การพัฒนาภาษาอังกฤษก่อนเข้าสู่อาเซียน
ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกทำให้มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนามากขึ้นและการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี2015จะทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน
โดยการพัฒนาการศึกษาควรให้ความสนใจกับเนื้อหาของผลการวิจัยของ
WEF ที่จะรวบรวมคุณภาพทางการศึกษาของแต่ละประเทศแล้วจัดเป็นลำดับคะแนน
ซึ่งหากประเทศไทยยังคงไม่เริ่มต้นการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างจริงจัง
คะแนนของการศึกษาไทยอาจถูกเลื่อนลำดับในทุกประเภทการสำรวจ
ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่ร้ายแรงในระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในอนาคต
ภาษาอังกฤษจะเป็นคำตอบให้กับการศึกษาของประเทศไทย
เพราะความสามารถที่มากขึ้นในด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยจะสามารถเปลี่ยนแปลงระบบความคิดและการจัดการความรู้ของนักเรียนได้
โดยนักเรียนที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นและมีความพร้อมในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนมากกว่า
นอกจากนี้ยังจำเป็นจะต้องเปลี่ยนการการบรรยายและการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม
โดยห้องเรียนควรปรับเปลี่ยนเป็นห้องการสัมมนาที่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถกเถียงในประเด็นต่างๆได้อย่างทั่วถึง
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนมีบทบาทในการเรียนและตะหนักถึงความสำคัญของตนในการช่วยพัฒนาผู้อื่น
การเรียนภาษาอังกฤษจะต้องจัดเป็นวาระแห่งชาติอย่างเร่งด่วน
เพราะตามกฎบัตรอาเซียนที่ได้ตกลงกันไว้ ภาษาอังกฤษจะทำหน้าที่เป็น
"ภาษาราชการของอาเซียน" หมายถึง
การดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคอาเซียนจะใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร
ในสังคมโลกปัจจุบัน
คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลของโลกที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของผู้คนจำนวนไม่น้อย จากอิทธิพลของความก้าวไกลทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารส่งผลให้ภาษาอังกฤษยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
เพราะถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
การศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมถึงการประกอบอาชีพ
หลายคนอาจผิดหวังว่า ทำไมอาเซียนเราต้องไปใช้ภาษาฝรั่งมังค่าที่อยู่ห่างไกลไม่ใช้ภาษาในแถบนี้กันเองเป็นภาษากลางทั้งนี้
เนื่องมาจากเหตุผลที่ว่า ชาติอาเซียนมีความหลากหลายทั้งชาติพันธุ์ วัฒนธรรม
รวมทั้งภาษา
เมื่อพูดคุยกับคนจากชาติสมาชิกอาเซียนอื่น ส่วนใหญ่จะไม่สามารถสื่อสารกันได้
หากไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ยกเว้นกรณีภาษาไทยกับภาษาลาว
และภาษามาเลเซียกับภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีความใกล้เคียงกันอยู่พอสมควร แต่กระนั้น
แม้แต่ในประเทศอินโดนีเซียเอง ยังมีภาษาที่แตกต่างกันกว่า 100 ภาษา ก็ยิ่งทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า
การสื่อสารกันในหมู่ชาวอาเซียนไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าไม่ใช้ภาษาอังกฤษ
ครั้นจะกำหนดให้ภาษาของชาติอาเซียนชาติใดชาติหนึ่งเป็นภาษากลาง
ยิ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่สามารถใช้เป็นภาษากลางได้อย่างแท้จริง
อีกทั้งชาติอาเซียนอื่น คงจะไม่ยอม สรุปว่า อาเซียนต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อพิจารณาถึงทักษะภาษาอังกฤษของชาติอาเซียนพบว่า
ไทยอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง จากการจัดอันดับของ IMD World
Competitive Yearbook 2011 พบว่า ในหมู่ชาติอาเซียน
สิงคโปร์มีระดับทักษะภาษาอังกฤษสูงสุด ตามมาด้วยฟิลิปปินส์และมาเลเซีย
ไทยเราเป็นรองแม้กระทั่งอินโดนีเซีย ดัชนีดังกล่าวสอดคล้องกับการจัดอันดับของ English
Proficiency Index (EFI) ที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับ
คือ กลุ่มประเทศที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับสูงมาก ระดับสูง ระดับปานกลาง ระดับต่ำ
และระดับต่ำมากปรากฏว่า ประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน “ระดับต่ำมาก”
ทั้งยังอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าอินโดนีเซียและเวียดนามเสียอีก นอกจากนี้
จากการเก็บข้อมูลคะแนนทักษะภาษาอังกฤษจากการสอบ TOEFL ของบัณฑิตจากประเทศอาเซียน
พบว่า สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์เป็นสองชาติที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 550 มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม และกัมพูชา ได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 500
ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของบัณฑิตไทยได้ต่ำกว่า 500 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับบัณฑิตจากประเทศลาว
ข้อมูลเชิงประจักษ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า คนไทยยังมีปัญหาในทักษะภาษาอังกฤษจริงๆ
ซึ่งก็เป็นประเด็นที่กังวลกันในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คนไทยเรามักจะพูดกันเสมอว่า
“ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร
เราจึงไม่ถนัดภาษาอังกฤษเหมือนกับประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมชาติตะวันตก”
คำกล่าวเช่นนี้ คงสามารถอ้างได้เพียง 30-40 ปีหลังประเทศเหล่านั้นได้รับเอกราช
ในช่วงที่คนที่ได้รับการศึกษาหรือทำงานในระบบของประเทศเจ้าอาณานิคมยังทำงานและยังมีชีวิตอยู่
แต่จะไม่สามารถอธิบายได้ว่า
ทำไมชาติเหล่านั้นยังคงมีทักษะความสามารถทางภาษาอังกฤษดีกว่าไทยเราอย่างมาก
แม้จะได้รับเอกราชมานานกว่า 50 ปี หรือ 60 ปีแล้ว และยิ่งอธิบายไม่ได้เมื่อเวียดนามกับกัมพูชา ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
และเพิ่งจะเริ่มพัฒนาขึ้นมากลับได้รับการจัดระดับทักษะภาษาอังกฤษดีกว่าไทย ดังนั้นการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษจึงควรจัดเป็น
“วาระแห่งชาติ” ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษต้องเน้นการสื่อสาร (communicative approach) ให้มากกว่าการเรียนแบบเน้นไวยากรณ์ ที่มักทำให้ผู้เรียนติดกับดักไวยากรณ์
จนสามารถพูดหรือสื่อสารได้น้อย ยิ่งเมื่อมาผนวกกับวัฒนธรรมแบบไทยๆที่ไม่กล้าแสดงออกกลัวอับอายถ้าพูดผิด
ยิ่งทำให้ไม่สามารถพัฒนาทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษได้เท่าที่ควร ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่า ทักษะภาษาอังกฤษไม่ได้ใช้เฉพาะแค่ในประชาคมอาเซียน
แต่ยังมีประโยชน์และขาดไม่ได้ในการติดต่อสื่อสาร ค้าขายกับนานาประเทศทั่วโลกอีกด้วย
หลักสูตรการศึกษาระดับขั้นการศึกษาพื้นฐาน
ไม่ได้มองข้ามความสำคัญและความจำเป็นของภาษาอังกฤษ
มีการกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานซึ่งนักเรียนทุกคนต้องได้เรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน
เขียน เข้าใจความแตกต่างของภาษา การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
และวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และสามารถสื่อสารกับชาวชาติได้
รวมทั้งช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ
ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนได้ง่ายและกว้างขึ้น ในขณะที่ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ
เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาเกาหลี เป็นต้น สถานศึกษาสามารถจัดสอนได้ตามความเหมาะสมโดยให้อยู่ในดุลพินิจจะเห็นว่าได้ว่าในบ้านเรา
แม้รัฐบาลบังคับให้ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ก็ยังมีคนไทยจำนวนมากที่พูดภาษาอังกฤษ
หรือไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษไม่ได้
ทั้ง ๆ ที่รวมเวลาในการเรียนภาษาอังกฤษแล้ว ส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี หรือแม้แต่ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี
หรือแม้กระทั่งปริญญาโทยังมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้
แม้ว่าทุกวันนี้
เด็กไทยจะมีแนวทางและโอกาสในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่หลากหลายขึ้น ทั้งจากครูผู้สอนในห้องเรียน สื่อ
เพลง ภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต แต่ยังมีคำถามเสมอว่า
ทำไมเด็กไทยปัจจุบันพัฒนาการทางภาษาอังกฤษยังไม่ได้แตกต่างไปจากสมัยก่อนมากนัก
หลายคนมีมุมมองเสนอทางออกที่แตกต่าง เช่น
ถึงเวลาที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนใหม่
ควรปรับวิธีการถ่ายทอดของครูใหม่ ควรจัดครูสอนที่ตรงวุฒิ ควรปรับหลักสูตรใหม่
เป็นต้น
จริงๆ แล้ว
คงไม่มีสูตรสำเร็จรูปใดที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ในการแก้ไขปัญหาของเด็กแต่ละคน
แต่ละย่อมจำเป็นต้องใช้วิธีการที่มีความแตกต่างหลากหลาย
กรณีกลุ่มเด็กที่มีความสนใจกระตือรือร้นที่จะเรียนสามารถเลือกใช้วิธีการใดก็ได้ แต่สำหรับเด็กกลุ่มอื่นๆ
ต้องไม่มองข้ามความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
เช่น ฐานะของครอบครัว การศึกษาของพ่อแม่ สภาพแวดล้อมของเด็ก
การเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยี เป็นต้น
มีหลากหลายวิธีที่เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาภาษาอังกฤษของเด็กไทย เช่น
การสอนให้นักเรียนรู้คำศัพท์จำนวนมาก
เพราะปัญหานักเรียนรู้ศัพท์น้อยนั้นเป็นสาเหตุสำคัญโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ
และยังก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องอีกหลายอย่างตามมา การสอนภาษาอังกฤษในแต่ละชั่วโมง
จำเป็นต้องให้นักเรียนได้ฝึกครบทุกทักษะทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นต้น
เมื่อประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งสมาชิกที่กำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้
ภาษาอังกฤษยิ่งทบทวีความสำคัญและความจำเป็นมากขึ้น
คงถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการวางแผนและเตรียมพร้อมพัฒนาเด็ก เยาวชน
และคนไทยให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมคาดหวัง ครูผู้สอนซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาสังคม
ต้องมีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน
ใฝ่ศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา
แสวงหาเทคนิควิธีสอนใหม่ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและผู้บริหารต้องให้ความสำคัญพร้อมสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนในการเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของภาษาประจำชาติและภาษาต่างประเทศ
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ในสังคมอาเซียนและเวทีโลกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น