วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Housemates By Alison Watts




Housemates By Alison Watts





From the heart




                                                From the heart




การแปลข่าว




                                      การแปลข่าว


                ข่าว จะประกอบด้วย หัวข่าว และตัวข่าว ซึ่งหัวข่าวจะเปรียบได้กับชื่อหัวข้อ หรือชื่อเรื่องของงานเขียนอื่นๆ ส่วนตัวข่าวมาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยเนื้อข่าวโดยย่อ และที่มาของข่าว โดยทั่วไปมักจะอยู่ในย่อหน้าเดียว
ส่วนที่ 2 คือรายละเอียดของข่าว ซึ่งอาจจะมีมากกว่าหนึ่งย่อหน้าก็ได้


V is for Vampire




V is for Vampire




สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)




              สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
                แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ..2558 (ภาคบ่าย)



สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในภาคบ่ายของวันนี้ก็คือ ยุทธวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะมีสิ่งรอบตัว เกม นิทาน เพลง การวดภาพ บทบาทสมมติและการท่องคำคล้องจอง โดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ได้ให้แนวคิดที่ทัยสมัยและน่าสนใจมาก ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยท่านเล่าให้ฟังว่า ท่าให้นักเรียนลงพื้นที่จริงตามสถานที่ต่างๆ แล้วหาคำภาษาอังกฤษที่เขียนผิด จากนั้นก็ถ่ายรูปแล้วมาช่วยกันแก้ไขคำนั้นให้ถูกต้อง ซึ่งดิฉันชอบวิธีนี้เช่นกัน เพราะในสมัยนี้ร้านค้า ร้านอาหารหรือสถานที่ต่างๆที่ดิฉันเคยพบเห็นก็มักจะใช้ภาษาอังกฤษแบบผิดๆ เมื่อผู้อ่านไปผ่านมาเห็นก็จะเข้าใจและจำกันไปแบบผิดๆไปด้วย ดังนั้นเราควรจะแนะนำให้เขาใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องนั่นเอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคเช้า)





                 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
                    แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ..2558 (ภาคเช้า)




                    สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในวันนี้ก็คือ การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้แบบกลับด้าน (Flip classroom) ซึงการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านนี้เป็นวิธีการที่ครูผู้สอนแต่เนื้อหาสาระที่สำคัญเท่านั้น และให้ผู้เรียนได้ฝึกการต่อยอดองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะเป็นผู้ชี้แนวทางและให้คำปรึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงและเกิดการเรียนรู้แบบ active learning นั่นเอง โดยมีจุดกำเนิดของวิธีการเรียนรู้แบบกลับด้าน คือ ครูสอนวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland Park High school ได้คิดค้นขึ้น สาเหตุเพราะว่านักเรียนของเขาได้ขาดเรียนบ่อย และเขาก็ต้องการที่จะช่วยเหลือนักเรียนที่ปัญหาที่เรียนไม่ทันเพื่อนหรือเรียนรู้ช้า เขาจึงใช้ ICT เข้ามาช่วย และทำวิดีโออย่างง่ายขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่ขาดเรียนเข้าไปเรียนได้ตลอดเวลา และนักเรียนที่เรียนรู้ช้าก็สามารถเข้าไปทบทวนบทเรียนได้อีก โดยครูผู้สอนไม่ต้องสอนซ้ำๆ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)




            สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ
              แบบบูรณาการทักษะ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ..2558 (ภาคบ่าย)


                 สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเข้าอบรมในภาคบ่ายก็คือ การออกเสียงภาษาอังกฤษ ซึ่งครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัทศาสตร์ (Phonetics and Phonology) เพราะว่าครูผู้สอนจะต้องช่วยเหลือผู้เรียนในการแก้ไขการออกเสียงให้ถูกต้อง โดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ท่านได้สอนเรื่องอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียงของอักษรภาษาอังกฤษต่างๆ โดยแต่ละเสียงจะใช้อวัยวะที่แตกต่างกันออกไป โดยจะมีอวัยวะหลักๆก็คือ ลิ้น ริมฝีปาก เหงือก เพดานอ่อน เพดานแข็งและกล่องเสียง โดยขณะที่เรากำลังเปล่งเสียง เราจะใช้มือจับที่ลำคอเบาๆ เพื่อตรวจสอบว่าเสียงนั้นก้องหรือไม่ ถ้าลำคอเราสั่นแสดงว่าเสียงอักษรตัวนั้นเป็นเสียงก้อง (Voice) แต่ถ้าลำคอไม่สั่น เสียงนั้นก็จะเป็นเสียงไม่ก้อง (Voiceless) รวมทั้งนี้ท่านยังสอนการออกเสียงตาม IPA (International Phonetics Alphabet) โดยจะมีสถานที่เกิดเสียงและลักษณะของการออกเสียง เช่น [p] ก็จะเป็นเสียงไม่ก้อง ซึ่งจะใช้ริมฝีปากเป็นแหล่งกำเนิดเสียง ส่วน [b] จะเป็นเสียงก้อง ซึ่งจะมีแหล่งกำเนิดที่ริมฝีปากเช่นเดียวกับเสียง [p]

                 และนอกจากนี้ ท่านได้สอนเรื่องการออกเสียงสระภาษาอังกฤษทั้ง 5 ตัว คือ a,e,i,o,u ว่าออกเสียงอย่างไรจึงจะถูกต้องตาม IPA นั่นเอง ซึ่งสระเหล่านี้ก็สามารถแบ่งประเภทออกเป็น 3 ประเภทอีก ซึ่งจะคล้ายๆกับสระภาษาไทยของเราที่แบ่งสระตามเสียงสั้นและเสียงยาว แต่ของภาษาอังกฤษจะเพิ่มสระประสมสองเสียงเข้ามาด้วย โดยจะเป็นการผสมของสระสองตัวเข้าด้วยกัน จึงเกิดเป็นสระใหม่ขึ้นมา เช่น a + u = [au] จะออกเสียงว่า อาว เช่นคำว่า town , flower เป็นต้น
นอกจากนี้เรื่องของ สัทศาสตร์ (Phonetics and Phonology) ที่ท่านสอนอีกคือ การเน้นเสียง (Stress) ที่จะมี 2 ประเภท ก็คือ การเน้นเสียงระดับคำและการเน้นเสียงในระดับประโยค เช่น  society information volunteer photographic

                 จากความรู้ที่ดิฉันได้รับจากการอบรมในภาคบ่ายวันนี้ ทำให้ดิฉันได้รับทั้งความสุกและความรู้ที่น่าสนใจที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปฝึกออกเสียงให้ถูกต้องยิ่งขึ้น รวมทั้งการเน้นเสียงคำและดารเน้นเสียงในระดับประโยค ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก ซึ่งดิฉันคิดว่าหากเราพูดไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการเน้นเสียง ไม่มีท่วงทำนองสูงต่ำ เราก็เหมือนฟังพระสวดที่คนฟังจะรู้สุกเบื่อ ง่วงนอนไม่อยากจะพูดคุยกับเรา แต่ถ้าเรารู้จักการเน้นเสียง การใช้จังหวะสูงต่ำเข้าไปช่วยในการูดคุย ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นดูมีชีวิตชีวา น่าสนใจและเราก็จะประสบความสำเร็จในการพูดคุยอีกด้วย