วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Good writing






Good writing





        
    การเขียน หมายถึง ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้คำ เป็นการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายเป็นศาสตร์ที่ผู้ใช้ต้องรู้จักคำและเลือกใช้คำให้ถูกต้อง เหมาะสม ตรง ความหมาย ตรงราชาศัพท์ เหมาะกับกาลเทศะ ไม่ใช้คำซ้ำซ้อน รู้จักหลบคำโดยไม่เกิดความกำกวม และใช้ คำให้เกิดภาพพจน์ ในการนำคำที่เลือกแล้วมาเรียบเรียงเป็นประโยค เป็นข้อความ 









ถือเป็นศิลป์แห่งการใช้คำที่มิใช่เพียงแต่สื่อความรู้ความเข้าใจเท่านั้น หากยังสามารถก่อให้เกิดภาพ เสียง และความรู้สึกได้อีกด้วย โดยการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย ทำสัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็นต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ
การเขียนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก เพราะการเขียนเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการบันทึกความจำ สื่อสารความคิด และเป็นหลักฐานและเอกสารอ้างอิงได้ การเขียนสามารถพัฒนาความคิดของคนในสังคม เพราะมนุษย์ได้เรียนรู้วิทยาการต่าง ๆ จากข้อเขียนของผู้รู้ หรือจากงานวิจัยต่าง ๆ ดังนั้น สังคมจึงมีการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้การเขียนยังเป็นเครื่องมือที่บุคคลในอาชีพต่าง ๆ ใช้ประกอบการทำงาน เช่น วิศวกรเขียนรายงานความก้าวหน้าของโครงการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ และนักวิจัยเขียนรายงานการวิจัย ครูอาจารย์เขียนตำรา เอกสารประกอบการสอน และรายงานการวิจัย ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานเขียนบันทึกข้อความหรือจดหมาย เป็นต้น

ในการเขียน นอกจากผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงหลักการเบื้องต้นของการเขียน ซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ที่แน่นอนในการเขียน เนื้อหา หลักภาษาและไวยากรณ์ การเลือกคำศัพท์ ลีลาการเขียน รวมทั้งตัวสะกดที่ถูกต้อง การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการเขียนตัวอักษรเล็กตัวอักษรใหญ่ เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสนหรือเข้าใจผิดได้โดยง่ายแล้ว ผู้เขียนยังต้องคำนึงถึงและวิเคราะห์ผู้อ่าน เพื่อสื่อเนื้อหาที่ต้องการให้เหมาะสมกับผู้อ่านแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะผู้อ่านมีบทบาทสำคัญต่อการเขียนและการนำเสนองานเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปแบบงานเขียน การกำหนดหัวข้อเรื่อง ขอบเขตของเรื่อง วิธีนำเสนอเรื่อง ลักษณะภาษา และลีลาการเขียน

. ลักษณะผู้เขียน ผู้เขียนนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิด ของผู้เขียนเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวถึง ลักษณะของผู้เขียน ได้ดังนี้

1) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการ

2) มีความรอบรู้ เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ

3) เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา

4) หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน

5) ลักษณะท่าทาง ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถบุคลิกลักษณะ ท่าทางในการนั่ง การวางมือ การจับปากกาดินสอ ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง

6) ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน

7) จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท เช่น การให้เกียรตินักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เราลอกหรือเอาแนวคิดของ เขามาทุกครั้ง

หลักการเขียน

เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน ดังต่อไปนี้

1. มีความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ

2. มีความชัดเจน คือ ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์

3. มีความกระชับและเรียบง่าย คือ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ใจความชัดเจน กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย

4. มีความประทับใจ โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์ อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ชวนติดตามให้อ่าน

5. มีความไพเราะทางภาษา คือ ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน

6. มีความรับผิดชอบ คือ ต้องแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล มุ่งให้เกิดความรู้และทัศนคติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น นอกจากหลักการเขียนที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว สิ่งที่มีความจำเป็นอีกประการหนึ่งคือกระบวกการคิดกับกระบวนการเขียนที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับหลักการเขียน เพื่อที่จะทำให้สามารถเขียนได้ดียิ่งขึ้น


1 . ลักษณะเด่นของการเขียน

การเขียนเป็นกระบวนการความคิดที่สลับซับซ้อนที่ผู้เขียนพยายามสื่อออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
การเขียนเป็นงานสร้างสรรค์ รังสรรค์ความคิดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
การเขียนคือการค้นพบ การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่เขียนระหว่างการเขียน ช่วยให้เกิดการค้นพบข้อมูลและสาระต่าง ๆ มากมาย
การเขียนคือการเขียนแล้วเขียนอีก กล่าวคือ มีการปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมหรือตัดทอน ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ ภาษา และอื่น ๆ เพื่อให้งานเขียนสมบูรณ์มากขึ้น

2. ความสมดุลของข้อเขียน (thetorical stance)

ความเรียง (rhetoric) อาจเป็นวจนะหรือข้อเขียน ที่ผู้เสนอพยายามสื่อความหมายไปยังกลุ่มผู้อ่านหรือผู้ฟังอย่างน่าสนใจ แต่ในที่นี้จะจำกัดอยู่เพียงข้อเขียน ความสมดุลของข้อเขียนใดข้อเขียนหนึ่งจะหมายถึงความสมดุลขององค์ประกอบต่อไปนี้คือ

เนื้อหาในการเขียน -- จะสื่อเนื้อหาสาระอะไรกับผู้อ่าน
จุดมุ่งหมายในการเขียน -- ทำไมจึงต้องเขียนเรื่องนี้
กลุ่มผู้อ่านที่ผู้เขียนคาดไว้ในใจ -- เขียนให้ใครอ่าน

เมื่อมีกรอบตามองค์ประกอบข้างต้น ซึ่งรวมเรียกได้ว่า การวิเคราะห์สถานการณ์การเขียน (rhetorical situation) นี้แล้ว จะช่วยให้ผู้เขียนสามารถตีความหัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้กระจ่างมากยิ่งขึ้น สามารถกำหนดสาระและขอบเขตการเขียนได้ชัดเจนขึ้น และสามารถใช้วิเคราะห์ร่างการเขียนว่ามีความสมดุลขององค์ประกอบต่าง ๆ ดีหรือไม่

2.1 การวิเคราะห์เนื้อหา ควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้

2.1.1 ความรู้ในเนื้อหาที่จะเขียน ผู้เขียนต้องวิเคราะห์ว่า ตนมีความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อของข้อเขียนมากเพียงพอหรือไม่ รวมถึงการค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

2.1.2 ขอบเขตของเนื้อหาที่จะเขียน เนื้อหามักขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการเขียนและกลุ่มผู้อ่านด้วย การเขียนเพื่อเล่าสภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไป กับการเขียนแสดงความคิดเห็นในเชิงไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมแตกต่างกันในแง่ของเนื้อหาและการนำเสนอ หรือการเขียนบรรยาย
 2.2 การวิเคราะห์จุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายในการเขียนเป็นเครื่องกำหนดโวหารหรือวิธีการนำเสนอเรื่อง ในข้อเขียนหนึ่ง ๆ อาจมีโวหารต่าง ๆ ปะปนกัน สิ่งสำคัญคือ จะเขียนอย่างไรให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ตั้งใจ เช่น ข้อเขียนอาจเป็นพรรณนาโวหาร (descriptive) บรรยายโวหาร (narrative) การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ (persuasive) การเขียนแบบอรรถาธิบาย (expository) เป็นต้น

3.2.2 การเขียนให้ตรงประเด็น (precise) คือการเขียนให้ข้อมูลและรายละเอียดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอและจุดมุ่งหมายในการเขียน หรือสิ่งที่กลุ่มผู้อ่านคาดว่าจะอ่านในข้อเขียนอย่างชัดเจนและถูกต้อง โดยตัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออก เพื่อมิให้ผู้อ่านจับใจความยากหรือคลาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ

3.3 การเสนอความคิดอย่างสมเหตุสมผล
ข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง หรือการอภิปรายใด ๆ ในข้อเขียน ควรสมเหตุสมผล เป็นความจริงหรือเป็นตรรกะที่ผู้อ่านยอมรับได้ เพราะหากความคิดต่าง ๆ ที่นำเสนอในสารมีจุดบกพร่องที่ผู้อ่านโต้แย้งหักล้างได้ สารนั้นย่อมไม่น่าเชื่อถือและไม่สามารถจูงใจให้ผู้อ่านคล้อยตามได้


 การเขียนประโยค คือ การนำเอาคำหลาย ๆ คำมาเรียงต่อกันเป็นกลุ่มคำ มีลักษณะเป็นวลีและประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ทั้งในด้านรูปแบบและความหมาย โดยทั่วไปประโยคประกอบด้วยคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป ที่มีทั้งภาคประธานและภาคแสดง

  การเขียนย่อหน้าคือ การนำเอาประโยคหลาย ๆ ประโยคมาเรียงต่อกันเป็นย่อหน้า
       ภาษาเป็นวัฒนธรรม เพราะภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงเป็นปึกแผ่น ด้วยเหตุที่คนพูดภาษาเดียวกันย่อมมีความผูกพัน รักใคร่กลมเกลียว ร่วมมือร่วมใจกันประกอบภารกิจต่างๆ  ให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องบอกให้รู้นิสัยใจคอ สภาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของคนในสังคมนั้นๆด้วย เช่น สำนวนไทยที่ว่า"สำเนียงบอกภาษา กิริยาส่อสกุล" อีกประการหนึ่งที่ว่าภาษาเป็นวัฒนธรรม ก็คือ ภาษาเป็นเครื่องมือวัดความเจริญก้าวหน้าของชาตินั้นๆ ว่ามีวัฒนธรรมสูงส่งเพียงใด เราก็จะสังเกตได้ง่ายๆ คือ คนที่ยังป่าเถื่อนหรือไม่ได้รับอบรมมาก่อนเวลาพูดก็จะไม่น่าฟัง เช่น ใช้ภาษากักขฬะ คือ แข็งกระด้างแต่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีแล้วจะพูดจาได้ไพเราะ ใช้ภาษาก็ถูกต้องตามแบบแผนใช้คำพูดสื่อความหมายได้ แจ่มแจ้ง ชัดเจน และไม่กำกวม ซึ่งเป็นภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในหมู่คณะอีกทั้งสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกาลเทศะและเหมาะสมกับฐานะของบุคคล

 ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของภาษาไทย คือมีการแบ่งระดับของภาษา ซึ่งภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษก็มีระดับภาษาเช่นกันแต่ลักษณะดังกล่าวมิใช่เรื่องสำคัญเป็นพิเศษเหมือนภาษาไทย เมื่อกล่าวโดยส่วนรวม ระดับภาษาเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของภาษาที่พัฒนาแล้ว และเมื่อกล่าวเฉพาะภาษาไทย ระดับภาษาเป็นลักษณะพิเศษที่นักเรียนภาษาไทยจะต้องเข้าใจและใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม โดยปกตินักเรียนใช้ภาษาในการสื่อสาร มิใช่เพียงเพื่อให้รู้เรื่องกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารเท่านั้น แต่ยังต้องใช้ให้ได้ผลดีด้วย นั่นก็คือต้องใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล รวมทั้งคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่จะใช้ด้วย โดยเราใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนด
ระดับของภาษาที่จะใช้ จึงได้มีการแบ่งระดับของภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล โอกาส สถานที่ และประชุม

          ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำ และการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้ตามโอกาส กาลเทศะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร คนในสังคมแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม หลายชนชั้นตามสถานภาพ อาชีพ ถิ่นที่อยู่อาศัย ฯลฯ ภาษาจึงมีลักษณะผิดแผกหลายระดับไปตามกลุ่มคนที่ใช้ภาษาด้วย เช่น การกำหนดถ้อยคำที่ใช้แก่พระสงฆ์ให้แตกต่างจากคนทั่วไป หรือการคิดถ้อยคำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในวงการอาชีพต่างๆ  การสนทนาระหว่างผู้ที่คุ้นเคยกันย่อมแตกต่างจากการสนทนาระหว่างผู้ที่เพิ่งเคยพบกันเป็นครั้งแรก หรือการพูดในที่ประชุมชนย่อมต้องระมัดระวังคำพูดมากกว่าการพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน แม้กระทั่งงานเขียนที่มีรูปแบบเฉพาะ อย่างงานวิชาการก็ต้องใช้ถ้อยคำที่แตกต่างจากการเขียนในรูปแบบอื่น เช่น ข่าว เรื่องสั้น หรือบทกวี เป็นต้น ผู้ใช้ภาษาจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้องตามโอกาสกาลเทศะและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

  การเขียน เป็นการสื่อสารด้วยอักษร ถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่เป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ กล่าวคือ การเขียนต้องใช้ภาษาที่ไพเราะประณีต สื่อได้ทั้งอารมณ์ ความคิด ความรู้ ต้องใช้ศิลปะ ที่กล่าวว่าเป็นศาสตร์เพราะการเขียนทุกชนิดต้องประกอบด้วยความรู้ หลักการและวิธีการ ส่วนภาษาเขียน เป็นภาษาที่เคร่งครัดต่อการใช้ถ้อยคำและคำนึงถึงหลักภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารให้ถูกต้อง และใช้ใน การเขียนมากกว่าการพูด ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เขียนให้เป็นประโยค เลือกใช้ถ้อยคำที่ เหมาะสมกับสถานการณ์ในการสื่อสาร เป็นภาษาที่ใช้ในพิธีการและเป็นทางการ เช่น การกล่าวรายงาน กล่าวปราศรัย กล่าวสดุดี การประชุมอภิปราย การปาฐกถา การใช้ภาษาจะระมัดระวังไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็น หรือคำฟุ่มเฟือยหรือการเล่นคำจนกลายเป็นการพูดหรือเขียนเล่นๆ

การเขียนมีความสำคัญสำหรับมนุษย์ ยิ่งโลกในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การเขียนก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วยซึ่งสามารถสรุปความสำคัญของการเขียนได้ดังนี้

1. การเขียนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
2. การเขียนเป็นการแสดงออกถึงภูมิปัญญาของมนุษย์
3. การเขียนเป็นเครื่องมือถ่ายทอดมรดกทางสติปัญญา
4.การเขียนเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีและความเจริญรุ่งเรือง ในทางตรงกันข้ามก็ใช้เป็นเครื่องบ่อนทำลายได้เช่นกัน

      การเขียนจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การเขียนต้องมีจุดมุ่งหมายซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

1) การเขียนเพื่อการเล่าเรื่อง > เป็นการนำเรื่องราวที่สำคัญมาถ่ายทอดเป็นข้อเขียน เช่น การเขียนเล่าประวัติ
2) การเขียนเพื่ออธิบาย > เป็นการเขียนเพื่อชี้แจงอธิบายวิธีใช้ วิธีทำ ขั้นตอนการทำ เช่น อธิบายการใช้เครื่องมือต่างๆ
3) การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น > เป็นการเขียนเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์ แนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
4) การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ > เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะชักจูง โน้มน้าวใจให้ผู้อ่านยอมรับในสิ่งที่ผู้เขียนเสนอ
5) การเขียนเพื่อกิจธุระ > เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง การเขียนชนิดนี้จะมีรูปแบบการเขียนและลักษณะการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปตามประเภทของการเขียน


               ปัญหาทางภาษาประการหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่ครูและนักเรียน ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือ การแยกไม่ออกระหว่างภาษาเขียนกับภาษาพูดของผู้ใช้ภาษา ครูมักจะตำหนินักเรียนว่าใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียน ส่วนนักเรียนก็มักคิดว่าเมื่อพูดกันก็ใช้ภาษาอย่างนี้ได้ แล้วเพราะเหตุใดเมื่อเขียนจึงจะต้องเปลี่ยนภาษาให้ยุ่งยากเปล่าๆ ภาษาพูดของแต่ละคนมีวิธีใช้แตกต่างกัน กล่าวคือ ทุกคนมีศัพท์เฉพาะ มีลีลามีวิธีเรียบเรียงของตนเอง บางคนชอบภาษาแบบหนึ่ง แต่ไม่ชอบอีกแบบหนึ่ง ใครชอบแบบใดก็ว่าแบบนั้นดี ส่วนแบบที่ไม่ชอบเมื่ออ่านหรือฟังแล้วจะรู้สึกรำคาญหู ทำนองเดียวกับที่บางคนรู้สึกขบขันกับการตลกแบบหนึ่ง แต่ไม่หัวเราะเลยกับการตลกแบบอื่น หรือชอบฟังเพลงแบบหนึ่ง แต่ทนฟังเพลงแบบอื่นไม่ได้ภาษาพูดซึ่งมีลีลาพิเศษเฉพาะบุคคล แม้ว่าจะฟังดูเบาสมองแต่ก็มิได้เป็นสื่อที่ดีเมื่อใช้พูดเป็นงานเป็นทางการ

              ความแตกต่างกันของภาษาพูดของแต่ละบุคคลจะทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านต้องปรับตัวเข้ากับผู้พูด ในการพูดทั้งผู้พูดและผู้ฟังสื่อสารกันโดยตรง การปรับตัวทำได้ไม่ยากเพราะผู้ฟังพร้อมที่จะฟังภาษาพูดของบุคคลนั้น อยู่แล้ว และส่วนมากมักเป็นคนที่รู้จักหรือเคยปรับตัวเข้ากับภาษาของเขามาก่อนแต่ถึงกระนั้นเมื่อต้องไปฟังคนที่เราไม่คุ้นเคยพูด เราก็ยังต้องปรับหูให้ฟังภาษาของเขามากอยู่ ภาษาเขียนนั้นเราต้องการเฉพาะเนื้อหา ไม่สนใจบุคลิกลักษณะของผู้พูดเมื่อมีภาษาที่เป็นกลางๆ คนอ่านก็ไม่ต้องปรับตัวทุกครั้งที่อ่านงานของผู้เขียนคนใหม่ ความหลากหลายไม่ใช้เหตุผลสำหรับคลายความเบื่อหน่ายเสมอไป อาจเป็นเหตุให้รำคาญหรือเบื่อหน่ายก็ กับภาษาที่ผิดแปลกแตกต่างกันอีก










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น