วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Noun clause






                                                Noun clause 




       Noun clause คือประโยคที่ทำหน้าที่เหมือน คำนาม หรือกลุ่มคำนาม (นามวลี หรือ Noun phrase  )Noun Clause จะมีคำ  'that'  หรือคำ  Wh-Questions (what; where, when, why, how เป็นต้น) นำหน้าประโยค   คำนามหรือนามวลีสามารถเป็นประธานของประโยคและกรรมของกริยาได้


หน้าที่ของ Noun Clauses

          noun clause ทำหน้าที่ต่างๆดังต่อไปนี้   
          ในตัวอย่างข้างล่างประโยค มีคำนามหรือกลุ่มคำนาม (noun phrase)  และประโยค มี  noun clause  ในตำแหน่งเดียวกันกับประโยค a   
          1. Subject
                  a.  Her word is correct.
                  b. What she said is correct.    
                              
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า What she said (สิ่งที่เธอพูด) ใน   ประโยค b เป็นประโยคย่อย คือมีภาคประธาน he และภาคแสดง said โดยซ้อนอยู่ในประโยคอีกประโยคหนึ่งและทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคนั้น เทียบได้กับกลุ่มคำนาม Her word(คำพูดของเธอ) ซึ่งเป็นประธานของประโยค a

          2. Direct Object
                  a. We doubt his way of doing it.
                  b. We doubt how he did it.
                                           
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า how he did it เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นกรรมตรง เทียบได้กับกลุ่มคำนาม his way of doing it ในประโยค a

          3. Indirect Object
                  a. He told the story to everyone.
                  b. He told the story to whomever he met
                                                            
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า whomever he met เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นกรรมรอง เทียบได้กับกลุ่มคำนาม  everyone ในประโยค a

          4. Object of a Preposition
                  a. His relatives are curious about his living place.
                  b. His relatives are curious about where he lives.
                                                                        
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า where he lives เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นกรรมตามหลังบุพบท เทียบได้กับกลุ่มคำนาม his living place ในประโยค a

          5. Subject Complement
                  a. The question is about the timing of parliament dissolution.
                  b. The question is (about) when parliament will be dissolved.
                                                                             
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า when parliament will be dissolved เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมประธาน ที่ตามหลัง คำกริยา BE  เทียบได้กับกลุ่มคำนาม the timing of parliament dissolution ในประโยค a

          6. Object Complement
                  a. You may name him Sam.
                  b. You may name him whatever you like.
                                                            
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า whatever you like เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมกรรม  เทียบได้กับ Sam ในประโยค a

          7. Appositive
                  a. Jack, the hero in the story, needs to prove his innocence.
                  b. The fact that he was not at the murder scene needs to be proved.
                                                            
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า that he was not at the murder scene  เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยค b โดยทำหน้าที่เป็น appositiveเทียบได้กับกลุ่มคำนาม the hero in the story ในประโยค a


ประเภทของNoun Clauses

1.       Subject NC มีตำแหน่งอยู่หน้าประโยคหรือหน้ากริยาทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค
2.       Direct Object NC มีตำแหน่งอยู่หลังกริยา ทำหน้าที่เป็นกรรม
3.       Object of Preposition NC มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุรพบท
4.       Subject as Complement NC มีตำแหน่งอยู่หลัง to be ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายประธาน



1. Subject Noun Clauses
โดยปกติแล้ว คำนามหรืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคมักจะปรากฏอยู่หน้ากริยาหรือหน้าประโยค ตัวอย่างเช่น
What causes so many difficulties in the IELTS test is the writing section.
จากประโยคข้างต้น What causes so many difficulties in the IELTS test เป็น noun clause อยู่หน้าประโยค ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค

2. Direct Object Noun Clauses
I suggest you that you should go to a movie with me tonight.
ผมแนะนำว่าคุณควรจะไปดูหนังกับผมคืนนี้
จากประโยคข้างต้น that we should go to a movie tonight อยู่หลังกริยา suggest เป็นกรรมตรง (Direct object) ของ suggest ตามหลังกรรมรอง (Indirect object)



3. Object of the Preposition Noun Clauses
Emily is always proud of where she was born.
จากประโยคข้างต้น where she was born เป็นคำนาม มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท (Preposition) of ทำหน้าที่เป็นกรรมของ of ค่ะ

4. Subject as Complement Noun Clauses
The stability of life is what Lewis wants the most in his life.
จากประโยคข้างต้น what Lewis wants the most in his life มีตำแหน่งอยู่หลังกริยาช่วย (V.to be) is ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายหรือเป็นส่วนสมบูรณ์ของประธาน the stability of life เพื่อบ่งชี้หรือขยายความ the stability of life

Noun clauses เมื่ออยู่ในตำแหน่งของประธานจะเรียกว่า “Subject noun clauses” แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งของกรรม จะเรียกว่า “Object noun clauses”  Object Noun Clauses จะต้องอยู่คู่กับ Main Clause ของประโยคเสมอ โดยประโยคจะเริ่มด้วย Main Clause แล้วตามด้วย Object Noun clause โดยไม่ต้องมีเครื่องหมาย Comma คั่น Object noun clauses มี 3 ประเภท ได้แก่
1.       Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “that”
2.       Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย “Wh-Words” (หรือ Question Words)
3.       Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “if” หรือ “whether”




That
           that นำหน้า noun clause ที่เป็นประโยคทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า  (affirmative statement) หรือ ประโยคปฏิเสธ                   ( negative statement) 
ตัวอย่างเช่น
                        Affirmative statement :  That he will come is certain.  ( การที่ เขาจะมา เป็นสิ่งแน่นอน)
                        Negative statement:   Jane replied that her boss would not be in tomorrow .
                                                    ( เจนตอบ ว่า เจ้านายของเธอจะไม่อยู่พรุ่งนี้ )
            คำว่า   that มีความหมายว่า   “ การที่ ”  ในกรณีที่ noun clause  เป็นประธานของคำกริยาใน main clause และ that มีความหมายว่า “ ว่า ” ในกรณีที่ noun clause เป็นกรรม  ดังในตัวอย่างข้างต้น
อนึ่ง noun clause  ที่นำหน้าด้วย that   มีโครงสร้างของประโยคครบถ้วน การนำ that ไปวาง ข้างหน้า noun clause  เป็นเพียงการเชื่อม noun clause  กับ main clause

              1)   หน้าที่ของ noun clause  ที่นำหน้าด้วย that
                 that สามารถใช้นำหน้า noun clause  ที่ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม ส่วนเสริมประธาน กรรมตามหลัง
บุพบท และ appositive ตัวอย่างเช่น
Subject:    That the majority of people in developing countries live in dire poverty is true.
Object:     The government believes that the national economy will recover soon.
Subject complement:   His ambition was that he wanted to become prime minister.
Object of a preposition:   The twins are similar in that they love folk songs .
Appositive:   The rumor that there is a serpent in the Mae Kong River may be true .  

              ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ that  
                 appositive noun clause  จะนำหน้าด้วย that เท่านั้นและไม่มีการละ that
                     The news that she won the beauty contest was published in all of the daily
                        newspapers.
                 noun clause  ที่นำหน้าด้วย that ที่ใช้ตามหลังคำบุพบทมีเป็นจำนวนน้อย        
                      โดยที่คำบุพบทที่จะตามด้วย “that” clause  มักตามหลังคำคุณศัพท์หรือคำกริยาที่แสดง
                      ความเหมือนกันหรือต่างกัน   เช่น   similar, alike, different, differ
                            John and his brother are alike in that they enjoy folk music .
                            The two girls differed in that one was quiet while the other was talkative .
                 noun clause  ที่นำหน้าด้วย that  ไม่สามารถใช้เป็นกรรมรองหรือส่วนเสริมกรรมได้
                 that ที่นำหน้า noun clause  ที่ทำหน้าที่ประธานของประโยค สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
                     โดยใช้   impersonal pronoun “ it” นำหน้าประโยค   แล้วนำ noun clause  ไปไว้ท้ายประโยคได้ 
                             That he showed up at the party was a great surprise.
                            It was a great surprise that he showed up at the party






เราใช้ Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า that ในกรณีต่อไปนี้

1.       ใช้ตามหลัง verbs บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือ ความคิดเห็น เช่น agree, feel, know, remember, believe, forget, realize, think, doubt, hope, recognize, understand เช่น
Sompong knows all along that his mum loves him so much.
สมปองรู้มาโดยตลอดว่าแม่รักเขามากๆ

2.       ถ้าเป็นภาษาพูด มักจะละคำว่า that ซึ่งเป็นคำขึ้นต้น clause เช่น
I think that it’s red, not green. (ภาษาทางการ)
I think it’s red, not green. (ภาษาพูด)

3.       ส่วนใหญ่กริยา (verb) ที่ปรากฏอยู่ใน main clause มักจะเป็น Present Simple Tense ธรรมดาส่วนกริยา (Verb) ใน noun clause จะเป็น tense อะไรก็ได้ เช่น
I believe it’s raining. (now)
I believe it’ll rain. (very soon)
I believe it rained. (a moment ago)

4.       ในการสนทนา ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการพูดคำว่า that บ่อยเกินไป หรือไม่ต้องการพูด noun clause ซ้ำ สามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง main clauses ได้ เช่น
Sarut: Is Sangrawee here today?
Patraporn: I think so.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I think that Sangrawee is here today.)
Denlar: Has the rain stopped?
Saksit: I don’t believe so.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I don’t believe that the rain has stopped.)
Koob: Are we ready to leave?
Tuptim: I’m afraid not.
(คำพูดเต็มๆก็คือ I’m afraid that we are not ready to leave.)

2.       การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย         Wh -Questions
          Wh-Questions ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามข้อมูล เช่น
                   I doubt why  you want statistical figures .

          หน้าที่ของ noun clause ที่นำหน้าด้วย          Wh-Questions
                   noun clause ที่นำหน้าด้วย          Wh-Questions อยู่ในตำแหน่งของคำนามในประโยคได้ทุกตำแหน่ง
            ยกเว้น   appositive  โดย noun clause ที่นำหน้าด้วย          Wh-Questions มีหน้าที่ต่างๆดังนี้
                       Subject:   What he did was a serious mistake.
                       Object:   She told me how I could raise more money for charity.
                       Indirect object:   The man enjoyed explaining his theory to whoever was interested in it.
                       Object of a preposition:   The question of when the election will be held will be answered by the Election Committee tomorrow.
                       Subject complement:   You are what you eat .
                       Object complement:   People call him whatever they like .

                    Wh-Questions ที่ใช้นำหน้า noun clause จะมีหน้าที่บางประการใน noun clause   ดังนี้ 
            who, whoever, whom, whomever   ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause
                   Whoever wins must treat us to lunch.
                   I want to know who he has chosen to marry .

          


 whose   คำนามที่ตามหลัง whose ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม กรรมตามหลังบุพบท 
              และส่วนเสริมประธาน ใน noun clause
                   I asked whose money was stolen.
                   Tell me whose book you are reading.
                   John doubted in whose house Jane lives.
                   I want to know whose book  this is.

            what, whatever ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม และส่วนเสริมประธานใน noun clause
                   I'm afraid of what will happen after that.
                   What I did was acceptable.
                   I want to know what her name is .
                   You should give him whatever he likes .

            which, whichever   มักมีคำนามตามหลัง โดยทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause
                   I don't know which brand is worth buying.
                   It's half price for whichever book you buy.
                   You can choose whichever   you like.

            where, when, why, how ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ใน   noun clause
                 :: where, wherever บอกสถานที่
                   Where he will stay has yet to be decided.
                   You should ask him where he wants to stay .
                   Wherever you go is the right place for me.

                 :: when, whenever   บอกเวลา
                   You must find out when he is due to arrive at the airport . 
                   We are interested in when the conflict will be resolved.
                   I don't care whenever he does  that .

                 :: why   บอกสาเหตุหรือเหตุผล
                   Why he went to China was not known.
                   Nopadol told the teacher why he could not finish his assignment .

                 :: how   บอกกิริยาอาการ
                   Describe how you felt at that time .
                       How he was involved in the scandal needs to be investigated.


การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย  Wh-Questions (ได้แก่คำว่า what where when why how) มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1.       Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย   Wh-Questions มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Indirect wh-questions และแม้ว่า noun clause เหล่านี้จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำถาม แต่ลำดับคำ (word order) ในอนุประโยคนี้ จะเป็นลำดับคำของประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ลำดับคำของประโยคคำถาม
เช่น  I know why she comes home very late.
(ไม่ใช่ why does she come home very late)
I don’t know when she will arrive.
(ไม่ใช่ when will she arrive)
2.       การใช้เครื่องหมายวรรคตอนของประโยคจะเป็นไปตามลักษณะของ main clause กล่าวคือ ถ้า main clause เป็นคำถามจะใช้เครื่องหมาย question mark ปิดประโยค ถ้า main clause เป็นบอกเล่า จะใช้เครื่องหมาย full stop ปิดประโยค
เช่น  Could you tell me where the elevators are?
(Main clause เป็นคำถาม)
I’m wondering where the elevators are.
(Main clause เป็นบอกเล่า)
3.       ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Questions เพื่อแสดงให้คู่สนทนาทราบว่า เราไม่รู้ หรือเราไม่แน่ใจ
เช่น   I don’t know how much it costs.
I would like to know when our next meeting will be.
I’m not sure which house is his.
4.       ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย     Wh-Questions เพื่อถามหาข้อมูลอย่างสุภาพ
เช่น   Could you tell me who are injured in the accident?
Can you tell me what time the show starts?

3.       การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย If หรือ Whether

การใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1.       Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether คือ indirect yes/no questions นั่นเอง
เช่น   Direct Question: Did they pass the exam?
Indirect Question: I don’t know if they passed the exam.
2.       ลำดับคำในประโยค (word order) และเครื่องหมายจบประโยค ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย          Wh-Questions
3.       จะขึ้นต้น Noun Clauses ด้วยคำว่า if หรือ whether ก็ได้ แต่มักใช้ whether ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการ
เช่น   Sir, I would like to know whether you prefer coffee or tea.
Tell me if you want to go with us or not.
4.       ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อ main clause แสดงการใช้ความคิด หรือความคิดคำนึง
เช่น   I can’t remember if I had already paid him.
I wonder whether he will arrive in time.
5.       ใช้ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อต้องการถามคำถามอย่างสุภาพ
เช่น   Do you know if the principal is in his office.
Can you tell me whether the tickets include drinks?




การลดรูป  noun clause
          noun clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้ดังนี้
                      noun clause ที่นำหน้าด้วย that ลดรูปเป็น noun phrase  โดยมีวิธีการลดรูปคือ
                 1) ให้เปลี่ยนคำกริยาให้เป็นคำนามและคำกริยาวิเศษณ์ให้เป็นคำคุณศัพท์  ถ้าประธานเป็นชื่อเฉพาะให้ใช้ ’s
That Tom behaved well made his parents happy.
Tom’s good behavior made his parents happy.   


                  แต่ถ้าเป็นคำสรรพนามให้ใช้คำคุณศัพท์ที่แสดงความเป็นเจ้าของ (possessive adjective)  และตัด that ออก
         
They know that he desires to marry her soon.               
They know his desire to marry her soon.   


                 2) ในกรณีที่ใน  noun clause มีโครงสร้าง เป็น  S + linking verb + ADJ ให้เปลี่ยนคำคุณศัพท์
เป็นคำนามและใช้คำคุณศัพท์ที่แสดงความเป็นเจ้าของซึ่งมาจากประธานและกริยาเชื่อมในประโยคเดิมนำหน้า
That he is insincere is well known.  
His insincerity is well known. 


                 3) ในกรณีที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงว่าประธานเป็นใครซึ่งมี one เป็นประธานของคำกริยาใน noun clause สามารถตัดประธานออกได้
That one is ignorant of school regulations is not an excuse to violate them.        Ignorance of school regulations  is not an excuse to violate them.


                 4) ในกรณีที่ noun clause ตามหลังคำคุณศัพท์  เมื่อลดรูปเป็น noun phrase ต้องมีคำบุพบทหลังคำคุณศัพท์ ซึ่งจะใช้คำบุพบทคำใดขึ้นอยู่กับคำคุณศัพท์นั้น
          I’m sure that I will succeed in climbing the mountain.  
I’m sure of my success  in climbing the mountain.       




http://www.stou.ac.th/schools/sla/b.a.english/D4LP/14212/Module10/content/content03.html










10.3.2  การลดรูป noun clause ที่นำหน้าด้วย that เป็น gerund
          noun clause ที่นำหน้าด้วย that ลดรูปเป็น gerund phrase ได้  โดยมีวิธีการลดรูปดังนี้
                  1) หากประธานใน main clause และใน object noun clause เป็นตัวเดียวกัน ให้นำคำกริยาใน noun clause มาเปลี่ยนเป็น gerund
ประโยคที่ใช้ noun clause    วิธีการลดรูป noun clause เป็น gerund
I forgot that I had given her permission.    
I forgot that I had given her permission.    
I forgot having given her permission.        

Kenny denied that he cheated on the examination.      
Kenny denied that he cheated on the examination.      
Kenny denied cheating on the examination.       


หมายเหตุ  หากประธานใน main clause และใน object noun clause ต่างกัน มักจะไม่ลดรูป noun clause  เพราะความหมายอาจแตกต่างไปจากเดิม
        The chairperson accepted that the committee performed poorly.
        ประธานคณะกรรมการยอมรับว่าคณะกรรมการทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ (เน้นไปที่คณะกรรมการไม่ดี)
        The chairperson accepted the committee’s poor performance.
        ประธานคณะกรรมการยอมรับการไม่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการ (เน้นไปที่การทำงานไม่ดี)

                  2)  ในกรณีของ subject noun clause ให้นำคำกริยามาเปลี่ยนเป็น gerund  และใช้ ’s ในกรณีที่ประธานเป็นชื่อเฉพาะหรือใช้คำคุณศัพท์ที่แสดงความเป็นเจ้าของแทนประธานที่เป็นคำสรรพนาม
ประโยคที่ใช้ noun clause    วิธีการลดรูป noun clause เป็น gerund
That Tom came late made him unable to finish the examination on time.
        That Tom came late made him unable to finish the examination on time.            
Tom’s coming late made him unable to finish the examination on time.   

That he came late resulted in him being unable to finish the examination on time.       That he came late resulted in him being unable to finish the examination on time.     
His coming late resulted in him being unable to finish the examination on time.



                  3)  ในกรณีที่เป็น subject noun clause ซึ่งมีประธานเป็นบุคคลทั่วไปหรือ we, they, you และ one ให้เปลี่ยนคำกริยาเป็น gerund ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำคุณศัพท์ที่แสดงความเป็นเจ้าของนำหน้า
ประโยคที่ใช้ noun clause    วิธีการลดรูป noun clause เป็น gerund
That we sign the contract is vital to our company’s survival.  That we sign the contract is vital to our company’s survival.       
Signing the contract is vital to our company’s survival.
















10.3.3  การลดรูป noun clause เป็น infinitive
                   1)  noun clause นำหน้าด้วย that ที่ทำหน้าที่กรรมของคำกริยาใน main clause สามารถลดรูปเป็น  infinitive ได้
ประโยคที่ใช้ noun clause    วิธีการลดรูป noun clause เป็น infinitive
He claimed that he had lived on this land for 20 years. He claimed that he had lived on this land for 20 years.   
He claimed to have lived on this land for 20 years.     

It’s time that we went home.    It’s time that we went home.   
It’s time for us to go home.     


                   2)  noun clause ที่นำหน้าด้วย wh-word หรือ whether ลดรูปเป็น infinitive phrase ได้
ในกรณีที่  noun clause มีประธานเป็นบุคคลทั่วไปหรือ you, we และ one  และมี  modal แสดงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ในการลดรูปยังใช้ wh-word ที่เป็นคำนำหน้าและเปลี่ยนคำกริยาให้เป็น infinitive
ประโยคที่ใช้ noun clause    วิธีการลดรูป noun clause เป็น infinitive
She asked the referee who should be declared the winner.     She asked the referee who should be declared the winner.        
She asked the referee who was to be declared the winner.     

Tell me how you can fix the oven.   Tell me how you can fix the oven.  
Tell me how to fix the oven.  

What we should do depends on the situation.      What we should do depends on the situation.    
What to do depends on the situation.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น