ทฤษฎีการเรียนรู้กับการเรียนการสอน
หากพูดถึงทฤษฎีการเรียนการสอนที่นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น
คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินทฤษฎีอภิปัญญาหรือการรู้คิด (Metacognition)ซึ่งเป็นการกำกับหรือประเมินตนเองว่ารู้หรือไม่รู้ รวมทั้งทฤษฎีของบลูม (Bloom)
ซึ่งได้คิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
พุทธพิสัย (Cognitive Domain) ทักษะพิสัย
(Psychomotor Domain) และจิตพิสัย (Affective Domain)
โดยครูผู้สอนจะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับสาระในหลักสูตรเป็นสิ่งแรกที่ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจและวิเคราะห์ให้ตรงกับเนื้อหาสาระที่สอนและเขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ
จะทำให้การเรียนรู้และการสอนประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตามหลักสูตรที่เป็นกรอบแนวทางของการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดเรียนรู้อย่างเต็มที่มีการพัฒนาต่อยอดทางความคิดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังที่กล่าวมาข้างต้นคำว่า ทฤษฎีอภิปัญญา ก็คือ การควบคุมและประเมินความคิดตนเอง
เพื่อควบคุมกำกับกระบวนการทางปัญญาและกระบวนการคิด มีความตระหนักในงาน
และสามารถใช้ยุทธวิธีทำงานจนสำเร็จอย่างสมบูรณ์ โดยมีการวางแผน
การตรวจสอบและการประเมินตนว่าเรียนรู้อะไร อะไรที่รู้แล้ว
และอะไรที่ยังไม่รู้
ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้านของบลูม ซึ่งประกอบด้วย พุทธพิสัย
(Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ส่วนทักษะพิสัย(Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาทที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ และจิตพิสัย(Affective Domain) เป็นพฤติกรรมด้านจิตใจ ค่านิยม
ความรู้สึก ทัศนคติ ความเชื่อและคุณธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น