วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคเช้า)




          สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
             แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ..2558 (ภาคเช้า)


                สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในวันนี้คือ ปัญหาของนักเรียนไทยที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้ โดย ดร.สุจินต์ หนูแก้ว ท่านได้พูดถึงปัญหาที่ผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) กล่าวคือ ยุคสมัยนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเฟื่องฟู เพราะทุกคนต่างใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารหรือการทำธุรกิจ ซึ่งทำให้โลกของเราดูแคบลง ซึ่งผู้คนในสมัยนี้ใช้สมาร์ทโฟนในการเสพติดและเชื่อข่าวลือกันไปทั่วโดยขาดการคิดวิเคราะห์ การกลั่นกรองข้อเท็จจริง และไม่สามารถหาข้อเท็จจริงก็ด่วนสรุปเชื่อตามข่าวลือนั้นๆ ท่านจึงได้คิดทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการคิดวิเคราะห์ขึ้นมา 



ซึ่งนอกจากนี้ท่านยังให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของบลูม ถึงแม้ว่าทฤษฎีนี้จะเกิดมาหลายร้อยปี แต่ก็ยังคงเป็นประโยชน์และทันสมัยสำหรับการเรียนการสอนในศตวรรษที่21อยู่ ซึ่งทฤษฎีของบลูมก็ได้แบ่งออกเป็น6ขั้น คือ ขั้นความรู้ ขั้นความเข้าใจ ขั้นนำความรู้ไปใช้ ขั้นคิดวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์ และขั้นประเมินค่า ซึ่งต่อมาลูกศิษย์ของบลูมก็ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ใหม่โดยพัฒนามาจากแนวคิดเก่าของบลูม คือ ขั้นแรกคือ ขั้นความจำ ขั้นความเข้าใจ ขั้นนำความรู้ไปใช้ ขั้นคิดวิเคราะห์ ขั้นประเมินค่า และขั้นสร้างสรรค์

                  และนอกจากปัญหาการขาดการคิดวิเคราะห์ที่ยังเป็นปัญหาของการศึกษาไทย ทางด้านอาจารย์สุนทร บุญแก้ว อาจารย์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่านก็ได้บอกว่าปัญหาที่ประสบเจอในขณะที่สอนภาษาอังกฤษ ก็คือ ผู้เรียนไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้ ท่านจึงให้ผู้เรียนฝึกใช้ภาษาอังกฤษในไปสถานที่จริง คือ ประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ โดยผู้เรียนได้เรียนรู้การใช้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังฝึกทักษะอื่นๆอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมไปถึงทักษะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ซึ่งวิธีนี้สามารถทำให้ผู้เรียนมีความกล้าที่จะพูดคุยหรือเข้าหาชาวต่างชาติมากขึ้น และสารมารถใช้ภาษอังกฤษได้ดีและคล่องแคล่วกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งจากการได้รับความรู้จากท่าน ทำให้ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับวิธีการฝึกภาษาอังกฤษในสถานที่จริง แม้อาจจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่ผลที่ได้กลับคืนมาดิฉันคิดว่ามันคุ้มค่ามากกว่า เพราะเราได้ใช้กับเจ้าของภาษาจริงๆ และเขาก็สามารถช่วยขัดเกลาแก้ไขภาษาของเราให้ดีขึ้นได้ และนอกจากนี้การที่เราได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ศึกษาด้วยตนเอง อาจจะลองผิดลองถูกบ้างก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีที่จะนำปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเราในอนาคตในวันข้างหน้าได้ เพราะการเรียนแค่ในห้องเรียนอย่างเดียวคงไม่พอ แต่การเรียนรู้จากของจริง สถานที่จริง หรือสถานการณ์จริง ทำให้เราเกิดการเรียนรู้อย่างรวกเร็ว จำได้แม่นยำและยังเกิดทักษะอื่นๆควบคู่ไปด้วย
                นอกจากนี้ดิฉันยังได้รับความรู้ใหม่ๆและทันสมัยจาก ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ท่านได้สอนเกี่ยวกับคำศัพท์ที่คนไทยเราส่วนใหญ่มักจะใช้กันแบบผิดๆ และคำเหล่านั้นดิฉันก็มักจะใช้อยู่เป็นประจำด้วย เช่นคำว่า chill chill ซึ่งจริงๆแล้วมาจากคำว่า chill out และคำว่า jam ซึ่งมาจากคำว่า join นั่นเอง รวมทั้งการแปลของคนไทยที่มักจะแปลตรงตัว จนทำให้เกิดความหมายที่ผิดเพี้ยน บางคำดิฉันอ่านแล้วก็รู้สึกตลกเหมือนกัน เช่นคำว่า just hold your horses ซึ่งถ้าหากเราแปลตรงตัวก็จะแปลได้ว่า จับม้าของคุณดีๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันแปลว่า ใจเย็นๆ และคำว่า He’s cream of the crop. ซึ่งแปลตรงตัวจะได้ว่า ครีมของการเก็บเกี่ยว แต่จริงๆแล้วมันแปลว่า หัวกะทิ (คนที่เรียนเก่งมากๆ) นากจากนี้ท่านยังสอนคำศัพท์ใหม่ที่ถูกพัฒนามาจากการใช้สื่อโซเซียลออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram หรือ Line เป็นต้น และคำทักทายใหม่ๆที่ไม่ใช่แค่เราพบเจอหรือเรียนในตำราหนังสือเรียน อย่างคำว่า How are you? ที่เรามักจะใช้ในการทักทายและใช้มาตั้งแต่ประถมศึกษา แต่จริงๆยังมีคำทักทายอื่นที่นอกเหนือจากคำนี้ เช่นคำว่า What’s up? และ How are you going? ซึ่งดิฉันได้รับความรู้ใหม่ๆจากท่านวิทยากรทั้งสามท่าเป็นอย่างมากและดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดและพัฒนาการเรียนการสอนในอนาคตอย่างแน่นอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น