สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)
แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)
สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในภาคบ่ายก็คือ
การออกเสียงภาษาอังกฤษ
ซึ่งครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัทศาสตร์ (Phonetics
and Phonology) เพราะว่าครูผู้สอนจะต้องช่วยเหลือผู้เรียนในการแก้ไขการออกเสียงให้ถูกต้อง
โดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ท่านได้สอนเรื่องอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง
ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียงของอักษรภาษาอังกฤษต่างๆ
โดยแต่ละเสียงจะใช้อวัยวะที่แตกต่างกันออกไป โดยจะมีอวัยวะหลักๆก็คือ ลิ้น
ริมฝีปาก เหงือก เพดานอ่อน เพดานแข็งและกล่องเสียง โดยขณะที่เรากำลังเปล่งเสียง
เราจะใช้มือจับที่ลำคอเบาๆ เพื่อตรวจสอบว่าเสียงนั้นก้องหรือไม่
ถ้าลำคอเราสั่นแสดงว่าเสียงอักษรตัวนั้นเป็นเสียงก้อง (Voice) แต่ถ้าลำคอไม่สั่น
เสียงนั้นก็จะเป็นเสียงไม่ก้อง (Voiceless) รวมทั้งนี้ท่านยังสอนการออกเสียงตาม
IPA (International Phonetics Alphabet) โดยจะมีสถานที่เกิดเสียงและลักษณะของการออกเสียง
เช่น [p] ก็จะเป็นเสียงไม่ก้อง ซึ่งจะใช้ริมฝีปากเป็นแหล่งกำเนิดเสียง ส่วน [b]
จะเป็นเสียงก้อง ซึ่งจะมีแหล่งกำเนิดที่ริมฝีปากเช่นเดียวกับเสียง [p]
และนอกจากนี้ ท่านได้สอนเรื่องการออกเสียงสระภาษาอังกฤษทั้ง 5 ตัว คือ a,e,i,o,u
ว่าออกเสียงอย่างไรจึงจะถูกต้องตาม
IPA นั่นเอง ซึ่งสระเหล่านี้ก็สามารถแบ่งประเภทออกเป็น 3 ประเภทอีก
ซึ่งจะคล้ายๆกับสระภาษาไทยของเราที่แบ่งสระตามเสียงสั้นและเสียงยาว
แต่ของภาษาอังกฤษจะเพิ่มสระประสมสองเสียงเข้ามาด้วย
โดยจะเป็นการผสมของสระสองตัวเข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นสระใหม่ขึ้นมา เช่น a +
u = [au] จะออกเสียงว่า อาว เช่นคำว่า town , flower เป็นต้น
นอกจากนี้เรื่องของ สัทศาสตร์ (Phonetics and Phonology)
ที่ท่านสอนอีกคือ การเน้นเสียง (Stress) ที่จะมี 2 ประเภท ก็คือ
การเน้นเสียงระดับคำและการเน้นเสียงในระดับประโยค เช่น society information
volunteer
photographic
จากความรู้ที่ดิฉันได้รับจากการอบรมในภาคบ่ายวันนี้
ทำให้ดิฉันได้รับทั้งความสุกและความรู้ที่น่าสนใจที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปฝึกออกเสียงให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
รวมทั้งการเน้นเสียงคำและดารเน้นเสียงในระดับประโยค
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก
ซึ่งดิฉันคิดว่าหากเราพูดไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการเน้นเสียง ไม่มีท่วงทำนองสูงต่ำ
เราก็เหมือนฟังพระสวดที่คนฟังจะรู้สุกเบื่อ ง่วงนอนไม่อยากจะพูดคุยกับเรา
แต่ถ้าเรารู้จักการเน้นเสียง การใช้จังหวะสูงต่ำเข้าไปช่วยในการูดคุย ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นดูมีชีวิตชีวา
น่าสนใจและเราก็จะประสบความสำเร็จในการพูดคุยอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น