วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคเช้า)





                 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
                    แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ..2558 (ภาคเช้า)




                    สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในวันนี้ก็คือ การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบกลับด้าน (Flip classroom) ซึงการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านนี้เป็นวิธีการที่ครูผู้สอนแต่เนื้อหาสาระที่สำคัญเท่านั้น และให้ผู้เรียนได้ฝึกการต่อยอดองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะเป็นผู้ชี้แนวทางและให้คำปรึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงและเกิดการเรียนรู้แบบ active learning นั่นเอง โดยมีจุดกำเนิดของวิธีการเรียนรู้แบบกลับด้าน คือ ครูสอนวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland Park High school ได้คิดค้นขึ้น สาเหตุเพราะว่านักเรียนของเขาได้ขาดเรียนบ่อย และเขาก็ต้องการที่จะช่วยเหลือนักเรียนที่ปัญหาที่เรียนไม่ทันเพื่อนหรือเรียนรู้ช้า เขาจึงใช้ ICT เข้ามาช่วย และทำวิดีโออย่างง่ายขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่ขาดเรียนเข้าไปเรียนได้ตลอดเวลา และนักเรียนที่เรียนรู้ช้าก็สามารถเข้าไปทบทวนบทเรียนได้อีก โดยครูผู้สอนไม่ต้องสอนซ้ำๆ



               ในการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้าน เป็นการที่ผู้เรียนนำสิ่งเดิมที่เคยทำในห้องเรียน เช่น แบบฝึกหัดหรือการบ้านไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่ครูมอบหมายให้มาทำที่ห้องเรียนแทน ซึ่งในห้องเรียนที่เรามักจะคุ้นเคยนั้น ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายเนื้อหาและบทเรียนต่างๆ จากนั้นจึงมอบหมายงานหรือการบ้านให้ไปทำที่บ้าน ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้  Janathan และAron ผู้คิดค้น ทางการเรียนรู้แบบกลับด้าน (Flip classroom)ได้มองเห็นปัญหาว่า เวลาที่ผู้เรียนมีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาไม่มีครูที่คอยชี้แนะ แต่พวกเขาสามารถที่จะค้นคว้าหาเนื้อหาได้ด้วยตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งครูในการบอกเนื้อหา

                   ดังนั้นการเรียนรู้แบบกลับด้าน (Flip classroom) ก็คือ การที่ครูผู้สอนให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหามาจากบ้าน โดยอาศัยสื่อเทคโนโลยีมาช่วยในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ จากนั้นครูให้นักเรียนมีโอกาสได้ซักถามข้อสงสัยต่างๆ และให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอาจจะเป็นรายบุคคลหรืองายกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมด้วย โดยจะมีครูคอยให้คำแนะนำและตอบข้อสงสัยแก่นักเรียน ซึ่งดิฉันคิดว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการที่แปลกใหม่ น่าสนใจและทันสมัยมาก ซึ่งเหมาะการนำมาสอนในยุคศตวรรษที่ 21 เพราะยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีเฟื่องฟู จึงควรฝึกให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการศึกษาและใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าใช้ในทางที่ผิดและไร้สาระ
แต่ถ้าหากเราใช้วิธีนี้ในขณะที่ผู้เรียนขาดความรับผิดชอบ ไม่สนใจการเรียน ก็จะส่งผลเสียแก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก ก็คือเขาจะเรียนไม่รู้เรื่อง เพราะเขาไม่ได้ศึกษาเนื้อหามานั่นเอง ดิฉันจึงคิดว่าวิธีนี้เป็นแนวคิดที่ดีและน่าสนใจเลยทีเดียว แต่เราควรจะหาข้อปรับปรุงในจุดที่ดิฉันได้กล่าวไปข้างต้นด้วย และดิฉันก็จะพยายามหาวิธีแก้ไขจุดบกพร่องนั้น เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ก้าวไกลขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น