแตกต่างของวิธีการอ่านสองวิธีนี้คือ
Skimming – เห็นใจความสำคัญของบทอ่าน มองเห็นภาพรวมแบบคร่าวๆ ว่าบทอ่านนั้นเกี่ยวกับอะไร
Scanning – หาข้อมูลเฉพาะ

ดังนั้นวิธีการทั้งสองวิธีการนี้ จะเป็นประโยชน์ในการทำข้อสอบในส่วนการอ่านมากกับผู้อ่านที่ทราบคำศัพท์พอสมควร แล้ว และจะช่วยให้หาคำตอบได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอาศัยการฝึกทำบ่อยๆ ถ้าหากอยากจะให้ทักษะทางการอ่านพัฒนา ก็ควรฝึกทำทุกวัน วันละ 10 – 15 นาทีก็พอ


การที่สามารถอ่านได้เร็วนับว่าเป็นประโยชน์มากในการสอบ แต่เทคนิคในการอ่านก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ บางครั้งหากเราเน้นไปที่การอ่านได้เร็วแต่เพียงอย่างเดียว อาจทำให้เราพลาดในการหาคำตอบที่ถูกต้องได้เช่นกัน ดังนั้น ที่ถูกต้องคือเราควรทราบว่าเมื่อไหร่ที่ต้องอ่านเร็ว และเมื่อไหร่ควรจะต้องอ่านอย่างระมัดระวัง
เมื่อไหร่ก็ตามที่เราต้องใช้วิธีการอ่านเร็ว เทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่ทราบกันดี คือ เรามักจะใช้เทคนิคการอ่านแบบ 1. Skimming (การอ่านแบบข้าม) คือ การอ่านข้อความอย่างเร็วๆ เป็นจุดๆ เช่นการอ่าน 2-3 คำแรก หรือ 2-3 ประโยคแรกแล้วข้ามไป การอ่านมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ เพื่อเก็บประเด็นหรือใจความสำคัญ และ อ่านเพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญ เช่น การหาใจความสำคัญ (main idea ) ของบทความ
หรือ 2. Scanning (การอ่านจับจุด) คือ การอ่านผ่านๆ เพื่อจับประเด็นที่เราต้องการ เช่น ชื่อคน, เวลา, ตัวเลข หรือ คำสำคัญบางคำ เป็นต้น จุดประสงค์ของการอ่านชนิดนี้ เพื่อหาข้อมูลบางอย่างเท่านั้น เช่น การดูตารางเวลาเรียน, การดูเวลาเที่ยวบิน เป็นต้น
การใช้เทคนิคทั้ง 2 อย่างนี้ได้คล่องแคล่วนั้นสำคัญมาก แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ควรใช้ตลอดเวลา เพราะบางครั้งอาจทำให้เราพลาดข้อมูลสำคัญและตอบผิดได้ เพราะเราต้องเจอคำถามหลากหลายประเภท ซึ่งคำถามแต่ละประเภทก็เหมาะกับเทคนิคที่แตกต่างกัน ทั้ง Skimming, Scanning หรือการอ่านแบบละเอียด
สิ่งสำคัญก็คือ ก่อนเริ่มอ่านทุกครั้ง เราควรทราบเป้าหมายในการอ่าน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราพยายามหาว่าย่อหน้านั้นพูดถึงเรื่องอะไร เราควรอ่านที่ประโยคแรกและประโยคสุดท้ายก่อน เพราะคำตอบมักจะซ่อนอยู่ใน 2 ประโยคนี้ หากคุณต้องการหาคำหรือวลีบางอย่างที่โจทย์ถาม แนะนำให้ใช้การ Scanning เพื่อหาคำนั้นๆแทนการอ่านประโยคทั้งหมด หรือหากคุณต้องการหาว่าคำตอบใดที่โจทย์ถามนั้นถูกต้อง คุณอาจต้องอ่านเนื้อหาอย่างละเอียดแทน เป็นต้น


เทคนิคลับเพิ่มความเร็วในการอ่าน
จริงๆแล้วเรามักจะคิดและถูกสอนมาว่า สมองของคนเราสามารถแยกการอ่านได้ทีละคำเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง จากการวิจัย เทคนิคหนึ่งที่ถูกแนะนำเพื่อทำให้มนุษย์สามารถอ่านได้เร็วขึ้น คือ คนเราสามารถที่จะอ่านได้พร้อมๆกันทีละ 3-5 คำใน 1 ครั้ง  ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน
Did you know that /your brain does not process/ words individually? Instead it processes them /in groups of 3-5 words together. /These are sometimes called ‘chunks’./ Unfortunately, many of us are /taught at school to read /each word individually/. Also, when reading in/ another language we often/ read and think about /the meaning of words individually.
จากตัวอย่างด้านบน หากเราอ่านทีละคำจะเสียเวลาอย่างมาก แต่ถ้าเราฝึกอ่านเป็นกลุ่มคำ (3-5 คำ) ตามที่ได้แบ่งไว้ จะอ่านได้เร็วขึ้น 3-4 เท่าเลย
 วิธีการนี้อาจดูลำบากในช่วงแรกๆ แต่เมื่อฝึกฝนอย่างต่อเนื่องการอ่านจะเร็วขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ
วิธีการฝึกก็คือ ใช้เวลาวันละ 10- 30 นาทีอ่านพวกบทความโดยใช้เทคนิคนี้ อย่าเพิ่งกังวลหากไม่สามารถเข้าใจทันทีได้ทุกๆคำที่อ่าน และห้ามหยุดสายตาที่คำใดคำหนึ่ง และให้อ่านอย่างต่อเนื่องอย่ากังวลมากนักกับคำที่ไม่เข้าใจความหมาย
หลังจากผ่านไป 5 นาที ลองบันทึกว่าเราสามารถอ่านไปได้สักกี่คำ ทำแบบนี้ไปประมาณ 2 อาทิตย์ จะเห็นผลว่าความเร็วในการอ่านเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเลย จริงๆแล้ววิธีการนี้แอบแฝงข้อดีที่สำคัญมากๆอยู่ข้อหนึ่งก็คือ วิธีนี้จะช่วยพัฒนาไวยากรณ์และคำศัพท์ของเราไปในตัว เพราะระหว่างที่อ่านเราจะเห็นรูปแบบของคำ, การจัดวางคำศัพท์ และรูปแบบการใช้ Collocations ซึ่งนอกจากจะพัฒนาความเร็วในการอ่าน วิธีนี้จะช่วยพัฒนาระดับของภาษาอังกฤษโดยรวมของเราด้วย

สรุปเทคนิคการทำข้อสอบ Reading
•        บางครั้งในการสอบเราไม่จำเป็นต้องอ่านคำถามทั้งประโยค เพียงแค่ได้ในสิ่งที่โจทย์ต้องการก็สามารถเริ่มกระบวนการหาคำตอบได้ทันที
•        อย่าไปกังวลมากนักกับคำศัพท์ที่เราไม่ทราบความหมาย เราสามารถเดาความหมายคำนั้นๆโดยอาศัยประโยคใกล้เคียงหรืออาจไม่จำเป็นต้องทราบความหมายของคำนั้นแต่ก็สามารถตอบคำถามได้ (บางครั้งเองแม้กระทั่งเจ้าของภาษาก็อาจไม่เข้าใจความหมายนั้นๆเช่นกัน)
•        ในแต่ละข้อเรามีเวลาโดยเฉลี่ยที่ 90 วินาที แต่ต้องไม่ลืมว่าคำถามย่อมมีทั้งข้อที่ง่ายและข้อที่ยาก ดังนั้นอย่าใช้เวลาทุกข้อที่ 90 วินาที แต่ให้ใช้เวลาน้อยลงในข้อที่ง่าย เพื่อให้มีเวลามากขึ้นในข้อที่ยากกว่า
•        ถึงแม้ว่าเราควรจะแบ่งเวลาให้มากขึ้นกับข้อที่ยาก แต่อย่าลืมว่าคำถามบางข้อมีไว้สำหรับคัดแยกผู้สอบ Band 8 และ 9 ดังนั้น ข้อแนะนำก็คือถ้าหาคำตอบไม่เจอใน 2 นาที อย่าเสียเวลากับมัน ให้ข้ามไปทำข้อต่อไปเลย
•        พึงระลึกไว้เสมอว่าธรรมชาติของข้อสอบนั้น ข้อง่ายมักอยู่อยู่ช่วงแรกๆและข้อที่ยากมักจะอยู่หลังสุด
•        ถ้าใครติดนิสัยชอบอ่านแล้วออกเสียงเบาๆไปด้วย ขอแนะนำให้เลิกทำ เพราะการออกเสียงไปด้วยนั้น ทำให้เราใช้เวลามากขึ้นในการอ่านและทำความเข้าใจกับความหมายของคำนั้นๆโดยเราไม่รู้ตัว
•        ก่อนเริ่มอ่านบทความ แนะนำให้ทำความเข้าใจกับคำถามที่โจทย์ถามมาก่อน จะทำให้เราทราบเป้าหมายว่าเราต้องการหาอะไร
•        พยายามใช้หัวข้อและรูปภาพทุกรูปที่โจทย์ให้มาให้เป็นประโยชน์ บางครั้งมันช่วยให้เราสามารถเดาทางได้ว่าบทความนั้นๆสื่อถึงเรื่องใด


5 เทคนิคการฝึกอ่านเร็ว(แบบทั่วๆไป)
เทคนิคที่ 1 เวลาอ่านห้ามออกเสียง
การอ่านออกเสียงนั้นเกิดจากกระบวนการทางสมองหลายขั้นตอนซึ่งจะส่งผลให้อ่านล่าช้าขึ้น แต่ถ้าเราอ่านด้วยตาและสมอง ทำให้ลดการผ่านขั้นตอนต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เราอ่านได้เร็วขึ้น
เทคนิคที่ 2 การอ่านไปข้างหน้าแบบการใช้ตาประสานมือ
วิธีการก็คือ เราอาจใช้มือหรือดินสอมาชี้ใต้ข้อความที่เราอ่านอยู่ มันจะช่วยให้เรามีสมาธิอยู่กับส่วนที่มอง ไม่วอกแวก โดยมีข้อแนะนำคือเวลาอ่านให้พยายามส่ายแต่เฉพาะสายตาเท่านั้น อย่าส่ายหัวไปด้วยเพราะอาจทำให้สมาธิหลุดได้
เทคนิคที่ 3 การอ่านเป็นช่วงๆ
เวลาเราโฟกัสที่จุดๆหนึ่งเราจะเห็นบริเวณข้างๆของจุดนั้นด้วย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับการอ่านเป็นช่วงๆ การอ่านเป็นช่วงๆเราจะโฟกัสกลุ่มคำแทนที่จะอ่านเป็นคำๆ ให้มาอ่านเป็นกลุ่มคำแทน จะช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้น
เทคนิคที่ 4 การอ่านกลางบรรทัดในแนวดิ่ง
ทำได้โดยโฟกัสไปยังช่วงกลางของแต่ละบรรทัดโดยมีกรอบสายตามองส่วนข้างๆได้แก่ด้านขวาและซ้าย ซึ่งจะทำให้เราอ่านได้ครั้งละ1บรรทัดเลยทีเดียว การอ่านแบบนี้อาจต้องอาศัยความพยายามบ้าง แม้ตอนแรกที่เริ่มทำอาจจะไม่ถนัดนักแต่เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จะช่วยให้มีความชำนาญมากขึ้นเองค่ะ
เทคนิคที่ 5 การอ่านโดยใช้ระบบจำภาพ
คำที่ใช้อยู่บ่อยๆในชีวิตประจำวัน จริงๆแล้วเราสามารถจำภาพของคำได้โดยไม่ต้องคิดด้วยซ้ำว่าสะกดอย่างไร ซึ่งเกิดจากความมหัศจรรย์ของสมองเรานั่นเองสังเกตได้จากแม้จะสะกดผิดแต่เราก็สามารถรู้ได้ว่าเป็นคำอะไรเช่น ‘การอ่าหนังสือเป็นประจำทุกวันจะทำให้อ่านหนังสือได้เร็วมากยิ่งขึ้น’ เป็นต้น



ในการอ่านข้อสอบนั้น จะต้องพยายามอ่านให้เร็ว โดยวิธีการอ่านเป็นคำก้อนๆ ไม่ใช่การอ่านคำต่อคำและอย่าให้มากกว่าหนึ่งคำตอบ ก่อนอ่านคำถามโดยตรงนั้น เราจะต้องพยายามทำให้ตัวเองคุ้นกับเนื้อเรื่องโดยตรวจสอบอ่านหัวข้อ, หัวเรื่อง, รูปและประโยคแรกของเนื้อเรื่อง การทำอย่างนี้จะช่วยให้ ได้เข้าใจแนวทางของเนื้อเรื่องทั้งหมดและจะช่วยให้เราหาคำตอบได้เร็วและง่ายกว่า
เรียนรู้วิธีอ่านแบบ ‘Scanning’ เพื่อหาคำที่สำคัญ (keyword) อ่านรอบๆ keyword เพื่อหาคำตอบ อย่างเช่น วิธีหนึ่งอาจเป็นการหาคำตอบด้วยการใช้ศัพท์ที่อยู่ในคำถามเพื่อหาคำตอบ ถ้าไม่มี เราสามารถหาศัพท์จากประโยคแรกและประโยคสองเพื่อหาคำตอบได้
สำหรับข้อที่ต้องเลือกศัพท์ในช่องว่าง การรู้ไวยากรณ์ จะช่วยได้เป็นอย่างมาก
– ตัวอย่างที่หนึ่งคือ “you are a …….. student” เราสามารถรู้ได้ว่าจะมีคุณศัพท์ ที่เริ่มด้วย พยัญชนะมากกว่าเสียงสระ ( a- e-i-o-u)
– ตัวอย่างที่สองคือ “Terrorists understand they are in a …. for England” เรารู้ได้ว่าศัพท์ที่ต้องหาเป็นเอกพจน์ (singular) เพราะคำว่า “a”
ในการทำข้อสอบ อย่ามัวเสียเวลาอ่านข้อสอบจนเพลินเพื่อให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เราควรตอบไว้ก่อนแล้วค่อยกลับมาเช็คทีหลังก็ได้เพื่อไม่เป็นการเสียเวลามากจนเกินไป  และเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ทุกประโยค ทุกคำและเข้าใจทุกอย่างเพื่อตอบคำถาม หากไม่ทราบก็ควรจะข้ามคำถามที่ซับซ้อนและยากเพราะมันจะทำให้เราเสียเวลาในการตอบคำถามอื่นๆ ที่อาจง่ายกว่าเยอะ  แนะนำว่าให้ข้ามและกลับมาตอบทีหลัง จะดีกว่า  และหากเราไม่แน่ใจว่าวิธีการสะกดคำ การเขียนประมาณของการออกเสียงของคำนั้น บางครั้งเราก็สามารถลอก จากในข้อสอบไปเลยก็ได้ ส่วนสำหรับข้อที่ถามหาย่อหน้าสำหรับหัวเรื่อง แนะนำให้อ่านย่อหน้าและเลือกหัวเรื่องที่เหมาะที่สุด ตั้งใจอ่านคำถามให้ดีๆ อย่าเข้าใจผิด อย่าสับสนในส่วนของ True/false/not given กับ Yes/No/not given เพราะถ้าเราตอบว่า Yes สำหรับข้อที่ต้องการ True เราจะเสียคะแนนไปเลยก็ได้ และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือให้ ระมัดระวังเวลาในการตอบด้วย เพราะว่าเราจะมีเวลาประมาณ 20 นาทีสำหรับในแต่ละส่วน และในระหว่างอ่านนั้น พยายามดูคำถามด้วยเพราะเราจะสามารถรู้ได้ว่าคำตอบของแต่ละข้ออยู่ในย่อไหน  เพราะเราจะได้ประหยัดเวลาในการทำข้อสอบ


Main Idea คือ ใจความสำคัญหรือใจความหลักของเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดของเรื่อง ซึ่งเป็นส่วนที่ครอบคลุมและควบคุมเรื่องนั้นๆ กล่าวคือ ในแต่ละย่อหน้าต้องมี main idea เพียงอันเดียว และถ้าเมื่อขาด main idea ไปแล้ว จะทำให้ไม่เกิดเนื้อเรื่องต่างๆ ขึ้น หรือทำให้ไม่ทราบจุดประสงค์เรื่องนั้นๆ แล้วทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
โดยปกติแล้ว main idea จะเป็นประโยคเท่านั้น การวิเคราะห์และค้นหา main idea ได้ ต้องเกิดจากการค้นหา Topic มาก่อน และนำเอาส่วน topic มารวมกับข้อความ ที่ควบคุมสาระเกี่ยวกับ topic นั้น กล่าวโดยสรุป คือ
1) พินิจพิเคราะห์และหา topic หรือเนื้อเรื่องที่อ่าน ว่าด้วยเรื่องอะไร (What is the topic idea?)
2) ส่วนที่ควบคุมประเด็นสาระที่เสนออยู่นั้นคืออะไร นั่นคือถูกควบคุมให้พูดถึงสิ่งใด แล้วนำเอา topic + สิ่งที่ควบคุม (controlling idea) ก็จะได้เป็น main idea จึงเห็นได้ว่า main idea ที่ถูกต้อง จะต้องครอบคลุมสิ่งที่กล่าวในเรื่องได้โดยเฉพาะประเด็นหลัก

Main Idea & Topic sentence มีความคล้ายคลึงกันมาก
Topic Sentence หมายถึง ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้ ส่วนใหญ่มักวางไว้ที่ประโยคแรก หรือประโยคสุดท้ายของข้อความ ซึงมักหาได้จากเนื้อเรื่อง

Main Idea มี 2 ชนิด
1. State main idea คือ หลักใหญ่ใจความที่สำคัญที่สุดของเรื่อง ซึ่งผู้เขียนบอกมาตรงๆ สามารถครอบคลุมเนื้อหาของเรื่องได้ทั้งหมด จะต้องตั้ง main idea ไว้ในการเขียน และบรรยายหรือธิบายโดยยึด main idea เป็นหลัก ส่วนที่ขยายหรือบรรยายให้รายละเอียดต่อจาก main idea คือ supporting idea โดยปกติ ในเนื้อความหนึ่งๆ เรามักจะพบ state main idea ได้ในตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้ายของย่อหน้า
2. Implied main idea หมายถึง การกล่าวถึง main idea ในลักษณะที่ผู้เขียนไม่ได้เอ่ยมาตรงๆ ทันที เพียงแต่แสดงนัยให้เห็นเท่านั้น ผู้อ่านต้องวินิจฉัยเอาเองเพื่อให้เห็นได้ชัด

ตำแหน่งของ Main Idea อยู่ตรงไหนบ้าง
1. อยู่ตรงต้นเรื่อง   Women have been skilled in the use of beauty aids. Cleoptara painted her eyebrows and lashes black just as women do today. She painted her upper lids blue-black and the lower ones green. Cleopatra was also familiar with cold cream, the oldest cosmetic known to history.
2. อยู่ท้ายเรื่อง        Most of the windows are broken, and the ones that were not broken were very dirty. Cracks in the walls were both wide and deep; the outside concrete of the building kept breaking away. The plumbing had long been ruined by vandals. And electric wiring had been pulled out. The building simply was not fit to live in.
3. อยู่ตรงกลางเรื่อง Dark green leafy vegetables such as kale and spinach are good sources of vitamin C. Carrots, squash and sweet potatoes are good sources of carotene , which the body changes to Vitamin A. Dark green leafy vegetables also supply us with iron. All vegetables are good for us because they supply us with important vitamins and minerals that build cells and keep us healthy. Vitamin C, for example, helps to build strong teeth and helps us to resist infections. Vitamin A helps us to keep skin healthy and protects our eyes. Iron ,also an important part of vegetables, builds red blood cells. Without enough iron, we would suffer from an illness called anemia.

4. อยู่ต้นเรื่องและท้ายเรื่อง
(มีการกล่าวซ้ำอีกครั้งในตอนท้าย)       Fantasy and science fiction are fun to read. The writer so often do just the opposite of what the reader expects. They can make elevators giggle, coffeepots talk, basketballs have mind of their own, and people get coated with palstic. They do their things purposely to make their stories more entertaining.
5. ไม่อยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง แต่ต้องสรุปเองโดยนัย       The American author jack London was once a pupil at the Cole Grammar School in Oakland, California. Each morning the class sang a song. When the teacher noticed that Jack wouldn’t sing, she sent him to the principal. He returned to class with a note. It said that he could excuse from singing, but he would have to write an essay every morning.
( main idea : Jack London’s writing skill may be traced to his punishment in Grammar school.)

ดังที่กล่าวแล้วว่า การหา main idea นั้น จะต้องมีการค้นหา topic ก่อน ดูว่าเรื่องที่อ่านกล่าวถึงคำนามตัวไหนบ่อยที่สุด (topic Noun) แล้วดูว่ามีการกล่าวถึงนามคำนั้นว่าอย่างไร (Topic Idea) แล้วจึงดูว่าข้อความที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง topic idea นั้นอยู่ในประโยคใด ประโยคนั้นแหละเป็น Topic sentence หรือ Main Idea

Tips and Tricks
เคล็ดลับเด็ดๆ Main Idea: คำถามที่ถามถึงความคิดหลักของประโยคหรือบางทีถามถึงชื่อเรื่อง Title ทุกครั้งที่อ่านเนื้อเรื่องจึงต้อง หมั่นหา keyword หรือ คำ วลี หรือประโยคซ้ำๆ กรุณาอย่าลืมความสำคัญของ paragraph แรกโดยเฉพาะประโยคแรกซึ่งมักจะ สื่อความคิดหลักของเนื้อเรื่องให้กับผู้อ่าน วิธีสังเกตง่ายมาก – *ใน Passage ทั่วไปถ้ามีการพูดถึงคำนามคำไหนมากที่สุด นั่นคือ Main Idea

ข้อควรสังเกตในการหาใจความสำคัญ (Main Idea)
1. Main idea มักจะขยายหัวเรื่อง (Topic) ของบทความ
2. Main idea อาจซ่อนอยู่ในประโยคต้นๆของบทความ
3. Main idea อาจเขียนซ่อน อยู่ตรงกลางหรือ ในประโยคท้ายๆ ของบทความ

การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ ด้วยการทำแบบฝึกทักษะอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะอย่างหลากหลายวิธี สามารถทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการอ่านจับใจความดีขึ้น เช่น อ่านโฆษณา อ่านฉลากยา อ่านเรื่องสั้นแล้วตอบคำถาม อ่านการ์ตูน อ่านกราฟ อ่านป้ายต่างๆ

หลักการอ่านจับใจความสำคัญ (Reading for Main Ideas)
1. อ่านเรื่องที่ต้องการจับใจความสำคัญโดยเริ่มตั้งแต่ชื่อเรื่อง เพราะชื่อเรื่องมักสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง หรือช่วยบ่งชี้ให้เห็นจุดสนใจของเรื่อง ให้อ่านตั้งแต่ต้นจนจบแล้วตอบคำถามให้ได้ว่า เรื่องที่อ่านเป็นเรื่องอะไร ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ทำไมจึงทำ และได้ผลอย่างไร
2. พิจารณาหาใจความสำคัญจากแต่ละย่อหน้า ย่อหน้าที่ดีต้องมีเอกภาพ ดังนั้นแต่ละย่อหน้าจึงมีใจความสำคัญเดียวซึ่งครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด นอกจากนี้ผู้อ่านอาจสังเกตคำสำคัญ (keyword) ที่มักปรากฏให้เห็นหลายครั้งในย่อหน้านั้น อย่างไรก็ดีมิใช่ว่าทุกย่อหน้าจะมีใจความสำคัญของเรื่องเสมอไป หากย่อหน้านั้นเป็นเพียงการยกตัวอย่าง หรือรายละเอียดขยายใจความสำคัญในย่อหน้าก่อน
3. นำใจความสำคัญของเรื่องที่จับมาได้ทั้งหมดมาเรียบเมื่อเราอ่านประโยค สิ่งที่เราต้องทราบคือ ประโยคกล่าวถึงใคร (Subject) ทำอะไร (Verb) เพราะสิ่งนี้ จะทำให้เข้าใจ Main Idea ของประโยค ส่วน Supporting details ของประโยคจะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น ทำต่อใคร (Object)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น