วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Practice Vocubulary





Practice vocabulary




ทุกวันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจําวันเรา  เด็กทุกวันนี้ก็เรียนรู้ ภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นอนุบาล เรียนไปเรื่อย ๆทั้ง grammar และ Conversation  เด็กเหล่านี้โชคดีที่เกิดมา พร้อมยุคสมัยที่การเรียนการสอนพัฒนาไปไกล และการสื่อสารที่รวดเร็ว  สามารถเรียนรู้ได้ง่ายจากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น internet, movie, music, newspaper ที่หาได้ง่ายๆ       แต่ถึงใครบางคนที่ไม่มีโอกาสได้เรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ก็ ยังสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ในชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะศัพท์ต่างๆ เพราะคำศัพท์เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของภาษาอังกฤษ ซึ่งนักเรียนจะต้องเตรียมคำศัพท์เพื่อให้ทันกับโลกปัจจุบัน   ความท้าทายของการสอนคำศัพท์คือการสร้างแผนการสอนที่มีทั้งประสิทธิภาพและความบันเทิง  เช่น ที่เห็นได้ทุกวัน เช่น หยิบถ้วยชง กาแฟ ดูที่เครื่องทําน้ำร้อน หรือกาต้มน้ำ ก็จะเห็นภาษาอังกฤษเขียนไว้ เราก็อ่านและจดจํา ก็ได้คําศัพท์ไป แล้ว  ตั้งหม้อข้าวหุงข้าว กดปุ่ม เราก็ได้ภาษาอังกฤษไปล่ะหลายศัพท์  ไปซักผ้า กดปุ่มซักผ้า ซึ่งมีปุ่มเยอะแยะ มากมาย อ่านไม่ออกก็ถือ dictionary ไปเปิดดูด้วย สงสัยศัพท์ไหนเปิดดู เราก็ได้ภาษาไปแล้ว       


If Clause ( ประโยคเงื่อนไข )


          If Clause
 

ในยุคปัจจุบันนี้ ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกทำให้มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนามากขึ้นและการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี2015จะทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน โดยการพัฒนาการศึกษาควรให้ความสนใจกับเนื้อหาและหลักสูตร ซึ่งจะควรจะเน้นย้ำในเรื่องของหลักไวยากรณ์หรือโครงสร้างทางหลักภาษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การทักทาย (Greeting) ,Tense ,Pronunciation ,Linguistic รวมทั้งการฝึกทักษะทั้งสี่ด้าน ( ทักษะฟัง พูด อ่า และเขียน)ให้กับผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งในวันนี้ดิฉันจะขอพูดถึงเรื่อง ประโยคเงื่อนไข หรือที่หลายคนรู้จักในนาม if-clause สาเหตุก็เพราะว่าหากเราลองสังเกตดีๆ ประโยคเงื่อนไขก็เป็นประโยคสำคัญที่คนเรามักใช้พูดกันบ่อยๆและจะเจอในชีวิตประจำวันจริง เช่น ถ้าฉันรวย ฉันจะไปศัลยกรรมที่ประเทศเกาหลี เป็นต้น  

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Good writing






Good writing





        
    การเขียน หมายถึง ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้คำ เป็นการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายเป็นศาสตร์ที่ผู้ใช้ต้องรู้จักคำและเลือกใช้คำให้ถูกต้อง เหมาะสม ตรง ความหมาย ตรงราชาศัพท์ เหมาะกับกาลเทศะ ไม่ใช้คำซ้ำซ้อน รู้จักหลบคำโดยไม่เกิดความกำกวม และใช้ คำให้เกิดภาพพจน์ ในการนำคำที่เลือกแล้วมาเรียบเรียงเป็นประโยค เป็นข้อความ 






การพัฒนาภาษาอังกฤษก่อนเข้าสู่อาเซียน






การพัฒนาภาษาอังกฤษก่อนเข้าสู่อาเซียน




 ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย การแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกทำให้มีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนามากขึ้นและการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี2015จะทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน

หัวใจหลักของการเขียนเรียงความ



หัวใจหลักของการเขียนเรียงความ



         หัวใจหลักของการเขียนเรียงความอยู่ที่รูปแบบกระบวนการ และขั้นตอนของการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง เป็นกลุ่มของกระบวนการที่ใช้ในทำงานหรือสร้างงานให้สำเร็จ ขั้นตอนสำคัญอยู่ที่แต่ละขั้นตอนที่คุณได้ทำการอภิปรายแสดงลงไปในกระดาษ เลือกเครื่องมือที่จะใช้กับชิ้นงาน โดยในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องมีการกำหนดกรอบเวลาและเงื่อนไขการสิ้นสุดเนื้อหาในแต่ละขั้น ทำการวิเคราะห์ความยากและการเตรียมการล่วงหน้าระบุ ผลลัพธ์     สำหรับใครที่ชอบใช้คำศัพท์ยากๆ คำศัพท์สวยๆ อลังการมาใช้ในงานเขียน เพราะคิดว่ายิ่งใช้คำศัพท์ยากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเก่งและรู้สึกเหนือกว่าคนอื่นๆ แต่การใช้คำศัพท์เหล่านั้นในการเขียนเรียงความ หรือใช้ในการเขียนโปรยบทนำให้ดูสวยหรู มันไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบเสมอไป เพราะหากไม่มั่นใจว่าความหมายคืออะไร หรือไม่มั่นใจว่าจะเรียบเรียงอย่างไรในการเขียนประโยค อาจทำให้เนื้อหาที่จะสื่อสารกับผู้อ่านนั้นผิดเพี้ยนและอาจทำให้โดนหักคะแนนได้


วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ฝึกทักษะการฟังโดยการฟังเพลง






ฝึกทักษะการฟังโดยการฟังเพลง




         
       การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาสื่อสารในสถานที่ต่างๆได้ตามสภาพความเป็นจริง  แนวทางหนึ่งที่น่าจะช่วยให้การสอนภาษาอังกฤษประสบผลสำเร็จ คือ การจัดการเรียนรู้บูรณการแบบสอดแทรก หรือแบบผู้สอนคนเดียว(InfusionInstruction) ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้โดยกำหนดเรื่องต่างๆที่น่าสนใจและสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน การบูรณการการเรียนการสอน ช่วยให้ครูสามารถจัดหลักสูตรได้สอดคล้องกับความต้องการ โดยกำหนดเรื่องหลัก (Theme) หัวเรื่อง (Topic) และเนื้อหาย่อย (Content ) ที่สัมพันธ์กับเรื่องต่างๆและกลุ่มสาระอื่นๆ โดยบูรณการเนื้อหาภาษาให้สอดคล้องชีวิตจริงหรือสาระที่กำหนดขึ้นมา  ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวมที่คลอบคลุมทั้งสาระการเรียนรู้  ทักษะกระบวนการ และคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์  การเลือกเนื้อเรื่องจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เช่น เทศกาลวันสำคัญต่างๆครูผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสาระกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ เช่น  การอ่าน การเขียน  การคิดคำนวณ  การคิดวิเคราะห์ต่างๆ ที่ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวเรื่องที่กำหนดการเรียนรู้แบบบูรณการควรมุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้ทำกิจกรรมจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย  เสริมการเรียนรู้ให้กว้างขวางด้วยการนำ การแสดงบทบาทสมมุติ เกม  เพลง  มาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน และสอดแทรกคุณธรรม  จริยธรรมที่พึงประสงค์ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นการจัดการเรียนรู้บูรณการแบบสอดแทรก ยังให้ประโยชน์และคุณค่าต่อผู้เรียน  ทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด ประสบการณ์ ความสามารถ และทักษะต่างๆในเวลาเดียวกันทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  ในลักษณะองค์รวมซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ่ง เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงและสอดคล้องกับชีวิตช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ ซึ่งปัจจุบันความรู้มีมากมาย และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การเรียนรู้แบบสัมพันธ์วิชามีความสำคัญมากว่า และช่วยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นช่วยตอบสนองความสามารถของผู้เรียนในหลายด้าน  เช่น ภาษา  คณิตศาสตร์  ความคล่องแคล่วของร่างกายและความเคลื่อนไหว  ดนตรี  สังคม หรือ มนุษย์สัมพันธ์  และความรู้ความเข้าใจตนเอง

การศึกษากับคุณธรรม





การศึกษากับคุณธรรม







       "การศึกษา" นับว่ามีความสำคัญมากต่อการพัฒนาบุคลากรตลอดจนไปถึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนาส่วนอื่น ๆ ด้วย เพราะไม่ว่าจะทำการพัฒนาส่วนใดต้องเริ่มมาจากการพัฒนาคนเสียก่อน ดังนั้นการพัฒนาคนสามารถทำได้หลาย ๆ รูปแบบ อย่างที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคนคือการให้การศึกษา ดังนั้นการพัฒนาประเทศต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคนโดยต้องคำนึงถึงการศึกษาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวล้ำนำโลกไปมาก การศึกษาก็ต้องพัฒนาไปให้ทันกับโลก  เพราะตอนนี้ประเทศไทยมักประสบปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ผิดของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันมีความรุนแรงจนกลายเป็นวิกฤติทางสังคม ซึ่งปัญหาอันดับหนึ่งคือ ยาเสพติด รองลงมาคือการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรซึ่ง เป็นที่มาของการทำแท้ง การทอดทิ้งเด็ก เด็กถูกทำร้าย การติดเชื้อเอดส์ และการขายบริการทางเพศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอุบัติเหตุจากความมึนเมา คึกคะนอง ท้าทายกฎระเบียบ ส่วนปัญหาที่กำลังมีแนวโน้มขยายตัวและรุนแรงในวัยรุ่นคือ การทำร้ายผู้อื่นและทำร้ายตนเอง โดยการคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนาและชุมชน รวมถึงสื่อโดยเฉพาะโทรทัศน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันและรีบแก้ไขปัญหาวัยรุ่น