|
ในยุคปัจจุบันนี้
ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกทำให้มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนามากขึ้นและการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี2015จะทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน
โดยการพัฒนาการศึกษาควรให้ความสนใจกับเนื้อหาและหลักสูตร
ซึ่งจะควรจะเน้นย้ำในเรื่องของหลักไวยากรณ์หรือโครงสร้างทางหลักภาษา
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การทักทาย (Greeting) ,Tense ,Pronunciation ,Linguistic รวมทั้งการฝึกทักษะทั้งสี่ด้าน
( ทักษะฟัง พูด อ่า และเขียน)ให้กับผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งในวันนี้ดิฉันจะขอพูดถึงเรื่อง
ประโยคเงื่อนไข หรือที่หลายคนรู้จักในนาม if-clause สาเหตุก็เพราะว่าหากเราลองสังเกตดีๆ
ประโยคเงื่อนไขก็เป็นประโยคสำคัญที่คนเรามักใช้พูดกันบ่อยๆและจะเจอในชีวิตประจำวันจริง
เช่น ถ้าฉันรวย ฉันจะไปศัลยกรรมที่ประเทศเกาหลี เป็นต้น
ประโยคเงื่อนไข (Conditional
Sentences) หรือ if-clause
จะประกอบด้วยอนุประโยค
(ประโยคย่อย) สองประโยค ประโยคหนึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า If กับอีกประโยคหนึ่งมีหน้าตาเหมือนประโยคสมบูรณ์ทั่วไป
สังเกตว่า อนุประโยคสองประโยคนี้สลับที่กันได้ จะยกประโยคไหนขึ้นต้นก็ได้
แล้วแต่การเน้นและความหมาย หรือกล่าวคือ เป็นประโยคที่ผู้พูดสมมติหรือคาดคะเนว่า
ถ้ามีเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็จะมีเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งตามมา เช่น
ถ้าน้ำเดือดมันจะกลายเป็นไอ การกลายเป็นไอ อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า
"ถ้าน้ำเดือด" กล่าวคือ ถ้าน้ำเดือด มันจะกลายเป็นไอ
ถ้าน้ำไม่เดือดมันก็จะไม่เป็นไอ
ประโยคเงื่อนไข จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause)
2. ส่วนที่เป็นผล (Main clause)
ตัวอย่างเช่น If it is fine, I will swim the pool.
(ถ้าอากาศดี ฉันจะว่ายน้ำที่สระ)
ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คือ If it is fine
ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คือ I will swim the
pool
ซึ่งข้อควรจำ เราต้องการจะเอา If - clause หรือ Main clause ขึ้นต้นก่อนก็ได้ แต่(1) ถ้าเอา If - clause ขึ้นจะต้องใส่เครื่องหมาย Comma
(,) หลัง If - clause
เช่น If it is
fine, I will swim the pool.
ถ้าเอา Main clause ขึ้นต้น ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย Comma (,) หลัง Main
clause
เช่น I will swim the pool if it is fine.
Conditional Sentences แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ซึ่งจะมีโครงสร้างของประโยคดังนี้
ชนิดที่1 If
+ Present Simple , Future Simple
ชนิดที่2 If
+ Past Simple , S + would + V.1
ชนิดที่3
If + Past Perfect , S + would + have +V.3
ชนิดที่1 เป็นการสมมติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคตแสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้
1.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 1
1.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น
will + คำกริยารูปเดิม
เช่น If he works hard, he will pass the
exam. หรือ He will pass the exam if he works hard.
(ถ้าเขาทำงานหนักเขาจะสอบผ่าน) ( ตอนนี้ยังไม่ได้สอบแต่คาดว่าเขาจะต้องสอบผ่าน)
นอกจากนี้แล้ว ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 1 อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน Main
clause ใน 4 กรณีต่อไปนี้คือ
1. เงื่อนไขที่แสดงความอาจจะเป็นไปได้
จะใช้โครงสร้างดังนี้
1.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 1
1.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น
may/might + คำกริยารูปเดิม
เช่น If we are free, we may (หรือ might) go to the movie tonight.
(ถ้าพวกเราว่างพวกเราอาจจะไปดูหนัง)
2. เงื่อนไขที่แสดงความสามารถจะใช้โครงสร้างดังนี้
2.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 1
2.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น
can + คำกริยารูปเดิม
เช่น If the rain stops, they can go out. (ถ้าฝนหยุดตกพวกเขาสามารถออกไปข้างนอกได้)
3. เงื่อนไขที่แสดงการขอร้องหรือคำสั่งจะใช้โครงสร้างดังนี้
3.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 1
3.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น
must/should + คำกริยารูปเดิม
เช่น If you want to be fat, you must
(should) eat more.
(ถ้าคุณต้องการอ้วนคุณต้อง / ควรทานให้มากขึ้นกว่านี้)
4. เงื่อนไขที่แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
เป็นนิสัยหรือข้อเท็จจริง จะใช้โครงสร้างดังนี้
4.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 1
4.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น
คำกริยาช่อง 1
เช่น If you throw stone into the water,
it sinks. (ถ้าคุณโยนก้อนหินลงไปในน้ำ มันจะจม)
A. If + Present Simple , + Present Simple ใช้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(natural laws) ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือการกระทำที่เป็นนิสัยของแต่ละบุคคล
(habitual actions) เช่น
· If ice is heated , it melts.
· If you hurt dogs , they bite you.
· If students don’t study , they usually(sometimes, often, generally)
fail.
ข้อความเหล่านี้ จะเป็นข้อความทั่วๆ ไป (general statements) ซึ่งเป็นความจริงเสมอและเมื่อเหตุการณ์แรกเกิดขึ้น
เหตุการณ์ที่สองจะเกิดขึ้นเสมอ ประโยคเงื่อนไขดังกล่าวนี้ เราสามารถใช้ when/whenever
แทน if ได้ ซึ่งมีความหมายเหมือนกันทั้ง 2 คำ เช่น
· Whenever/When / If people are tired,
they generally go to bed.
· Plants grow quickly when/whenever/if you water them.
· If a woman has a children , she must look after them.
· I cannot understand you if you speak Chinese.
A. If + Present Simple , Imperative ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ถ้าเหตุการณ์แรกเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่สองจะเกิดขึ้นตามมาด้วย
· If you see him , tell him to phone me.
B. If + Present Simple , Future ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและเฉพาะกรณี
(specific statement) ซึ่งเหตุการณ์ที่สองจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุการณ์แรก
· If George goes , he will get the medicine for you.
การใช้ Conditional
Sentences Type One อื่นๆ
1. If………not = unless (ถ้าไม่) ในประโยคปฏิเสธ
เรามักใช้ unless แทน มีรูปดังนี้
Unless +
Present Simple , S + will/shall + V.1
a)
If there is no rain , the flowers
will die.
= Unless there is some rain , the flowers will die.
b)
Peter will miss the bus if he
doesn’t run.
= Peter will miss the bus unless he runs.
c)
He doesn’t walk to school if it
isn’t fine.
= He doesn’t walk to school unless it is fine.
ข้อควรจำ unless นั้นมีความหมายเป็นปฏิเสธ
มาจาก If……not เพราะฉะนั้นในประโยค If-clause เมื่อใช้ unless แล้วกริยาในประโยคนั้นจะต้องเป็นรูปบอกเล่าเสมอ
2. Even if ซึ่งมีความหมายว่า “ถ้าแม้ว่า” นั้นใช้เน้น if
หมายความว่า “ถ้าเผื่อว่า” ในประโยค if-clause ได้
– Even if you give me 10,000 baht , I won’t tell you.
– Even if they hurt me , I won’t help them.
– She never shouts even if she gets angry.
3. ใช้ if + Present Simple และใน
main clause ใช้กับกริยาช่วยอื่นๆ คือ may , must
,needn’t, ought to, should, can , be able to ได้ จะมีความหมาย
ดังนี้
a) may แสดงความหมายแสดงผลของเงื่อนไขที่เป็นลักษณะที่น่าจะเป็นเป็นไปได้
(possible result) เพราะปกติเราใช้ will /shall จะแสดงเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน (certain result) เช่น
– If he starts now, he will be in time. ( certain result) แสดงผลของเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นแน่นอน
– If he starts now, he may be in time. (possible result) แสดงผลของเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้
b) must, ought to , should ให้ความหมายว่า ต้อง ,
ควรจะ
– If you go out tonight, you must put a coat on.
– If you go out tonight, you ought to (should) put a coat
c) ใช้ may , can ให้ความหมายเป็นการบอกอนุญาตให้
และการให้อนุญาต
– If you are in a hurry , you can (may) take my car. (=permission)
– If you go out tonight , you may (can) wear my coat. (=permission)
d) ใช้ needn’t = ไม่จำเป็นต้อง
-If you go out tonight , you needn’t wear a coat.
e) เมื่อ can มีความหมายว่า
ความสามารถ (ability) เราจะใช้ will be able to เช่น
– If you study hard, you’ll be able to speak English very well soon.
4. if + will ใช้เมื่อแสดงการแนะนำหรือขอร้องอย่างสุภาพ
– If you’ll excuse my asking , how old are you?
– If you’ll forgive my saying so, you are getting fat.
5. if + should ใช้เมื่อสิ่งสมมุตินั้นมีโอกาสเป็นจริงได้น้อยในอนาคต
หรือผู้พูดไม่ค่อยแน่ใจว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ จงเปรียบเทียบ 2 ประโยคนี้
– If you change your mind , I’ll gladly exchange it for you.
(= I don’t know whether you will or not = ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่)
– If you should change your mind , I’ll gladly exchange it for you.
(= It seems unlikely that you will change your mind = ไม่มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนใจ)
6. If + would like (would care) = wish / want (ใช้กับ
if clause type one เท่านั้น
– If you would like to come , I’ll get a ticket for you.
– If you would care to see some of our designs, I’ll show them on
Monday.
การละรูป if ใน Type One สามารถทำได้ โดยใช้ should แทน if
a) If you see Katty , tell her I want her.
= Should you see Katty , tell her I want her.
b) If the weather is too bad, we won’t go for a picnic.
= Should the weather be too bad , we won’t go for a picnic. (หลัง should ตามด้วย V.1)
( ประโยคที่ใช้ If และ should
ดังกล่าวนี้มีความหมายเหมือนกัน แต่ประโยคที่ใช้ should นิยมใช้ในภาษาเขียน )
ชนิดที่2 เป็นประโยคเงื่อนไขที่ใช้แสดงเหตุการณ์ที่อาจเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้
หรือไม่อาจเป็นจริงได้เลย ใช้กับเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต
2.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If -
clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 2
2.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น would + คำกริยารูปเดิม เช่น
If he worked harder, he would pass the exam.
หรือ He would pass the exam if he worked
harder.
(ถ้าเขาทำงานหนักมากขึ้นเขาจะสอบผ่านซึ่งที่จริงแล้วเขาอาจจะสอบไม่ผ่านก็ได้)
นอกจากนี้แล้ว ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2
อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน Main clause ใน 2 กรณีต่อไปนี้ คือ
1. ใช้ might แทน would
เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ และใช้ could แทน would เพื่อแสดงความสามารถ
โดยใช้โครงสร้างดังนี้
1.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If -
clause) คำกริยาจะเป็น คำกริยาช่อง 2
1.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น might/could + คำกริยารูปเดิม
เช่น If he tried again, he might get the
answer.
(ถ้าเขาพยายามอีกครั้งเขาอาจจะได้คำตอบ =
อาจจะได้คำตอบหรือไม่ได้ก็ได้)
2. ถ้าคำกริยาใน Main clause เป็น Verb to be จะต้องใช้ were เพียงตัวเดียว
ไม่ว่าประธานจะเป็นอะไรก็ตาม โดยใช้โครงสร้างดังนี้
2.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If -
clause) คำกริยาจะเป็น were
2.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น would + คำกริยารูปเดิม
เช่น If I were you, I would play with John.
a) ผู้พูดแสดงความสงสัยว่าเหตุการณ์ที่สมมติจะไม่เกิดขึ้นเพราะฉะนั้นผลของการสมมติจะไม่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
– If I had money, I would go abroad. (=I don’t have money right
now.)
– What would you do if you came top in the exam? (= I have a lot of
doubt.)
b) เมื่อพูดถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือจินตนาการ (Impossible
and imaginary)
– What would you do if you saw a ghost?
– If today were Sunday , I would be at home.
(but today isn’t Sunday.) (= Were today Sunday I would be at home.)
การละรูป if จะใช้กับกริยา were
– If I were you , I would go to study abroad.(=Were I you , I would
go to study abroad.)
– If I were a bird , I would fly all over the world.(= Were I a
bird , I would fly all over the world.)
หมายเหตุ — เราใช้ were กับประธานที่เป็นทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ เช่น if
I were , if he were , if she were , if they were , เป็นต้น เพราะเป็นการสมมติจากจินตนาการ
แต่ถ้าใช้ was กับประธานเอกพจน์ก็ได้ เช่น If I was,
ETC. นอกจาก would ที่ใช้ใน main
clause แล้ว ยังมีกริยาช่วย should , might , could ที่สามารถใช้ใน conditional Type Two นี้ได้อีก
แต่ความหมายแตกต่างกันออกไป เช่น
– If she came , I should/would see her. (แสดงผลที่จะเกิดขึ้นตามสมมติ
certain result)
– If she came , I might see her. (แสดงการคาดคะเน possibility)
การใช้ Conditional
Sentences Type Two อื่นๆ
เราใช้ were to + V.1 แทน Past
Simple ใน if-clause เพื่อเน้นถึงการสมมติที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
– If I passed the exam , he would be astonished.
– If I were to pass the exam , he would be astonished.(ในประโยคทั้งสองข้างต้นนี้ มีความหมายเหมือนกัน แต่ประโยคที่ใช้ were
to นั้น ผู้พูดมิได้หวังว่าจะสอบผ่าน)
She wouldn’t cry like that if she weren’t ill. = She wouldn’t cry
like that unless she were ill.
I wouldn’t eat them if I didn’t like them. = I wouldn’t like them
unless I liked them.
a) เมื่อแสดงความรำคาญในกรณีที่ถูกรบกวน
– If you would stop singing, I would be able to study.
b) ใช้ในจดหมายราชการ หรือจดหมายธุรกิจ
- I would be very grateful if you would pay your
bill.
– We should appreciate it if you would fill in this form.
ชนิดที่3 เป็นการสมมติในอดีต
แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลย
และตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีตเพราะเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว
3.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If -
clause) คำกริยาจะเป็น had + คำกริยาช่อง 3
3.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น would have + คำกริยาช่อง 3
เช่น If he had worked hard, he would have
passed the exam.
หรือ He would have passed the exam if he
had worked hard.
(ถ้าเขาทำงานหนักเขาก็จะสอบผ่านแต่ความเป็นจริงเขาสอบแล้วแต่สอบไม่ผ่าน)
นอกจากนี้แล้ว ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 3 อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน Main
clause ใน 2 กรณีต่อไปนี้ คือ
1. ใช้ could have แทน would
have เพื่อแสดงความสามารถ โดยใช้โครงสร้างดังนี้
1.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น had + คำกริยาช่อง 3
1.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น
could have + คำกริยาช่อง 3
เช่น If he had met her, he could have
helped her.
(ถ้าเขาพบเธอเขาสามารถที่จะช่วยเธอได้ =
ความจริงเขาไม่ได้พบเธอ)
2. ใช้ might have แทน would
have เพื่อแสดงความเป็นไปได้ โดยใช้โครงสร้างดังนี้
2.1 ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If - clause) คำกริยาจะเป็น had + คำกริยาช่อง 3
2.2 ส่วนที่เป็นผล (Main clause) คำกริยาจะเป็น
might have + คำกริยาช่อง 3
เช่น If we had finished our homework, we
might have gone to the movie.
(ถ้าพวกเราทำการบ้านเสร็จพวกเราอาจจะไปดูหนัง =
ความจริงพวกเราไม่ได้ไป)
ความเป็นจริงในอดีต : My wife was so
angry with me. I forgot that yesterday was her birthday.
สิ่งสมมุติ : My wife wouldn’t have been so angry
with me if I hadn’t forgotten that yesterday was her birthday.
(=Had I not forgotten that yesterday was my wife’s birthday, she
wouldn’t have been so angry with me.)
หมายเหตุ
การสมมุติเหตุการณ์อาจเป็นการผสมผสานกันของเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันก็ได้
ซึ่งเราจะเรียกว่า เป็นแบบผสม (Mixed Type) กล่าวคือ การสมมุติเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับความจริงในอดีต ใช้ Type
threeและการสมมติเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบันใช้ Type
Two โดยการสังเกตโครงสร้างแบบนี้ คือ ประโยค if-clause เป็นเหตุการณ์สมมติในอดีต และ main clause เป็นเหตุการณ์สมมุติในปัจจุบันดูตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นแบบMixed
Type
-
If I hadn’t gone to bed so late last
night, I wouldn’t be tired today.
(ถ้าฉันไม่ได้เข้านอนดึกมากเมื่อคืนนี้
วันนี้ฉันก็คงจะไม่เหนื่อยแบบนี้)
(นั่นคือ ความเป็นจริงในอดีต คือ I went to bed
so late last night.ความจริงในปัจจุบันคือ I am tired
today.)
-
If it had rained so much last year,
my crops would be better now.
(ถ้าฝนตกมากเมื่อปีที่แล้ว
ตอนนี้พืชผลของฉันคงจะดีกว่านี้)
(นั่นคือ ความเป็นจริงในอดีตคือ It didn’t rain
so much. ความจริงในปัจจุบัน คือ my crops are not good now
.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น