การแปลกับTenses
ในโลกาภิวัตน์หรือโลกานุวัตร เป็นผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง
และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
การเมือง เทคโนโลยีสารสนเทศ และวัฒนธรรมสังคมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน
หน่วยธุรกิจ และรัฐบาลทั่วทั้งโลก ดังนั้นยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร (Information
Age) ที่ไร้พรมแดน
อันเป็นยุคที่มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารและคมนาคม
ทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น กระแสโลกทั้งในรูปของทุนและข้อมูลจึงอาจกล่าวได้ว่า
สังคมยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นโลกที่มนุษย์สามารถข้ามพรมแดนของประเทศและสามารถทะลุกาลเวลาได้
โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่ไร้พรมแดน
โลกในสายตาของผู้ที่อาศัยเทคโนโลยี จึงเป็นโลกใบเล็กที่สามารถติดต่อถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว
เหตุนี้ภาษาจึงมีสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้
โดยเฉพาะการแปลภาษา เพราะการแปลคือการถ่ายทอดภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง เช่น
เราทำธุรกิจติดต่อสื่อสารกับนักธุรกิจต่างชาติ
แต่เราไม่สามารถสื่อสารภาษาของเขาได้ เราจึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถของล่ามหรือนักแปลในการติดต่อและเจรจา
หากการแปลมีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนก็จะให้การติดต่อสื่อสารนั่นล้มเหลวได้
หากเราจะศึกษาเรื่องการแปลนั่น เรื่องกาล (Tenses)ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการแปล
เพราะเป็นตัวบ่งบอกถึงเวลาว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ยาวนานแค่ไหน เป็นต้น
ดังนั้นเราควรศึกษาเรื่องกาล (Tenses)
ให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์และให้งานแปลออกมาดีที่สุด
โดยผู้แปลส่วนใหญ่มักจะเกิดปัญหาทางด้านไวยากรณ์และโครงสร้าง
แต่ในทีนี้จะขอพูดเเรื่องของกาล (Tenses) เพราะในภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนรูปกริยาเพื่อแสดงกาล กริยานั้นอาจจะเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น go
- went - gone หรือเติม
–ed เข้าไปหลังกริยา
เช่น open - opened -
opened ในประโยคอาจมีหรือไม่มีคำบอกกาลเวลากำกับอยู่หน้าที่ของกริยาที่เปลี่ยนไปที่เราเรียกว่า
tense ต่าง ๆ นี้
คือ เพื่อบอกความหมายของกาลเวลาต่าง ๆ
กัน เมื่อต้องการจะบอกกาลเวลาก็มีวิธีการที่จะบอกได้ดังนี้
ตัวอย่างประโยค 3 ประโยคต่อไปนี้ มีความหมายไม่เท่ากันในแง่ของกาลเวลา
1. Nick lives in Bangkok.
2. Nick lived in Bangkok.
3. Nick has lived in Bangkok.
ประโยค 1-3
อาจแปลได้ความเท่ากัน คือ “นิคอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ”
แต่ความหมายของประโยคที่เกี่ยวกับเวลาไม่เท่ากัน
ประโยคที่ 1 ใช้ simple
present tense หมายความชัดเจนว่า
นิคอยู่ในกรุงเทพฯ
(กำลังอยู่ในขณะนั้น)
ประโยคที่ 2 ใช้ past
tense แสดงว่า
เขาไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว
ประโยคที่ 3 ใช้ present
perfect tense อาจหมายความว่า
เขาเคยอยู่ที่นั่นในอดีต
ตอนนี้อาจจะยังอยู่หรืออาจไม่อยู่แล้ว
เมื่อต้องการทราบว่า กริยากระทำเมื่อไรต้องอาศัยกริยาช่วย เช่น จะ
อยู่ กำลัง ได้
แล้ว ในภาษาไทยจะบ่งชัดลงไปว่า
กริยาแท้ หรือ กริยาช่วย
ต้องดูตำแหน่งในประโยคเป็นส่วนประกอบด้วย
คำเหล่านี้บอกกาลเวลาต่างกัน คือ
บอกปัจจุบัน เช่น อยู่
กำลัง กำลัง….อยู่ กำลัง….อยู่แล้ว
เขากำลังวิ่ง (คำว่า “กำลัง” เป็นคำบอกเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน แสดงว่าเขากำลังวิ่งอยู่อย่างต่อเนื่อง
แสดงให้เห็นว่าเขายังไม่ได้หยุดวิ่ง)
สมศักดิ์กำลังนอนหลับอยู่ (แสดงว่า ตลอดเวลาสมศักดิ์นอนหลับอยู่ยังไม่ตื่นขึ้นมา
เป็นการบอกเหตุการณ์ที่ดำเนินอยู่โดยเน้นความ)
บอกอดีต ได้แก่ ได้
ได้….แล้ว
สมศรีได้พบคุณพ่อแล้ว (บอกให้รู้ว่าการพบคุณพ่อของสมศรีได้ผ่านพ้นไปและเสร็จสิ้นลง เรียบร้อยแล้ว)
บอกอนาคต ได้แก่ จะ
กำลังจะ….อยู่ กำลัง….อยู่แล้ว
คุณแม่กับคุณพ่อกำลังจะไปตลาดอยู่แล้ว
ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติทั้งทางสังคม
เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลก มีผลทำให้ประเทศต่าง ๆ
ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น
โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลง
ดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดต่อกันได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีประดุจเป็นหมู่บ้าน
(Global Village) ภูเขาและทะเล ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ที่เคยเป็นอุปสรรคในการติดต่อไปมาหาสู่ ดูเสมือนเลือนหายไปจนกลายเป็นโลกไร้พรมแดน โดยภาษาอังกฤษจะเป็นตัวแปรสำคัญในการติดต่อสื่อสารทำให้คนเราจากที่อยู่ไกลเหมือนใกล้กันมากขึ้น
ดังนั้นภาษาจึงมีสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้ โดยเฉพาะการแปลภาษา
เพราะการแปลคือการถ่ายทอดภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง คนไทยมักจะมีปัญหาทางด้านไวยากรณ์และโครงสร้าง
เพราะภาษาที่มีวิภัตติ ปัจจัย อย่างภาษาบาลี
สันสกฤตและอังกฤษ กาล มาลา วาจก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่ในภาษาไทย
กาล มาลา วาจก
ไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่าไรนัก
เพราะภาษาไทยเวลานำมาพูดหรือเขียน
ไม่จำเป็นต้องระบุเวลาว่าเมื่อไร
ผู้ฟังและผู้อ่านต้องทำความเข้าใจเอาเอง
ภาษาไทยไม่มีการแจกวิภัตติ
ปัจจัยเพื่อบอกกาลเวลา
คำแต่ละคำใช้ได้ในทุกโอกาส เมื่อต้องการทราบว่า กริยากระทำเมื่อไรต้องอาศัยกริยาช่วย เช่น จะ
อยู่ กำลัง ได้
แล้ว ในภาษาไทยจะบ่งชัดลงไปว่า
กริยาแท้ หรือ กริยาช่วย
ต้องดูตำแหน่งในประโยคเป็นส่วนประกอบด้วย
เพราะคำเหล่านี้บอกกาลเวลาต่างกัน
ซึ่งทุกครั้งที่เราจะแปลเราจะต้องมีความละเอียด รอบคอบ รู้จักสังเกต
เลือกใช้ความที่สละสลวย
ถูกต้องและที่สำคัญที่สุดคือความหมายจะต้องเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
งานแปลนั้นจึงจะเป็นงานแปลที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น