บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง ธุรกิจ ตลอดจนด้านการศึกษา จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการแสดงและอธิบายความหมาย
เพื่อสื่อสารระหว่างคนทั่วโลก
ดังนั้นการแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้น เพราะประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในหลายๆด้าน
งานแปลเป็นการถ่ายทอดภาษาจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง
ซึ่งเป็นงานที่ต้องคิดวิเคราะห์ พิจารณาและกลั่นกรองให้ถี่ถ้วน
เพราะเป็นงานที่ละเอียดอ่อน
ผู้แปลจึงต้องรู้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลในการเทียบเคียงความหมาย การตีความ
การใช้ถ้อยคำที่สละสลวยทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยให้มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด
รวมทั้งการศึกษาคำศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขา
เพื่อให้งานแปลนั้นออกมาอย่างถูกต้องแม่นยำ
การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ตอนที่ส่งออกญาโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่14 แห่งประเทศฝรั่งเศส
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ทำให้การติดต่อสื่อสารและการเดินทางสะดวกสบายและรวดเร็วขึ้นนอกจากนี้การแปลยังช่วยลดความไม่เข้าใจกันเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก
การแปล เป็นเรื่องลึกซึ้งใช้ในการพัฒนาด้านวรรณคดี
วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากมีการแปลผิดก็จะเกิดความผิดพราดในการทดลองได้และนอกจากจะมีความรู้ด้านภาษาแล้วจะต้องมีความเข้าใจในวัฒนธรรมอีกด้วย
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อป้องกันภาษาวิบัติและผู้แปลจะต้องติดตามข้าวสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่เสมอ
เพราะคำศัพท์เฉพาะบางคำไม่มารถหาคำเทียบในภาษาไทยได้
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันที
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา
รวมทั้งการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ เพราะนักศึกษาจะต้องนำมาใช้ในวิชาการแปล
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ่านหรือเขียนประโยคที่มีโครงสร้างยากๆ หรือยาวๆ
การแปลคืออะไร
การแปล คือ
การถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
โดยมีใจความครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
ไม่มีการตัดต่อหรือเติมแต่งเกินจริง และควรรักษารูปแบบให้ตรงตามต้นฉบับด้วย
คุณสมบัติของผู้แปล
- รู้ภาษาอย่างดี
- ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- มีศิลปะในการใช้ภาษาและซาบซึ้งในความงามของภาษา
- เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
- เป็นผู้รอบรู้ รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย เพราะสิ่งสำคัญของการแปล คือ การถ่ายทอดความคิดเป็นนามธรรมโดยใช้ภาษาให้เป็นรูปธรรม
- มีความอดทนและเสียสละ เพราะต้องใช้ความคิดและเวลาในการแปล
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1. เพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมด้านต่างๆ
2. การสอนแปล
เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับทักษะ 2 ทักษะ คือ ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน
3. ผู้สอนแปล ต้องมีวิธีเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านกว้างขวาง
เพราะกระบวนการอ่านข้อความภาษาหนึ่งแล้วถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นอีกภาษาหนึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน
ดังนั้นผู้อ่านจะต้องทำความเข้าใจ และจับใจความสำคัญได้
4. ให้นักเรียนแปลได้มีโอกาสและแลกเปลี่ยนความคิดกับนักแปลมืออาชีพ
เพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนจะไปประกอบอาชีพ
Etienen
Dolet ได้ให้หลักสำคัญการแปลไว้ 5 ประการ
1. เข้าใจเนื้อหาที่จะแปล รวมทั้งความตั้งใจของผู้เขียน
2. มีความรู้ทางภาษาทั้งสองอย่างดี
3. ควรหลีกเลี่ยงการแปลคำต่อคำ
เพราะจะทำให้ความหมายของต้นฉบับผิดเพี้ยน
4. ควรใช้ภาษาปัจจุบันในการแปล
5. ควรใช้ภาษาระดับของภาษาตรงกับต้นฉบับ
Campbell สรุปการแปลที่ดีต้องมีหลัก 3
ประการ
1. ตรงกับต้นฉบับทุกประการ
2. ใช้ภาษาตรงกับต้นฉบับ
และเข้าใจความคิดและพฤติกรรมของผู้เขียนต้นฉบับ
3. การแปลต้องเป็นธรรมชาติและดูง่าย
Alexander Fraser Tytler
ได้ให้หลักการแปลไว้ดังนี้
1. การแปลนั้นจะต้องได้ความคิดตรงกับต้นฉบับ
2. แบบการเขียนเป็นแบบเดียวกับต้นฉบับ
3. การแปลควรอ่านง่าย
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1. งานแปลนั้นมีความเป็นธรรมชาติ
ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยที่ใช้กันทั่วไป
ใช้ศัพท์เฉพาะและศัพท์เทคนิคให้เหมาะสม
2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3. การแปลแบบตีความและแบบเก็บความเรียงและเขียนใหม่
ไม่ต้องแปลคำต่อคำ
การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่
การให้ความหมายมี 2 ประการ
1. ใช้รูปแบบประโยคต่างกัน
แต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2. ตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ
รูปแบบของกาลมี 2 รูปแบบ คือ ปัจจุบันกาล (Simple Present) และอนาคตกาล (Progressive
Present)
ความหมายของปัจจุบันกาลจะมีโครงสร้างของประโยคดังนี้
-
กระทำเป็นนิสัย (Habitual Action)
-
กระทำตามกฎธรรมชาติ (Natural Law)
-
สถานภาพของปัจจุบันกาล (The Simple Present of State)
-
อนาคตกาล (Future Action)
-
ปัจจุบันกาล (The Simple Present)
-
เล่าเรื่องที่เกิดในปัจจุบัน
(The Narrative Present)
การแปลอังกฤษเป็นไทย
ต้องคำนึงความหมาย 7 ประการนี้
1. อนาคตกาล จะต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาลและอนาคตกาล
2. โครงสร้างประโยคอื่นๆในการแปลแบบของกาลในภาษาอังกฤษ
รวมทั้งโครงสร้างทางไวยากรณ์
3. ศัพท์เฉพาะ
4. ตีความทำนาย
การวิเคราะห์ความหมาย
1. องค์ประกอบของความหมาย
2. ความหมายและรูปแบบ
3. ประเภทของความหมาย
องค์ประกอบของความหมาย
1. คำศัพท์
2. ไวยากรณ์
3. เสียง
ความหมายและรูปแบบ
1. ในแต่ละภาษา
ความหมายหนึ่งอาจแสดงออกได้หลายรูปแบบ
เช่น
He was married to Mary.
He
was Mary’s husband.
2. รูปแบบเดียวอาจมีหลายความหมาย
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
|
Lincoln tunnel is flooded.
Lincoln tunnel is built under the water.
ประเภทของความหมาย
1. ความหมายอ้างอิง (Referential Meaning) หรือความหมายโดยตรง เป็นความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ทั้งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม ความคิด หรือมโนภาพ
2. ความหมายแปล (Connotative Meaning) เป็นความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน
อาจจะเป็นความหมายในทางบวกหรือทางลบก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษา
3. ความหมายตามบริบท (Contextual Meaning) เป็นการพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้น
จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนนต้องการจะสื่อ
4. ความหมายเปรียบเทียบ (Figurative
Meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งโดยเปิดเผย
(simile)และโดยนัย (metaphor)
4.1
สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
4.2
สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
4.3
ประเด็นของการเปรียบเทียบ
เรื่องที่จะแปล
เรื่องที่จะแปลมีหลายสาขา
ซึ่งการแปลควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขานั้นๆ
การเลือกหนังสือที่จะแปล
1. เป็นเรื่องที่เฟ้น
2. เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากล ตลอดจนความละเอียดในภาษา
3. ใช้ภาษาแปลอย่างถูกต้อง
I ข้อระวัง l คือ วัฒนธรรมของเรื่องเดิม เช่น เรื่องโชกุน แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว
เราจึงนำมาแปลเป็นภาษาไทยอีกทีหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น